สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก คำอะไรบ้างที่ไม่ควรพูดกับลูก พูดแล้วลูกต่อต้าน
เราไม่สามารถควบคุม สิ่งที่ลูก ๆ ต้องเผชิญหน้าในชีวิตได้ แต่มันไม่ได้หมายความว่า เราจะเตรียมความพร้อมให้ลูก ๆ ไม่ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราให้ลูก ๆ ได้ก็คือความเข้มแข็งทางจิตใจ ความสามารถที่จะข้ามผ่านอุปสรรคที่เข้าต้องเจอ ช่วยเด็ก ๆ ให้เด็ก ๆ มีความเข้มแข็งทางจิตใจ หมายความว่าเขาจะสามารถรักษาตัวเองจากปัญหาต่าง ๆ แทนที่จะเก็บมันเอาไว้ในใจ สิ่งที่แย่ก็คือ บางครั้งผู้ปกครองก็พูด สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก ทำให้พัฒนาการเหล่านี้ชะลอตัวลง
สิ่งที่ ไม่ควรพูดกับลูก
“ไม่เป็นไรหรอก”
แม้คำว่า ไม่เป็นไรหรอกจะเป็นคำที่ฟังแล้วดูไม่แย่ อาจจะทำให้ลูกเข้มแข็งขึ้น ไม่เก็บเรื่องมาคิด แต่จริง ๆ แล้วมันคือการส่งสัญญาณว่าลูก ไม่สามารถไว้ใจสิ่งที่เข้ารู้สึกได้ มันมีความหมายคล้าย ๆ กับคำว่า “เดี๋ยวก็ชิน แทนที่จะใช้คำนั้นให้ใชพูดด้วยน้ำเสียง และ ท่าทางที่จะทำให้ลูกเชื่อว่ามันจะโอเคจริง ๆ จะดีกว่า เช่น เวลาลูกล้มให้ใจแข็ง และ เข้าไปถามอาการลูกอย่างใจเย็น ลูกจะได้ไม่ตกใจมาก ให้ลูกรู้ว่า มันเจ็บแต่มันจะดีขึ้นได้
“แม่/พ่อ ทำเอง”
ไม่ว่าจะพูดคำนี้ด้วยความเร่งรีบ หรือ เพราะ คุณพ่อ คุณแม่ ทนเห็นลูกลำบากไม่ได้ แทนที่จะทำให้เลย สิ่งที่ดีกว่าก็คือ สนับสนุน คอยดูพัฒนาการของลูก เช่น ๆ ผูกเชือกรองเท้า ใส่เสื้อผ้า ว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน คอยเชียร์ และ เป็นกำลังใจให้เขา หากว่าเขาทำไม่ได้จริง ๆ ให้ลองช่วยเหลือเพียงครึ่งเดียวก่อนก็ได้
“ลูกทำได้ง่ายๆแค่นี้เอง”
สิ่งที่ไม่ควรพูด กับลูก
แม้ว่าคำนี้ จะดูเป็นคำที่ให้กำลังใจ การบอกลูกว่าสิ่งที่ยาก เป็นเรื่องง่าย ๆ นั้น จะทำให้เขาหมดความสนใจ ผู้ปกครองควรบอกว่าให้เขาลองทดลอง พูดจะได้ผลมากกว่า เช่น คุณพ่อ/คุณแม่ รู้ว่ามันยาก แต่หนูลองทำดู พ่อ/แม่ คิดว่าหนูทำได้
“เดี๋ยวล้ม/ตก”
มันไม่ใช่เรื่องสนุก ๆ เลยที่จะเห็นลูกบาดเจ็บ หรือ ล้ม แต่เมื่อคุณเห็นลูกทำอะไร ที่คุณรู้สึกว่าไม่โอเค ลองหาทางเตือน หรือ ช่วยเหลือเขาโดยที่ไม่ต้องให้เจ้าตัว รู้ตัว การบอกว่าระวังตก ให้ระวังตัว จะทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย ผู้ปกครองต้องใช้วิจารณาณของตัวเองในการตัดสินว่าอันตรายที่ลูก ๆ กำลังจะเจอนั้นมีความอันตรายมาก น้อยแค่ไหน สติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์เหล่านี้
“ยอมแพ้แล้ว”
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก ลูกจะต้องไม่เห็นว่า คุณพ่อ คุณแม่ ยอมแพ้ง่าย มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะให้ลูกของคุณได้เห็นว่าการพยายมทำอะไรบางอย่างเป็นเรื่องที่โอเค ลองเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ลูกเห็นว่า เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เมื่อผ่านอุปสรรคมา
“ใจเย็นๆ”
สิ่งที่ไม่ควรพู ดกับลูก
เราอยากจะสอนให้ลูกใจเย็นลงเวลาเจอเหตุการณ์ แต่การที่บอกลูกว่า ใจเย็นๆ ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่าไหร่นัก ผู้ปกครองควรจะลองใช้คำว่า หายใจเข้าลึกๆ ไปพร้อมกันนะ จะดีกว่า พร้อมกับมองตาเขาไปด้วยจะได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีกว่า
“พ่อ/แม่ จะเก็บของทั้งหมดให้นะ”
การทำให้ชีวิตลูกง่ายเกินไป จะทำให้ลูกไม่มีโอกาศได้เจออุปสรรคแบบเล็กๆน้อยๆ และจะทำให้ความเข็มแข็งทางจิตใจไม่พัฒนา คุณอาจจะให้ลูกเล็กได้มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบบ้าง เช่นถือของเอง และเริ่มเพิ่มเรื่องที่คิดว่าลูกจะทำได้ไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
“มันยากเกินไปสำหรับลูกนะ”
สิ่งที่ไ ม่ควรพูดกับลูก
บางครั้งเด็กอาจจะเริ่มทำบางกิจกรรมที่เขายังไม่พร้อม เช่น ซ่อมรถ เล่นผาดโผนเพราะเห็นคนอื่น ๆ ทำ แทนที่เราจะบอกว่านี่เป็นเรื่องยากสำหรับเขาเราอาจจะให้เขาลองทำกิจกรรมที่คล้ายกัน หรือ เล่นสมมุติจะดีกว่า ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองได้ฝึกฝน เพื่อที่ในอนาคตเขาจะทำได้
“ไม่ใช่แบบนั้น”
บางครั้งลูกอาจจะทำอะไรม่ถูกวิธี เช่น จับช้อนหรือซ้อมผิด การพูดว่าไม่ใช่แบบนั้นป็นอะไรที่น่า จะหลุดปากง่ายมาก คุณอาจจะบอกวิธีที่ถูกต้องให้ลูก โดยการแสดง หรือ โชว์ให้เห็นวิธีที่ถูกต้องก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้วิธีที่ถูกต้อง
“ลูกจะรู้เองแหละ”
สิ่งที่ไม่คว รพูดกับลูก
แทนที่จะปล่อยให้ ลูกงมไปเรื่อย ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อเวลาเขาต้องเจอกับอุปสรรคที่หนักหนากว่าที่เขาเคยเจอมา สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือ นั่งคุณกลับลูก ทำความเข้าใจ และหาทางออกไปพร้อมกัน ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่า และคุณยังสนิทกับลูกเพิ่มขึ้นอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกดู ไม่ใช่แค่บอกให้ลูกทำ อยากสอนลูกใช้วิธีนี้สิดี!!
วิธีสอนลูกให้กตัญญู เคล็ดลับสอนลูกหลานกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ ตอบแทนผู้มีพระคุณ ไม่อกตัญญูต่อพ่อแม่
ที่มา : mother.ly
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!