10 เคล็ดลับจัดการอารมณ์ของเจ้าหนู วัยทอง 2 ขวบ ที่กำลังดื้อให้อยู่หมัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ตามมาเมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะนั้น คืออารมณ์ที่โมโหฉุนเฉียว และเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อแม่ต้องคอย จัดการอารมณ์ลูกในวัยนี้ให้อยู่หมัด วันนี้ theAsianparent Thailand มีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้หนูน้อย วัยทอง 2 ขวบ หายดื้อ และหายซนค่ะ มาดูกันเลย ว่าจะมีวิธีไหนบ้าง

 

10 เคล็ดลับจัดการอารมณ์ของเจ้าหนู วัยทอง 2 ขวบ

1. ช่วยจัดการกับอารมณ์โมโหฉุนเฉียวของลูก

มันเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับเจ้าตัวน้อยวัยสองขวบที่จะระเบิดอารมณ์โมโหออกมาเมื่อหนูไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ในขณะที่พ่อแม่ต้องเจอกับเสียงกรีดร้องและร้องไห้ ลองพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงที่สงบและผ่อนคลาย แล้วอารมณ์หนูจะค่อย ๆ สงบลง

 

2. ทำให้หนูยุ่ง ๆ เข้าไว้

ไม่มีอารมณ์ไหนจะน่ากลัวไปกว่าเมื่อเด็กน้อยวัยเตาะแตะกำลังเบื่อ แล้วก็จะเริ่มค้นหากิจกรรมทำอย่างการรื้อข้าวของในบ้าน หรือทำสิ่งต่าง ๆ แตกหักเสียหายอย่างไม่ได้ตั้งใจ คุณพ่อคุณแม่ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกได้ทำระหว่างวันดูนะคะ เช่น การระบายสี วาดรูป เต้นรำ หรืออ่านหนังสือ ทำให้ลูกยุ่ง ๆ เข้าไว้ จะไม่มีอาละวาดเกิดขึ้น

 

3. หันเหความสนใจของลูก

การทำให้ลูกวัยเตาะแตะรู้สึกสนุกสนานเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นอย่าไปให้ความสนใจมากนักเมื่อลูกร้องขอเอาของเล่นแล้วเราไม่ได้ซื้อให้ ลองหันเหอารมณ์ความสนใจของลูกไปยังสิ่งอื่นที่น่าจะเสริมพัฒนาการได้มากขึ้น อย่างเกมเพื่อการศึกษา หนังสือ เป็นต้น

 

4. ไม่จำเป็นต้องตอบรับกับอารมณ์โมโหฉุนเฉียวของลูกในทุกครั้ง

มีโอกาสสูงมากสำหรับลูกในวัยเตาะแตะที่จะกรีดร้องและร้องไห้ เมื่อพ่อแม่ไม่ให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่เราไม่จำเป็นต้องตอบรับเสมอไป แล้วในที่สุดเจ้าหนูจะหยุดร้องไปเอง และเรียนรู้ว่าการทำแบบนี้ไม่เป็นผลเสมอไปเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ลองปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง

ใครจะรู้ว่าลูกในวัย toddler นั้นก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวหรือการใช้เวลาอยู่เพียงลำพังเช่นเดียวกับผู้ใหญ่เหมือนกันนะ ลองปล่อยให้หนูได้เล่นสนุกบ้า ๆ บอ ๆ ได้สนุกกับตัวเอง แบบที่พ่อแม่ไม่เข้าไปยุ่ง แต่ก็ไม่ได้ละสายตาไปจากลูกเช่นกันนะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการวัยทอง 2 ขวบ ปัญหาในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ และวิธีการรับมือ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. รับฟังลูก

เจ้าหนูน้อยวัยเตาะแตะนั้นมีหลายอย่างที่อยากจะพูดอยากจะบอก ถึงแม้จะยังพูดออกมาได้ไม่เป็นประโยค แต่ทุกครั้งที่เขาเดินเข้ามาหาพ่อแม่เพื่อพูดพึมพำอะไรบางอย่าง อย่าลืมที่จะให้ความสนใจในการฟังสิ่งที่ลูกพูดกันนะคะ

 

7. ชวนลูกทำงานบ้าน

เจ้าหนูวัยนี้มีร่างกายที่พร้อมแล้วสำหรับการหยิบจับ ลองชวนลูกมาทำงานบ้านง่าย ๆ อย่างเป็นคนให้อาหารน้องแมวน้องหมาในครอบครัว เก็บของเอง เป็นต้น มันเป็นแนวทางที่ดีในการฝึกระเบียบวินัยให้กับลูก และสอนให้ลูกรู้จักกับความรับผิดชอบด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. หากิจกรรมทำร่วมกับลูก

