อาหาร เป็นพิษในเด็ก อาการเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหาร เป็นพิษในเด็ก เป็นเรื่องใกล้ตัวที่แม่ ๆ พบเจอกันอยู่บ่อย ๆ อาการเหล่านี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้และอาจจะรุนแรงมากขึ้น เพราะเด็กเล็กนั้นเขาไม่สามารถที่จะทนภาวะของการขาดน้ำได้ไม่เท่ากับผู้ใหญ่ เมื่อใดที่ลูกเกิดอาการอาหารเป็นพิษ จะทำอย่างไรดี มีวิธีดูแลอาการอาหารเป็นพิษของลูกไหม?

 

ที่มาของรูป : www.maerakluke.com

อาหารเป็นพิษในเด็ก

ในหน้าร้อนนั้นจะเป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่จะพบได้ในหลาย ๆ โรคสำหรับเด็ก เช่น โรคท้องเสีย โรคผิวหนังผดผื่น โรคพิษสุนัขบ้า และโรคอาหารเป็นพิษ ในโรคอาหารเป็นพิษนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เรามาทำความรู้จักกันกับ โรค อาหาร เป็นพิษในเด็ก กันดีกว่า

 

อาการ โรคอาหารเป็นพิษ

  1. อาเจียน
  2. ท้องเสีย
  3. ท้องใส้ปั่นป่วน
  4. วินเวียนศีรษะ และปวดเมื่อยเนื้อตัว

 

อาการของอาหารเป็นพิษ  ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อาการอาจเกิดขึ้นภายในระยะเวลาในไม่กี่ชั่วโมง จนถึง 1-2 วัน หลังจากทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคแล้ว โดยมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเหลวมีมูกเลือดปน เบื่ออาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้ หากไม่รุนแรง มักจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่เด็กบางคน อาจมีอาการรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ

เกิดจากการทานอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ปรุงไม่ถูกวิธี หรือทานอาการที่มีสารปนเปื้อน ในบางคนนั้นอาจจะมีอาการภายใน 1-2 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคนนั้นก็ประมาณ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับว่ามีเชื้อโรคมากน้อยเพียงใด อาหารทะเลเป็นอาหารที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุด เมื่อนำมาทำเป็นอาหารแล้วทำไม่ถูกวิธีก็ทำให้สามารถ เป็นอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : อะไรคือต้นเหตุของโรคหูติดเชื้อในเด็ก” และวิธีป้องกัน?

ที่มาของรูป : www.rakluke.com

การป้องกันไม่ให้เกิด อาหารเป็นพิษ

หากไม่อยากให้ลูกมีอาการอาหารเป็นพิษ คุณพ่อ คุณแม่ ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่หมดอายุไปแล้ว หรือทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ให้ลูกทานแต่อาหารที่สะอาดปรุงสุกสดใหม่ ร้อน ๆ ไม่ทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยไม่ใช้ช้อนกลาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร และอาหารที่ต้องระวังเวลาที่รับประทานมีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1.  ผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ ก่อนที่จะนำมาปรุงอาหารหรือนำมาให้ลูกน้อยทานควรที่จะล้างทำความสะอาดก่อน
  2. หอย ปลาหมึก กุ้ง หรืออาหารที่เป็นจำพวกอาหารทะเลก็นำมาปรุงให้ถูกวิธีเสียก่อน
  3. อาหารสำเร็จรูป ต้องดูวันเดือนปี ที่หมดอายุให้ดี
  4. นมต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ต้องไม่ให้ลูกดื่ม

 

อาการอาหารเป็นพิษ มักจะมีอาการหนักมากถ้าเกิดขึ้นกับเด็ก เพราะอาจเกิดอาการขาดน้ำ อาจต้องให้กินเกลือแร่เพื่อเป็นการชดเชยน้ำที่เสียไปอาการของลูกจึงจะดีขึ้นนั้นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา โรคอาหารเป็นพิษ ทำอย่างไร

สิ่งที่สำคัญ สำหรับการรักษาโรคอาหารเป็นพิษในเด็ก นั้นคือ การให้สารน้ำที่เพียงพอ โดยควรให้จิบน้ำเกลือแร่อยู่บ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียของน้ำที่ขาดไป และเกลือแร่จากการอาเจียน หรือท้องเสีย ให้เด็กทานอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยไม่ยาก เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ขนมปัง ไม่ทานอาหารที่มีรสจัด หรือมีไขมันมาก งดผัก และผลไม้เลยเด็ดขาด

 

การดูแลเด็กที่เป็นอาหารเป็นพิษ

ควรที่จะให้เด็กทานยาแก้อาเจียน และดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนน้ำที่เสียไป ระหว่างนั้นก็ควรที่จะสังเกตุอาการของลูกน้อยว่ามีอาการขาดน้ำอยู่หรือไม่ อาการของการขาดน้ำจะมีอยู่ดังนี้ ปากแห้ง กระบอกตาลึก ชีพจรเต้นเร็ว และมีการปัสสาวะที่น้อยลง ถ้าในกรณีที่ลูกไม่มีอาการขาดน้ำคุณก็สามารถที่จะดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ แต่ถ้ากรณีที่ลูกแสดงอาการของการขาดน้ำก็ควรที่จะรีบพาลูกไปพบแพทย์ ถ้าอาการเริ่มที่จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เราก็ให้ลูกดื่มน้ำเกลือมาก ๆ และก็พยายามให้ลูกดื่มนมทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อไม่ให้ลูกอาเจียนออกมา และก็คงรที่จะให้ลูกทาอาหารอ่อน ๆ ไปก่อนเพราะดีกว่าอาหารแข็งทำให้ย่อยยาก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : รับมือ 5 อาการปวดท้องในเด็กที่พบมากที่สุด

 

 

 

 

ที่มาของรูป : www.synphaet.co.th

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ที่ต้องไปโรงพยาบาล เพราะอาการอาหารเป็นพิษ

หากว่าเด็ก ๆ มีอาการ อาหารเป็นพิษที่อาการนั้นไม่ดีขึ้นเอง ภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการที่รุนแรง เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรงจนไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ และเด็กมีอาการที่ร้องไห้งอแง มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ตาโหล ปากแห้ง ไม่ปัสสาวะเลย 6 ชั่วโมง หน้ามืด วิงเวียน หรือใจสั่น มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส  ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดปน หรือถ่ายดำผิดปกติ ก็ควรจะไปพบแพทย์

โดยทั้งนี้สำหรับทารก และเด็กเล็กอาจเกิดภาวะขาดน้ำจากอาหารเป็นพิษได้ง่ายกว่าเด็กโต และผู้ใหญ่ เพราะไม่สามารถบอกอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ชัดเจน และยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ในการหาน้ำเกลือแร่มาดื่มเพื่อชดเชยการเสียน้ำ จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากลูกมีอาการ อาหารเป็นพิษ ที่ไม่แน่ใจว่ารุนแรงหรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่ ก็ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้แพทย์ตรวจอาการ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

แหล่งที่มา : (theasianparent), (maerakluke)

บทความโดย

chonthichak88