ลูกติดมือถือแก้ยังไง วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ก่อนจะสายเกินไป

ผู้ปกครองระวังลูกติดมือถือหากให้ลูกเล่นนานมากเกินไป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เรามีวิธีแก้ไขมาแนะนำให้ ก่อนที่ลูกจะติดไปมากกว่านี้ ซึ่งส่งผลเสียต่อพัฒนาการได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกติดมือถือ

หากตอนนี้ผู้ปกครองให้ลูกเล่นมือถือ แล้วอยากรู้ว่าลูกน้อยติดมือถือหรือเปล่า เรามีข้อสังเกตง่าย ๆ ที่ผู้ปกครองควรสังเกตดู ดังต่อไปนี้

 

  • ลูกไม่สนใจทำกิจกรรมอื่น ๆ เลย แม้แต่กิจกรรมที่ชอบ จะอยากเล่นแต่มือถืออย่างเดียว
  • เมื่อจำกัดเวลาเล่นมือถือ ลูกจะงอแง โวยวาย ต้องการเล่นอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
  • หน้าที่งานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ลูกเคยช่วยทำ ตอนนี้ลูกจะไม่สนใจที่จะทำเลย
  • แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมามากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากการเลียนแบบสื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?

 

ลูกติดมือถือส่งผลกระทบอย่างไร

เมื่อลูกใช้เวลากับมือถือจนมากเกินไป สามารถก่อให้เกิดผลเสียได้โดยตรง แม้ว่ามือถือจะทำให้ลูกอยู่นิ่งดูเลี้ยงง่าย แต่ผลที่ตามมาในภายหลัง อาจได้ไม่คุ้มเสีย ดังนี้

 

  • ส่งผลต่อพัฒนาการ : การที่ลูกเล่นโทรศัพท์มากเกินไปจะส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการหลายด้าน โดยเฉพาะสมอง และสายตา ขาดโอกาสในการออกไปทำอย่างอื่น หรือได้ทำกิจกรรมที่จำเป็นอื่น ๆ น้อยลง เช่น ทักษะด้านการพูด และการอ่าน หากลูกเน้นใช้การฟังมือถือเพียงอย่างเดียว ไปจนถึงร่างกายที่อาจอ่อนแอกว่า เพราะไม่ได้ออกไปวิ่งเล่น เป็นต้น
  • เสี่ยงต่อการเลียนแบบ : การใช้สื่อต่าง ๆ ของเด็กเล็กมีความเสี่ยงสูง หากผู้ปกครองไม่จำกัดสื่อให้ดี ลูกอาจไปเห็นพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งดี และไม่ดี เด็ก ๆ มักจะทำตามสิ่งที่ตนเองเห็นบ่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาพฤติกรรม เช่น พูดจาไม่สุภาพ การแสดงท่าทาง และสีหน้าที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
  • สมาธิสั้น : การให้ลูกอยู่กับมือถือนาน เป็นการฝึกลูกให้คุ้นชินกับการสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว อยากดูก็แค่คลิก อยากเปลี่ยนเนื้อหาก็แค่กด หาอะไรก็เจอได้ง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกความใจร้อน และทำให้มีสมาธิสั้น เมื่อต้องรออะไรสักอย่างหนึ่ง ก็อาจทำให้ลูกงอแง กลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็นขึ้นมาได้
  • เข้าสังคมได้ยากขึ้น : การอยู่กับมือถือ จะทำให้ลูกน้อยขาดโอกาสในการออกไปเล่นข้างนอก ไม่ได้เจอกับเด็กรุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีหลักในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาการเข้าสังคมในระยะยาว ทำให้ปรับตัวได้ยาก เมื่อต้องเจอเพื่อนใหม่ในชีวิตจริง

 

นอกจากนี้ยังเคยมีการเข้าใจว่า ให้เด็กเล่นมือถือ เล่นเกมแล้วจะก้าวร้าว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับประเภทเกมที่เล่นว่ารุนแรงไหม และถ้ารุนแรงเหมาะสมกับช่วงวัยของลูกหรือยัง หากลูกอายุยังไม่ถึงที่เกมกำหนด แต่ลูกได้เข้าไปเล่น จนเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ปกครอง ที่ไม่ควบคุมเนื้อหาเกม และไม่ให้คำแนะนำที่เหมาะสมเช่นกัน

 

 

ให้ลูกเล่นมือถือมีข้อดีอะไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ข้อเสียเท่านั้น แต่หากผู้ปกครองให้ลูกน้อยเล่นมือถืออย่างพอดีแล้ว ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้เช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ปี ควรเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมง/วัน และถ้าหากอายุยังไม่ถึง 3 ปี ไม่ควรได้เล่นมือถือเลย หากผู้ปกครองควบคุมสื่อแล้วเลือกเนื้อหาที่เหมาะกับเด็ก จะส่งผลดี ดังนี้

 

  • เปิดโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ : การเรียนรู้บางอย่าง อาจไม่สามารถเดินทางไปเรียนรู้ได้โดยตรง ในสื่อออนไลน์มีชุดข้อมูลจำนวนมากที่ฟังได้จากสื่อออนไลน์ เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ป่า สัตว์ทะเล สภาพแวดล้อม หรือเรื่องราวประวัติศาสตร์ แล้วแต่ความต้องการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนด้วย
  • ใช้เสริมพัฒนาการได้ : นอกจากการนั่งฟังสาระความรู้แล้ว การใช้มือถือสามารถส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้หลายด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย ด้วยการเปิดเพลงเด็กที่มีท่าเต้น แล้วชวนลูกเต้นตาม หรือจะเสริมด้านภาษา ด้วยการเปิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้ลูกท่องตาม เป็นต้น
  • ใช้คลายเครียดได้ : หากลูกรู้จักจะใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จนติดเป็นนิสัยว่าต้องเล่นอย่างพอดี ในอนาคตเมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน เมื่อมีความเครียด หรือมีความต้องการที่จะผ่อนคลายบ้าง ก็สามารถใช้มือถือช่วยในการดูสื่อที่เหมาะสมสนุกสนานได้เช่นกัน

 

ลูกติดมือถือแก้ยังไง

หากลูกติดมือถือ ผู้ปกครองอย่านิ่งนอนใจ ให้รีบแก้ไขในช่วงที่ลูกยังเล็กแบบนี้นี่แหละ ก่อนที่ลูกจะอายุมากขึ้น และแก้ไขได้ยากกว่าเดิม โดยมีวิธีเบื้องต้น ดังนี้

 

  • เริ่มจากการจำกัดสื่อที่อยากให้ลูกดูก่อน ควรตั้งค่ามือถือให้มีรหัสในแต่ละ Application รวมถึงตั้งค่าจำกัดเวลาในการเล่นมือถือ เมื่อครบเวลามือถือจะล็อกเองโดยอัตโนมัติ
  • ตกลงช่วงเวลาที่จะเล่น สร้างเงื่อนไขให้ชัดเจน ควรให้ลูกเล่นในช่วงเวลาบ่างจริง ๆ วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง ควรเล่นหลังจากทำการบ้านเสร็จแล้ว
  • พยายามหากิจกรรมอื่น ๆ มาให้ลูกทำบ้าง เน้นที่ไม่น่าเบื่อ ต้องสนุก และได้เรียนรู้ไปในตัว เช่น เล่นบทบาทสมมติ หรือเล่นบอร์ดเกม เป็นต้น
  • หากลูกต้องการที่จะเล่นเกม ควรเลือกเกมที่มีความเหมาะสมกับลูก คือ เน้นเกมที่ไม่รุนแรง และสามารถส่งเสริมทักษะได้ไปในตัวด้วย
  • ควรเก็บมือถือเอาไว้กับผู้ปกครองมากกว่าวางเอาไว้ในจุดที่ลูกหยิบไปเล่นได้
  • ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นว่าไม่ควรเล่นมือถือมากเกินไป ควรหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมด้วย

 

 

อย่าลืมเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้สมวัย

เมื่อลูกถึงช่วงวัยที่เหมาะต่อการเล่นโทรศัพท์มือถือแล้ว นอกจากการควบคุมเวลาในการเล่น และการควบคุมสื่อแล้ว การคอยส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับลูกรักก็เป็นวิธีที่ไม่ควรมองข้าม หากกินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการทางสมอง และสายตา คุณแม่ก็สามารถเบาใจได้ว่า ลูกจะสามารถใช้สื่อผ่านจอมือถือ โดยที่พัฒนาการยังคงไม่ล่าช้า หรือถดถอยลงไป

 

สารอาหารที่คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญมีอยู่หลายชนิด แต่สารอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง และส่งผลต่อสายตา คือ MFGM ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น แกงกลิโอไซต์ ฟอสโฟไลปิด สปิงโกไมอิลีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกน้อยจึงเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยให้เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ซึ่ง MFGM จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับควบคู่กับ DHA ที่ถูกนำไปเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา ในปริมาณที่เพียงพอ 

 

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีบทบาทต่อสมอง เช่น วิตามิน B, วิตามิน C และวิตามิน E ส่วนสารอาหารที่มีผลดีต่อระบบสายตายังมีเบตาแคโรทีน, โอเมก้า-3, วิตามิน A และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ซึ่งหาได้ในมื้ออาหาร หากเน้นการทานให้ครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ลูกไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้แน่นอน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสริมโภชนาการ MFGM สามารถไป ที่นี่   

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

ที่มา : sikarin,thestandard , bangkokinternationalhospital

บทความโดย

Khunsiri