ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม พร้อมวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์

แม่อยากรู้ไหม? ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม เช็กเลย! น้ำหนักทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยควรหนักกี่กรัม ตัวช่วยติดตามการเจริญเติบโตของลูกในท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม ตลอด 9 เดือนในท้องแม่ อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกในครรภ์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ค่ะ โดยทั่วไป น้ำหนักของทารกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองและสาม โดยจะเพิ่มสูงสุดในสัปดาห์ที่ 35 จากนั้นน้ำหนักทารกจะเพิ่มขึ้นช้าลงเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด

 

ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม

อายุครรภ์ นำ้หนักขึ้น (ก.) ต่อสัปดาห์
8 สัปดาห์ 7 กรัมต่อสัปดาห์
12 สัปดาห์ 15 กรัมต่อสัปดาห์
16 สัปดาห์ 29 กรัมต่อสัปดาห์
20 สัปดาห์ 59 กรัมต่อสัปดาห์
30 สัปดาห์ 175 กรัมต่อสัปดาห์
35 สัปดาห์ 215 กรัมต่อสัปดาห์
36 สัปดาห์ 188 กรัมต่อสัปดาห์
40 สัปดาห์ 168 กรัมต่อสัปดาห์

ขนาดทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์

คุณแม่ต้องการที่จะมั่นใจว่าลูกกำลังเจริญเติบโตตามปกติ จึงต้องติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ทราบประมาณการน้ำหนักและขนาดของทารกในแต่ละช่วงอายุครรภ์ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด และหากขนาดทารกไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติที่คุณหมอต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดทารกในครรภ์ ได้แก่ พันธุกรรม สุขภาพคุณแม่ โภชนาการแม่ท้อง และและจำนวนทารกในครรภ์ ซึ่งคุณหมอจะตรวจสอบขนาดของทารกได้จากการอัลตร้าซาวด์ และการตรวจภายในค่ะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดทารก

  • พันธุกรรม ขนาดตัวของพ่อแม่มีผลต่อขนาดของทารก หากพ่อแม่ตัวเล็กก็มีแนวโน้มที่ลูกจะตัวเล็กเช่นเดียวกัน
  • โภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนจะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี
  • สุขภาพของแม่ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน อาจทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าและตัวเล็กได้
  • จำนวนทารก หากตั้งครรภ์แฝด ทารกแต่ละคนอาจมีขนาดเล็กกว่าทารกครรภ์เดี่ยว

วิธีตรวจสอบขนาดทารก

  • การอัลตร้าซาวด์ เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจสอบขนาดและพัฒนาการของทารก
  • การตรวจภายใน แพทย์จะตรวจขนาดของมดลูกเพื่อประมาณขนาดของทารก

น้ำหนักทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์

คุณแม่อยากรู้แล้วใช่ไหมว่า ลูกน้อยในท้องคุณแม่แต่ละสัปดาห์ควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ เพื่อดูว่า ขนาดตัวลูกในครรภ์เป็นไปตามพัฒนาการหรือไม่ ลูกในครรภ์ตัวเล็กไปไหม ทารกโตช้า หรือตัวเล็กกว่าอายุครรภ์หรือเปล่า สามารถเทียบได้จากตารางด้านล่างนี้

