อย่าเพิ่งอี๋ ลูกน้อยอึสีเขียว ดำ เทา บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพลูก

สีต่างๆ ที่คุณแม่สังเกตเห็นได้ในอึของลูกน้อย สามารถบ่งบอกภาวะสุขภาพบางอย่างของลูกได้ มาสังเกตสี ลักษณะ และทำความเข้าใจไปพร้อมกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สีของอึลูกน้อย ไม่เพียงบอกว่าลูกกินอะไรเข้าไป แต่ยังบ่งบอกถึงสุขภาพภายในของลูกน้อยอีกด้วย การสังเกตสีของอึลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่! อย่าเพิ่งตกใจถ้าเห็นอึลูกมีสีแปลกๆ อย่าเพิ่งอี๋ ถ้า… ลูกน้อยอึสีเขียว ดำ เทา บทความนี้จะชวนคุณแม่มาสังเกตและทำความเข้าใจว่า สีอุจจาระของลูกน้อยที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากอะไร และ บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพลูก

ลูกน้อยแต่ละวัย อึไม่เหมือนกันนะ

ลูกน้อยแต่ละช่วงวัยนั้นมีพัฒนาการแตกต่างกันไปค่ะ ในเรื่องของการขับถ่ายก็เช่นกัน โดยลูกจะมีการพัฒนาของระบบขับถ่ายตั้งแต่แรกเกิด ดังนี้

  • ทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน

เป็นช่วงที่คุณแม่อาจพบว่าลูกน้อยขับถ่ายบ่อยมาก วันละประมาณ 10 ครั้งหรือมากกว่านั้นขึ้นไป เนื่องจากระบบขับถ่ายของลูกเป็นแบบอัตโนมัติ คือ เมื่อกินนมจนเต็มกระเพาะ จะมีการส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทไปกระตุ้นที่ลำไส้ใหญ่เกิดการขับถ่ายออกมา หากลูกน้อยได้รับนมแม่อย่างสมดุลทั้งน้ำนมส่วนหน้าและส่วนหลังอึของลูกก็จะมีลักษณะสีเหลืองทอง เป็นเม็ดๆ เหมือนเม็ดมะเขือ

  • อายุ 1-4 เดือน

ลูกน้อยที่อายุประมาณ 1-2 เดือนขึ้นไป อาจลดปริมาณการขับถ่ายลงมาเหลือวันละ 1-8 ครั้ง หรืออาจไม่ได้ถ่ายทุกวัน โดยที่กินนมได้ หลับได้ ท้องนิ่มดี ผายลมเล็กน้อย เหล่านี้เป็นอาการปกติที่พบเจอได้ เนื่องจากลำไส้ลูกน้อยสามารถดูดซึมสารอาหารในนมแม่ไปใช้ได้หมดแทบไม่เหลือกากของเสียให้ขับถ่ายออกมา การที่ลูกไม่อึทุกวันแบบนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ

  • ลูกน้อยวัย 4-6 เดือน

จำนวนครั้งของการขับถ่ายจะลดน้อยลงอีก ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 2-3 วันขับถ่าย หากอึของลูกมีลักษณะนิ่มดี และค่อยๆ เป็นก้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ถือว่าปกติค่ะ

  • อายุ 6 เดือน-1 ปี

เป็นช่วงที่คุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินอาหารเสริมตามวัยแล้ว ซึ่งลำไส้จะมีการปรับตัวกับอาหารที่ลูกกิน ในช่วงแรกจึงอาจพบว่าลูกไม่ขับถ่าย อุจจาระแข็งหรือเหลว แต่เมื่อลำไส้มีการปรับตัวได้ประมาณ 5-7 วัน ลูกน้อยก็จะกลับมาขับถ่ายปกติ

  • ลูกอายุ 1-2 ปี

ลูกจะขับถ่ายเป็นก้อนมากขึ้น และลดจำนวนครั้งในการถ่ายเหลือวันละ 1-3 ครั้ง หรือไม่ได้ขับถ่ายทุกวันประมาณ 2-3 วัน โดยลักษณะของอึควรเป็นเนื้อนิ่มดี

  • ช่วงวัย 2-4 ปี

เป็นช่วงวัยที่ลูกน้อยจะขับถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง เหมือนกับผู้ใหญ่ หรือ 2-3 วันถ่ายครั้ง แต่เป็นเนื้อ นิ่มดี ถือว่าเป็นปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่าเพิ่งอี๋ ลูกน้อยอึสีเขียว

การที่ ลูกน้อยอึสีเขียว อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจ ซึ่งอึสีเขียวนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาหารที่กิน ปัญหาระบบทางเดินอาหาร หรือการได้รับธาตุเหล็ก ซึ่งอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยได้

อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าทารกแรกเกิดจะอึเป็นครั้งแรกภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งก็คือ “ขี้เทา” แต่สีของอึลูกจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง หรือเป็นสีเขียวอยู่บ้างตามปริมาณนมแม่ที่ได้รับ ต่อเมื่อลูกน้อยเริ่มเปลี่ยนมากินนมผงหรืออาหารเหลวและอาหารตามวัยได้แล้ว สีของอึจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม น้ำตาล หรือเขียวเข้ม ตามอาหารหรือนมที่ลูกน้อยกินเข้าไปค่ะ ซึ่งสาเหตุ ลูกน้อยอึสีเขียว มีความเป็นไปได้ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. กินอาหารสีเขียว

เนื่องจากคุณแม่กินอาหารที่มีสีเขียวในช่วงให้นมลูก เช่น ผักใบเขียว หรืออาหารแต่งสี นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากทารกเริ่มกินอาหารที่มีส่วนประกอบสีเขียวอย่างถั่วบางชนิด ซึ่งส่งผลต่อสีของอึลูกได้

2. ได้รับน้ำนมส่วนหน้าและส่วนหลังที่ไม่เท่ากัน

ในช่วงที่ลูกน้อยกินนมแม่ มีความเป็นไปได้ว่าลูกน้อยมักได้รับนมส่วนหน้า (Foremilk) มากกว่านมส่วนหลัง (Hindmilk) ทำให้ปริมาณน้ำตาลไม่สมดุลกับปริมาณไขมันที่ควรได้รับ เกิดการย่อยอาหารอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อึของลูกน้อยเป็นสีเขียว มีลักษณะเหลว และเป็นฟองได้

การที่ ลูกน้อยอึสีเขียว จากสาเหตุนี้มักไม่เป็นอันตราย โดยอาจเกิดจากลูกน้อยดูดเต้าในระยะเวลาสั้น ๆ หรือคุณแม่ปั๊มนมไม่นานพอ ลูกจึงได้รับแต่นมแม่ส่วนหน้าซึ่งมีน้ำตาลแลคโตสมาก (ไขมันต่ำและน้ำตาลสูง) ทำให้ถ่ายบ่อย โดยอาจถ่ายเหลวเป็นน้ำและมีมูกเคลือบอึออกมาด้วย เกิดจากผนังลำไส้หลุดลอกออกมา คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมจากเต้าแม่นานขึ้น ข้างละ 15 นาที หรือปั๊มนมแม่ 30 นาที เพื่อให้ลูกได้รับนมแม่ส่วนหลังที่มีโปรตีนและไขมันเพิ่มขึ้นด้วย

ความสำคัญของน้ำนมส่วนหน้า และน้ำนมส่วนหลัง

น้ำนมส่วนหน้า (foremilk)

คือ น้ำนมที่ไหลออกมาจากเต้านมในช่วงแรกของการให้นม มีลักษณะเจือจาง สีขาวขุ่น คล้ายนมวัว มีแลคโตสสูง จึงมีรสหวาน

 

  • ดับกระหาย เป็นเหมือนน้ำดื่มสำหรับลูก ช่วยให้ได้รับการเติมเต็มของเหลวในร่างกาย
  • กระตุ้นให้ร่างกายแม่หลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน ช่วยให้มีน้ำนมส่วนหลังไหลออกมาได้มากขึ้น
  • แม้ว่าน้ำนมส่วนหน้าจะมีไขมันต่ำกว่าน้ำนมส่วนหลัง แต่ก็ให้พลังงานเบื้องต้นแก่ลูกน้อย

น้ำนมส่วนหลัง (hindmilk)

นับเป็นอาหารหลักของลูกน้อย ไหลออกมาหลังจากลูกดูดนมไปสักพัก มีลักษณะข้น สีเหลือง มีไขมันสูง และมีสารอาหารครบถ้วนในการเจริญเติบโต

 

  • ไขมันในน้ำนมส่วนหลังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยเติบโต
  • ช่วยในการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทของลูก
  • ช่วยให้ลูกน้อยอิ่มนาน
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ลูกน้อยไม่สบาย

มีในบางกรณีเช่นกันที่ ลูกน้อยอึสีเขียว เนื่องจากอาการท้องเสียหรือการติดเชื้อไวรัส ทำให้ถ่ายบ่อย ก้นแดง อาจมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ข้นเหนียว และอาจมีเมือกติดอยู่

4. เกิดจากการแพ้อาหาร

หากลูกน้อยมีอาการแพ้อาหารบางชนิดร่างกายอาจเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอาหารที่ได้รับ ส่งผลให้อุจจาระของลูกเป็นสีเขียว มีมูกปน หรืออาจมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ท้องไส้ปั่นป่วน หายใจลำบากหรือผื่นลมพิษบริเวณผิวหนัง โดยสาเหตุของการแพ้อาหารอาจมาจากการกินนมผง หรือในช่วงเริ่มรับกินอาหารชนิดใหม่ รวมถึงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาที่คุณแม่ใช้ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

5. สาเหตุอื่น ๆ

นอกจากนี้อึสีเขียวของลูกอาจเกิดจากการได้รับวัคซีน หรือได้รับธาตุเหล็ก อุจจาระจึงเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มจนเกือบดำ แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพราะเมื่อหยุดรับกินธาตุเหล็ก สีอึจะกลับมาเป็นปกติ หรือในกรณีที่ลูกได้รับนมไม่เพียงพออาจส่งผลให้ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ อึมีสีเขียว น้ำหนักน้อย แสดงอาการหงุดหงิดและง่วงซึม

 

ลูกน้อยอึสีเขียว แบบไหนที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

การที่ลูกน้อยถ่ายอุจจาระออกมามีสีเขียวอาจเป็นเรื่องปกติที่พบได้ก็จริง แต่ใช่ว่าคุณแม่จะวางใจได้ทั้งหมดนะคะ แต่ควรหมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกเสมอ โดยเฉพาะหากอุจจาระของลูกมีลักษณะ หรือมีอาการอื่นใดต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ท้องร่วง สังเกตได้จากการที่ลูกถ่ายเหลวมาก ๆ จนไหลหรือล้นผ้าอ้อม กรณีนี้สีของอุจจาระอาจเป็นสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล ซึ่งควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ หากลูกท้องร่วงนานกว่า 3 วัน ถ่ายเหลวมาก ๆ บ่อยครั้ง หรือมีสัญญาณของอาการขาดน้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • อึสีเขียวติดต่อกัน ร่วมกับอาการท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีไข้ หรือคลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องผูก จนทำให้ถ่ายยาก ลักษณะอุจจาระเป็นก้อนแข็ง เป็นก้อนเล็ก ๆ บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา หรือมีเมือกปนออกมาซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้

อึสีเขียว ดำ เทา บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพลูก

ตั้งแต่แรกเกิดคุณแม่จะสังเกตได้ว่าอุจจาระลูกมักจะมีสีเปลี่ยนไปเสมอค่ะ ซึ่งสีเหล่านี้แหละที่จะสามารถบอกได้ว่าสุขภาพของลูกน้อยเป็นยังไง แข็งแรงตามปกติ หรือมีภาวะผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายหรือไม่ แล้วคุณแม่จะต้องดูแลลูกน้อยอย่างไรให้สุขภาพแข็งแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อึลูกน้อย มีสีอะไรได้บ้างนะ

สี ลักษณะ ปกติ ()

ผิดปกติ ()

เขียวเข้ม ดำ หรือ “ขี้เทา” เหนียวเข้มเหมือนยางมะตอยหรือน้ำมันดิน เป็นอึในช่วง 1-3 วันแรกเกิด เกิดจากน้ำดี กรดไขมัน น้ำคร่ำ ที่ลูกกินเข้าไป ลูกที่ดื่มนมแม่จะถ่ายขี้เทาออกมาได้ไว ป้องกันอาการตัวเหลืองช่วงแรกคลอด
เขียวปนเหลือง เป็นช่วงหลังขี้เทา อาจมีขี้เทาหลงเหลือปนอยู่บ้าง ทำให้ยังมีสีเขียวปนออกมา
เหลืองคล้ายฟักทอง/มัสตาร์ด ลักษณะเหลว เนื้ออึนุ่ม เนียน แสดงถึงการที่ลูกกินนมแม่ล้วนอย่างเพียงพอ และสุขภาพดี
เขียว อาจเกิดจากคุณแม่กินผักใบเขียวเยอะในช่วงให้นม หรือเริ่มให้ลูกกินนมชง สีอึของลูกอาจจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของนม
เหลืองปนเขียว เกิดจากการให้นมลูกในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีลมในท้องมากไป มีกรดในท้องลูกเยอะ
เหลืองอมส้ม เพราะลูกกินนมไม่หมดเต้า ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ต้องดูดนมเต้านั้นบ่อยๆ
น้ำตาลเข้ม หากลูกกินนมชง นมผสม อึอาจจะมีสีนี้และลักษณะเหมือนแป้งเปียก เป็นก้อน มีกลิ่นแรงมาก
ดำ(หลังหมดขี้เทา) อาจเกิดจากแม่กินอาหารที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป หรือมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายของลูก
มีสีแดงสดปน เกิดจากแผลฉีกขาดบริเวณรูทวารหนักจากการเบ่งอึ มักเกิดในเด็กที่อึแข็ง ท้องผูกบ่อยๆ หรืออาจมีแผลในลำไส้ของลูกเล็กและควรได้รับการตรวจรักษาอย่างเร่งด่วน
สีขาวซีด โดเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก อาจเกิดจาดความผิดปกติของท่อน้ำดีในร่างกาย และควรได้รับการตรวจรักษา

 

สีของอุจจาระจะบ่งบอกถึงระบบขับถ่ายของลูกน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เนื่องจากระบบขับถ่ายนี้อาจเป็นสัญญาณสุขภาพของลูกในเบื้องต้นได้ การใส่ใจหมั่นสังเกตสีและลักษณะอุจจาระของลูกจึงช่วยให้คุณแม่สามารถรับมือได้ทันท่วงทีหากลูกมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายค่ะ

 

ที่มา : www.ekachaihospital.com , www.pobpad.com , www.vinceplanet.co.th , www.thaipbskids.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 เทคนิค สอนลูกให้พอใจในสิ่งที่ตนมี และไม่อิจฉาผู้อื่น ปลูกสุขที่แท้ในหัวใจ

ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม ทำไงดี วิธีแก้ปัญหาลูกน้อยติดขวดนม

White noise เสียงไดร์เป่าผม ช่วยกล่อมทารก หลับสบายจริงไหม ?

บทความโดย

จันทนา ชัยมี