เราสามารถส่งเสริมอารมณ์ให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดีและมีความสุขได้ ด้วยการพาไปทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากอยู่ในบ้าน เปลี่ยนบรรยากาศ และสถานที่ด้วยการพาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง ชวนเล่นกีฬาด้วยกัน การมีเพื่อนเล่นที่ดีอย่างพ่อแม่ จะทำให้ลูกอารมณ์ดี

 

9. ให้ลูกได้นอนหลับอย่างเพียงพอ

เจ้าหนูอารมณ์เสีย งอแงง่าย เป็นเพราะลูกนอนไม่พอหรือเปล่า ต้องให้แน่ใจว่าลูกได้นอนหลับอย่างเพียงพอเพื่อที่ให้มีพลังงานมากขึ้น และช่วยลดอารมณ์ของหนูให้เบาลงได้ การได้ยินเสียงหัวเราะที่สนุกสนานและเสียงกรีดร้องด้วยความตื่นเต้น ดีกว่าการได้ยินเสียงหวีดร้องและเสียงร้องไห้เป็นไหน ๆ ว่ามั้ยค่ะ

 

10. ให้ลูกได้กินอาหารที่ดีและมีประโยชน์

มื้ออาหารที่ดีและมีประโยชน์จะช่วยพัฒนาเรื่องอารมณ์ของเด็กน้อยวัยเตาะแตะได้นะคะ ให้ลูกได้ทานผลไม้และผักในปริมาณที่เหมาะสมเป็นของว่างระหว่างวัน และอาหารที่ดีนั้นจะยังช่วยป้องกันลูกน้อยให้ห่างจากการเจ็บป่วยด้วย

เมื่อถึงเวลาที่พ่อแม่ต้องเผชิญกับอารมณ์ของเจ้าหนูวัยทอง 2 ขวบ ที่อาจจะดื้อสักหน่อย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าความสามารถของพ่อแม่ที่จะช่วยกันจัดการอารมณ์ของลูกให้ดีได้แน่นอนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัยทอง 2 ขวบ ลูกงอแงไร้เหตุผล พัฒนาการที่แม่ต้องรู้

 

 

กลวิธีปราบเด็กดื้อ เด็กแสบ เด็กก้าวร้าว

ใคร ๆ ก็คงอยากได้ลูกที่ว่าง่าย น่ารัก น่าเอ็นดู กันทุกคน แต่เหตุไฉนลูกของเราจึงไม่ได้ดั่งใจ ไม่ดื้อก็ซน ไม่ซนก็ก้าวร้าว อ่อนอกอ่อนใจจริงไม่รู้จะทำอย่างไร เห็นทีต้องปล่อยให้ครูเขาจัดการเสียแล้ว เรื่องราวคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะที่สุดคุณครูก็จะย้ำทุกครั้งไม่ว่าทางบ้านต้องช่วยปรับพฤติกรรมด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะอย่างไรเสีย เราคงหลีกเลี่ยงความเป็นจริงไม่ได้ว่า พ่อแม่นั่นแหละเป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการปรับพฤติกรรมของลูก เมื่อใดที่คุณเปลี่ยน ลูกจะเปลี่ยนตามสาเหตุ และวิธีปราบเด็กดื้อ เด็กซน เด็กก้าวร้าว

 

1. ใส่ใจและเพิ่มปริมาณการชื่นชมพฤติกรรมที่ดี ลดการตำหนิติเตียน

เด็กมีจุดอ่อนอยู่ 2 เรื่อง คือ ต้องการคนชม และต้องการคนสนใจ ถ้าเราสนใจและชมเขาในสิ่งดีที่เขาทำบ่อย ๆ ให้มากเท่าที่ทำได้ ทุกครั้งที่ชมจะเป็นเครื่องยืนยันว่า หนูทำถูกต้องแล้ว ทำต่อไปนะแม้แต่เด็กที่ดื้อ ซน ก้าวร้าว พฤติกรรมก็จะดีขึ้น ๆ จนกลายเป็นเด็กน่ารักในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ใช้ท่าทีที่สงบสยบความดึงดัน ให้พ่อแม่เป็นคนยืนยันในสิ่งที่ต้องการ

เด็กดื้อ คือ เด็กที่ยืนยันในสิ่งที่เขาต้องการ แล้วได้ตามต้องการ เด็กซน คือ เด็กที่ยืนยันว่าการเล่นสนุกนั้นทำได้เสมอในทุกที่ เด็กก้าวร้าว คือเด็กที่ยืนยันว่าการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงนั้นได้ผลเสมอ เราปล่อยให้ลูกก้าวร้าวทำร้ายคนอื่นเท่ากับว่าเราทำให้ลูกเรียนรู้ว่า เขาจะทำร้ายใครก็ได้ที่ทำให้เขาไม่พอใจ วิธีปราบลูกนั้น ไม้เด็ด คือ ยืนยันอย่างสงบว่าอย่างไรเสียลูกจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ยิ่งเราควบคุมความโกรธได้เท่าไหร่ เรายิ่งควบคุมสถานการณ์ได้ดีเท่านั้น

สิ่งสำคัญ คือ ความคิด คำพูด และการกระทำของคุณพ่อคุณแม่นั้นต้องตรงกัน ต้องทำให้ลูกยุติการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้ได้ เช่น เมื่อลูกโมโหไม่ได้ดั่งใจแล้วตีแม่ ความคิด : ลูกตีแม่อย่างนี้ไม่ถูกต้อง จะให้ลูกทำอย่างนี้ไม่ได้ ควบคุมอารมณ์ให้ได้ จ้องหน้าลูกแล้วพูดอย่างชัดเจนหนักแน่น คำพูด : หยุดนะ ลูกตีแม่ไม่ได้ การกระทำ : จับมือลูกให้หยุดการตีให้ได้ ทำซ้ำเดิมจนกว่าลูกจะหยุดตี เมื่อลูกหยุด ต้องชื่นชม

 

3. ลูกเป็นคู่กรณีกับคนไหนคนนั้น ให้คนนั้นจัดการ

เมื่อใครคนใดคนหนึ่งกำลังจัดการกับพฤติกรรมไม่น่ารักของลูก อีกคนต้องให้ความร่วมมือด้วยการไม่เข้าไปก้าวก่าย ควรดูอยู่เฉย ๆ ไม่แสดงท่าทีเข้าข้างฝ่ายใด เมื่อเหตุการณ์ยุติลงแล้ว อาจเข้ามาเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้ลดความตึงเครียดลงลูกจะรู้สึกผ่อนคลายกับผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปราบพยศวัยทอง 2 ขวบ ใช้ time out ทำไมไม่ได้ผล? จับลูกเข้ามุม ทำไมลูกยิ่งดื้อ

 

 

4. เวลาลูกโกรธให้รับฟัง

และให้รู้ว่าเรารู้ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร ขณะลูกอาละวาด ระงับเหตุก่อน อย่าดุไปสอนไป การแสดงออกที่เหมาะสม จะต้องเป็นไปตามกติกา ข้อตกลง อย่างเช่น เมื่อลูกเริ่มมีท่าทีโกรธ พ่อแม่ต้องยอมรับความรู้สึกของลูก เมื่อพ่อแม่รับฟังความรู้สึกของเขาจะผ่อนอารมณ์ของลูกลงได้ ถ้าลูกหาทางออกไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจเสนอทางเลือกให้ลูก จะดีกว่าออกคำสั่ง เพราะลูกจะเต็มใจมากกว่าถูกบังคับให้ทำ

 

5. การคาดเดาสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

ให้วางแผนเตรียมการไว้ และป้องกันปัญหาในระยะแรกก่อนที่จะบานปลาย คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกคาดเดาว่าในสถานการณ์ข้างหน้า จะมีเหตุอะไรบ้างที่อาจทำให้เกิดสิ่งไม่น่าพอใจ แล้วหาทางป้องกันไว้ การแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นก็ง่ายกว่าไปแก้ที่ปลายเหตุจะทำให้ยุ่งยากว่ามาก เช่น แก้ปัญหาเสียตั้งแต่ลูกเริ่มโกรธจะง่ายกว่าเมื่อลูกอาละวาดไปแล้ว

 

ปัญหาทุกอย่างของลูกแก้ไขได้เสมอ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ค้นพบและปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู และขอให้ระลึกเสมอว่า ลูกเองก็อยากเป็นเด็กดี คุณพ่อคุณแม่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เขาค้นพบวิธีที่จะเป็นเด็กดีได้ ลูกต้องการเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงและการดีขึ้นเพียงเล็กน้อยของลูกเป็นสัญญาณที่ดีของการเปลี่ยนแปลง ชี้ชวนให้ลูกเห็นว่าลูกดีขึ้นตรงไหน หมั่นชื่นชมและให้กำลังใจลูก ไม่นานเขาก็จะเป็นเด็กดีให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นใจ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกซน ลูกดื้อ ลูกอยู่ไม่นิ่งชอบการปีนป่าย ต้องทำอย่างไรดี ?

5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?

ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี

ที่มา : sg.theasianparent

บทความโดย

Napatsakorn .R