อายุครรภ์ ความยาว (ซม.)
(ศีรษะถึงก้นกบ)
นำ้หนัก (ก.)
8 สัปดาห์ 1.57 ซม. 20 กรัม
9 สัปดาห์ 2.30 ซม. 27 กรัม
10 สัปดาห์ 3.1 ซม. 35 กรัม
11 สัปดาห์ 4.1 ซม. 45 กรัม
12 สัปดาห์ 5.4 ซม. 58 กรัม
13 สัปดาห์ 6.7 ซม. 73 กรัม
(ศีรษะถึงปลายเท้า)
14 สัปดาห์ 14.7ซม. 93 กรัม
15 สัปดาห์ 16.7 ซม. 117 กรัม
16 สัปดาห์ 18.6 ซม. 146 กรัม
17 สัปดาห์ 20.4 ซม. 181 กรัม
18 สัปดาห์ 22.2 ซม. 223 กรัม
19 สัปดาห์ 24.0 ซม. 273 กรัม
20 สัปดาห์ 25.7 ซม. 331 กรัม
21 สัปดาห์ 27.4 ซม. 399 กรัม
22 สัปดาห์ 29.0 ซม. 478 กรัม
23 สัปดาห์ 30.6ซม. 568 กรัม
24 สัปดาห์ 32.2 ซม. 670 กรัม
25 สัปดาห์ 33.7 ซม. 785 กรัม
26 สัปดาห์ 35.1 ซม. 913 กรัม
27 สัปดาห์ 36.6 ซม. 1055 กรัม
28 สัปดาห์ 37.6 ซม. 1210 กรัม
29 สัปดาห์ 39.3 ซม. 1379 กรัม
30 สัปดาห์ 40.5 ซม. 1559 กรัม
31 สัปดาห์ 41.8 ซม. 1751 กรัม
32 สัปดาห์ 43.0 ซม. 1953 กรัม
33 สัปดาห์ 44.1 ซม. 2162 กรัม
34 สัปดาห์ 45.3 ซม. 2377 กรัม
35 สัปดาห์ 46.3 ซม. 2595 กรัม
36 สัปดาห์ 47.3 ซม. 2813 กรัม
37 สัปดาห์ 48.3 ซม. 3028 กรัม
38 สัปดาห์ 49.3 ซม. 3236 กรัม
39 สัปดาห์ 50.1 ซม. 3435 กรัม
40 สัปดาห์ 51.0 ซม. 3619 กรัม
41 สัปดาห์ 51.8 ซม. 3787 กรัม

 

น้ำหนักทารกมากหรือน้อยเกินไปส่งผลต่อการคลอดอย่างไร

น้ำหนักของทารกในครรภ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการคลอดค่ะ น้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ ดังนี้

น้ำหนักทารกมากเกินไป (Macrosomia)

  • ความเสี่ยงต่อคุณแม่
  • ความเสี่ยงต่อลูกน้อย
    • บาดเจ็บ: ทารกอาจได้รับบาดเจ็บขณะคลอด เช่น กระดูกไหปลาร้าหัก
    • ขาดออกซิเจน: การคลอดยาก อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้
    • น้ำตาลในเลือดต่ำ: หลังคลอด ทารกอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • โรคอ้วน: ทารกที่มีน้ำหนักมากตั้งแต่เกิด มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนในอนาคตได้มากกว่า

น้ำหนักทารกน้อยเกินไป (Small for Gestational Age หรือ SGA)

  • ความเสี่ยงต่อลูกน้อย
    • คลอดก่อนกำหนด: ทารกที่มีน้ำหนักน้อยมักจะคลอดก่อนกำหนด
    • ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ: เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปอด และสมอง
    • ติดเชื้อ: ทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อได้ง่าย
    • เจริญเติบโตช้า: หลังคลอด ทารกอาจเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

ปัจจัยที่ส่งผลให้น้ำหนักทารกผิดปกติ

  • พันธุกรรม: ขนาดตัวของพ่อแม่มีผลต่อขนาดของทารก
  • โภชนาการ: การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • สุขภาพของแม่: โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อย
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์: เช่น รกเกาะต่ำ รกหลุด

วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์

การเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่การทานอาหารบางชนิดเท่านั้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่ควรเน้นในแต่ละไตรมาส

แม้ว่าคุณแม่ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ควรเน้นเป็นพิเศษในแต่ละช่วงค่ะ

  • ไตรมาสแรก (1-12 สัปดาห์)
    เป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ของทารกในระยะเริ่มแรก สารอาหารที่ควรเน้นในช่วงนี้ได้แก่ กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 อาหารที่แนะนำได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม (ผักโขม คะน้า) ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม
  • ไตรมาสที่สอง (13-27 สัปดาห์)
    ช่วงนี้ทารกเริ่มสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรเน้นแคลเซียม โปรตีน ไอโอดีน ซึ่งมีอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว, เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล
  • ไตรมาสที่สาม (28-40 สัปดาห์)
    ช่วงนี้ทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการสารอาหารจำนวนมากเพื่อพัฒนาสมองและร่างกาย ควรเน้นทุกกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและไขมันดี แนะนำให้คุณแม่รับประทานเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว อโวคาโด น้ำมันมะกอก

การฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณแม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ หากพบความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ จะสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที รวมถึงได้รับคำแนะนำวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ที่เหมาะสมกับคุณแม่แต่ละท่านด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : babycenter, perinatology , โรงพยาบาลพญาไท

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแข็งเป็นก้อน แบบนี้อันตรายไหม ลดอาการท้องแข็งได้อย่างไร

ลูกในครรภ์โตช้าน้ำหนักน้อยเพราะอะไร?

ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน