หมอนหัวทุย สำหรับเด็ก อยากให้หัวลูกทุยสวย ไม่แบน ต้องทำยังไง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สวัสดีค่ะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ วันนี้เราขอพาทุกคนทำความรู้จัก หมอนหัวทุย สำหรับเด็ก ไอเทมเด็ด เพื่อสรีระศีรษะที่ดี สำหรับใครที่อยากให้หัวลูกทุยสวย ไม่แบน ต้องทำอย่างไร ?? พร้อมแล้วมาร่วมหาคำตอบกันได้เลย

 

หมอนหัวทุย สำหรับเด็ก คืออะไร ?

หมอนหัวทุย คือ หมอนสำหรับทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ส่วนใหญ่จะขายเป็นสินค้าที่ช่วยป้องกันอาการหัวแบน โดยหมอนประเภทนี้ มักผลิตจากวัสดุที่นุ่มสบายและออกแบบมาอย่างดี เพื่อให้พอดีกับศีรษะที่บอบบางของทารก และช่วยหลีกเลี่ยงอาการหัวแบน

 

ลูกหัวแบนเป็นอันตรายหรือไม่ ?

ในความเป็นจริงยิ่งเด็กเล็กในช่วงทารกใช้เวลาอยู่กับการนอนหงายหลังในตำแหน่งท่าเดียวเป็นระยะเวลานาน โอกาสที่พวกเขาจะหัวแบนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น นั่นเป็นเพราะว่ากระดูกกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดยังอ่อนกว่ากะโหลกของเด็กโตหรือ ผู้ใหญ่

การที่ลูกหัวแบนนั้นส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษเป็นภัย และไม่นำไปสู่ปัญหาการพัฒนาในระยะยาว ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองบางคนอาจกลัว เมื่อทารกโตขึ้น “พวกเขาเคลื่อนไหวมากขึ้นและนอนน้อยลง ดังนั้นพวกเขาจึงมีความกดดันที่ด้านหลังน้อยลง และ กลุ่มอาการหัวแบน มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป”

นอกจากนี้ ความผิดปกติของศีรษะเล็กน้อยที่ยังคงมีอยู่มักจะสังเกตเห็นได้น้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น เนื่องจากผิวหนังบริเวณกระดูกกะโหลกศีรษะหนาขึ้น มีผมขึ้น และสูงขึ้น ซึ่งทำให้ศีรษะดูเล็กลงตามสัดส่วน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทำให้จุดแบน ๆ ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดน้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนหนุนหมอน และผ้าห่มได้เมื่อไหร่ ทารกคออ่อนนอนหมอนได้ไหม?

 

ลูกหัวแบนเกิดจากอะไร

  • การคลอดทางช่องคลอด ศีรษะของทารกอาจถูกแรงกดทับขณะเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด
  • การนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ศีรษะของทารกด้านที่แนบกับพื้นมีลักษณะแบนได้
  • คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีกะโหลกศีรษะที่นิ่มกว่าปกติ และอาจต้องนอนในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้ทารกเกิดภาวะหัวแบนได้ง่ายกว่าปกติ
  • เกิดแรงกดทับขณะอยู่ในครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์ลูกแฝด หรือมีน้ำคร่ำในครรภ์น้อยกว่าปกติ เป็นตัวอย่างสาเหตุที่พบได้บ่อย เพราะน้ำคร่ำมีผลต่อการป้องกันศีรษะ
  • คอเอียง (Torticollis) เป็นภาวะที่คอด้านใดด้านหนึ่งของทารกตึง หรือเกร็งมากผิดปกติจนทารกหันหน้าลำบาก โดยทารกมักหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ทารกอาจเกิดภาวะหัวแบนตามมาได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากทารกจะต้องนอนท่าหงายเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้มีโอกาสที่ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะเกิดอาการหัวแบน ปัญหานี้สามารถป้องกันได้ด้วย Mama’s Choice Flat Head Prevention Pillow หมอนหลุมหัวทุย สำหรับเด็ก ที่จะช่วยรักษารูปทรงศีรษะของลูกน้อยได้ ด้วยความโค้งเว้าและการรองรับน้ำหนักของเมมโมรี่โฟมออร์แกนิก ทำให้ทารกรู้สึกสบายและช่วยลดแรงกดทับบริเวณด้านหลังศีรษะและคอของทารก

มีให้เลือกหลายสี : ฟ้า , ชมพู , เหลือง

ทำไม Mama’s Choice Flat Head Prevention Pillow ถึงพิเศษกว่าแบรนด์อื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ช่วยรักษารูปทรงศีรษะของทารกอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ทำจากออร์แกนิคเมมโมรี่โฟม 100%
  • หนา 3 เซนติเมตร พร้อมชั้นระบายอากาศสามชั้น
  • วัสดุด้านนอกเป็นผ้าฝ้ายนุ่ม ให้ความรู้สึกนุ่มสบาย
  • ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ของเด็กทารก เพื่อปกป้องศีรษะทารก
  • สามารถนอนหงายและเอียงได้
  • เหมาะสำหรับเด็กทารกอายุ 0-12 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 หมอนเด็ก ยี่ห้อไหนดี? คุณแม่สายซื้อออนไลน์ไม่ควรพลาด

 

วัสดุที่ใช้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ชั้นนอก : ผ้าฝ้ายแบบนุ่ม
  • ชั้นใน : ออร์แกนิกเมมโมรี่โฟม

ข้อแนะนำการซัก

  • แนะนำให้ซักมือแทนการใช้เครื่องซักผ้า
  • บิดให้น้ำหมาดก่อนนำไปตาก
  • ตากเป็นแนวตั้ง หรือหนีบกับไม้หนีบ เพื่อให้หมอนแห้งสนิทไม่อับชื้น

วิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันลูกน้อยหัวแบน

นอกจากการใช้หมอนหลุม หรือ หมอนหัวทุยเป็นตัวช่วยแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดอาการหัวแบนของลูกน้อยได้ ดังนี้ค่ะ

  • จำกัดเวลาของลูกน้อยนอนหงายหลังของลูกไว้อย่างเป็นเวลา
  • เมื่อลูกตื่น ให้จัดวางท่าลูกน้อยของคุณในท่าแบบที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดูเหมือนลูกน้อยจะชอบให้ศีรษะอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง แนะให้คุณพ่อคุณแม่เปลี่ยนวิธีการนอนของทารกในแต่ละสัปดาห์ การทำเช่นนี้จะกระตุ้นให้ลูกน้อยของคุณมองไปรอบ ๆ แทนที่จะให้ศีรษะของลูกอยู่ในตำแหน่งเดียวตลอดเวลา
  • เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปข้างนอก ให้สลับระหว่างรถเข็น กับเป้เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของทารก
  • ทารกชอบมองไปรอบ ๆ ตัว ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนสิ่งของรอบ ๆ ตัวในห้องหรือวางไฟเพื่อให้พวกเขาอยากมองไปในทิศทางอื่น ๆ ที่ต่างออกไป
  • อย่าปล่อยให้ลูกน้อยของคุณนั่งบนเบาะรองนั่ง หรือ คาร์ซีท นานเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดปัญหาในการเจริญเติบโตและพัฒนาการอื่น ๆ และการใช้คาร์ซีทเป็นเวลานานเนื่องจากวัสดุแข็งจะกดทับที่ศีรษะ แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าตื่นตกใจไปค่ะ เพราะการจัดตำแหน่งใหม่ เป็นการแก้ไขเบื้องต้นและบ่อยครั้งปัญหานี้ก็หมดไปเองได้
  • เปลี่ยนวิธีการอุ้มลูกน้อยของคุณในระหว่างการให้นม เพื่อไม่ให้ศีรษะของลูกอยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอ
  • ให้ลูกน้อยนอนคว่ำ หรืออีกชื่อคือ Tummy Time ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ไขได้ นอกจากนี้วิธีนอนแบบนี้จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ ให้เด็กทารกควบคุมศีรษะของตัวเองได้ ทำให้ไปช่วยสร้างกล้ามเนื้อคอ และช่วยให้พวกเขาสามารถดันแขนขึ้นเองได้
  • จำกัดระยะเวลาที่ลูกน้อยของคุณใช้ในคาร์ซีท เก้าอี้กระโดดน้ำ ชิงช้า และพาหนะอื่น ๆ ซึ่งอาจจำกัดการเคลื่อนไหวของศีรษะและกดทับที่จุดเดียวกันบนศีรษะเมื่อนอนราบ
  • นอกจากนี้หากทารกหัวแบนแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังรู้สึกไม่สบายใจ แนะนำให้ขอคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ! 7 หมอนยางพารา ลดอาการปวดคอได้ดี เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้

7 หมอนหัวทุยที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ซื้อไว้ติดบ้าน หายห่วงเรื่องลูกหัวแบน

ย้ายลูกจากเปลไปใช้เตียง ได้ตอนไหน เมื่อไหร่ที่เด็กควรย้ายไปนอนเตียง?

ที่มา : consumerreports , rednose

บทความโดย

Suchanya Dheerasunt