10 อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต อาหารที่ควรเลี่ยงถ้าไม่อยากให้ไตพัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารในปัจจุบันนี้ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป หลายชนิดที่มีโซเดียมสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ เสี่ยงโรคไตขึ้นไปทุกที มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง งานนี้ไม่ได้ห้ามรับประทานนะคะ เพียงแต่ทานให้พอเหมาะจะปลอดภัยกว่าค่ะ มาดู 10 รายชื่อ อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต อาหารที่ควรเลี่ยงถ้าไม่อยากให้ไตพัง

 

ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โซเดียม เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ใช้ควบคุม และรักษาสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย และช่วยรักษาสภาพความเป็น กรด ด่าง ของร่างกาย โดยปกติแล้ว ร่างกายของเรา ได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารอยู่แล้ว ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา แต่หากออกกำลังกายเป็นประจำ เสียเหงื่อมาก ร่างกายจะต้องการโซเดียมมากขึ้น

 

อาหารต่อไปนี้ มีโซเดียมสูง เสี่ยงต่อโรคไตหากรับประทานมากเกินไป เพราะร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมน้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม หรือเท่ากับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะครึ่งเท่านั้น มาดูกันนะคะว่า อาหารโซเดียมสูง อาหารที่มีความเสี่ยง อาหารที่ทำร้ายไต มีอะไรบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 อาหารโซเดียมสูงที่ควรเลี่ยง

  1. น้ำปลาหรือเครื่องปรุงต่าง ๆ

ชื่อก็เค็มแล้วนะคะเครื่องปรุงจำพวกน้ำปลา แม้จะเป็นเครื่องปรุงหลักของคนไทย แต่ก็ควรใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ นอกจากนี้ยังรวมถึงซอสปรุงรสต่าง ๆ และซีอิ๊ว ด้วยนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ขนมขบเคี้ยว

ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ (มักโรยเกลือเพิ่ม) ปลาเส้น สาหร่ายอบกรอบ ขนมสุดโปรดของคุณหนูๆ ไม่ควรทานบ่อยหรือทานในปริมาณมาก เพราะเดี๋ยวนี้เด็ก ๆ เป็นโรคไตกันเยอะ สาเหตุหนึ่งก็มาจากขนบขบเคี้ยวนี่แหละค่ะ

 

  1. เนื้อแดง

ปริมาณโซเดียมในเนื้อแดง เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู จะมากกว่าเนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. อาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก ข้าวต้มสำเร็จรูป ข้าวกล่องแช่แข็ง มันฝรั่งแช่แข็ง ดูจากรายชื่อเป็นของติดบ้านแทบทุกครัวเรือน ทานได้ค่ะ แต่ทานให้พอดีนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง

 

  1. อาหารหมักดอง

อาหารหมัก อาหารดอง เช่น ผักกาดดอง ปลาร้า เต้าเจี้ยว โดยเฉพาะคนไทยคุ้นเคยกับการทานปลาร้าซึ่งควรรับประทานแบบปรุงสุก เพื่อสุขอนามัยที่ดีและหลีกเลี่ยงพยาธิชนิดต่าง ๆ ส่วนของหมักดองอื่น ๆ บริโภคแต่น้อยจะดีกว่าค่ะ

 

  1. อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ปรุงรส

อาหารแปรรูปต่าง ๆ เช่น หมูหยอง หมูยอ ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง มีส่วนผสมของโซเดียมเช่นกัน แม้จะเป็นอาหารสุดโปรดของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็ก ไม่ควรรับประทานบ่อยจนเกินไปเท่ากับสะสมปริมาณโซเดียมในร่างกายไม่เกิดผลดีเลยค่ะ เสี่ยงไตพังอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. อาหารตากแห้ง

อาหารแห้งชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้งแห้ง ปลาสลิดตากแห้ง ปลาหมึกตากแห้ง หมูแดดเดียว อาหารเหล่านี้เป็นการถนอมอาหารที่ต้องใช้เกลือมาเป็นส่วนผสมสำคัญ ดังนั้นปริมาณเกลือจึงสูงมากกว่าอาหารปกติ รับประทานอาหารที่สดและปรุงสุกใหม่ เพื่อความปลอดภัย ห่างไกลจากโรคไตดีกว่าค่ะ

 

  1. น้ำเกลือแร่

เพราะเครื่องดื่มเกลือแร่มักใส่โซเดียม เพื่อทดแทนเกลือแร่จากการสูญเสียเหงื่อเป็นจำนวนมาก

 

  1. ซอสปรุงรส

ซอสปรุงรส หรือ ซอสที่ช่วยเพิ่มรสชาติ เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ อย่าคิดว่าเครื่องปรุงเหล่านี้ไม่มีเกลือนะคะ แถมมีในปริมาณที่สูงเสียด้วย ปรุงแต่พอดี รับรองไม่มีปัญหาค่ะ

 

  1. ขนมที่มีผงฟูเป็นส่วนประกอบ

ขนมต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของผงฟู เช่น เค้ก ขนมปัง คุกกี้ แพนเค้ก ไม่น่าเชื่อใช่ไหมคะเพราะแต่ละอย่างหอมหวานอร่อยลิ้น แต่นั่นเป็นเพราะผงฟูมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบนั่นเอง แม้รสหวานจะมาจากน้ำตาลก็ตาม รู้เช่นนี้อย่าทานมากเกินไปนะคะ เสี่ยงโรคไต แถมอ้วนอีกต่างหาก

 

 

โซเดียม เป็นสิ่งที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ อาหาร ขนมขบเคี้ยว ที่มีส่วนของโซเดียม ดังนั้นเราควรระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีโซเดียม เพราะร่างกายอาจได้รับโซเดียมมากเกินไป ทำให้ส่งผลเสียต่อไต แต่อาจส่งผลเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคไตได้ เราควรลด หรือ เลี่ยง อาหารโซเดียมสูง เพื่อปกป้องไตของเรากันนะคะ

 

ที่มาข้อมูล : 1

บทความที่น่าสนใจ :

อาการของโรคไต เป็นแบบไหน โรคไต สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอย่างไร?

อาหารที่มีโซเดียมสูง แม่ท้องอย่ากิน ต้องระวังให้มากกินแล้วไม่ดี

กินยาอย่างไรไตไม่พัง เรามาดูแลไตของเรา กันเถอะ

บทความโดย

Waristha Chaithongdee