การปล่อยให้ ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นอาจไม่ใช่หนทางที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกได้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน หรือครอบครัวที่ได้เลือกทางเดิน หรือวิถีปฏิบัติให้พวกเขาเดินตามไว้เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการทำแบบนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขาเกิดความเครียด และกดดัน ดังนั้นเราควรปล่อยให้ได้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าการที่เราไปบังคับกดดันเขาส่งผลเสียอย่างไร และเราสามารถทำให้เขาสนใจการเรียนโดยไม่ต้องบังคับได้อย่างไรบ้าง
อันตรายของการกดดันเด็กเรื่องเรียนมากเกินไป
เคยมีรายงานหนึ่งพบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของเด็กบอกว่าการที่พวกเขาได้รับแรงกดดันจากครอบครัวนั้นทำให้เขาสามารถทำคะแนน หรือเรียนได้ดีในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตามการที่เด็กคนหนึ่งถูกกดดันให้พวกทำในสิ่งที่ไม่ชอบ หรือให้พวกเขาพยายามที่จะประสบความสำเร็จตามความคาดหวังของผู้ปกครองอาจส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย และจิตใจของเด็ก ๆ โดยอันตรายของการกดดันเด็กมากเกินไป มีดังต่อไปนี้
- เด็กอาจมีอัตราการป่วยทางสุขภาพจิตสูง เพราะการที่พวกเขารู้สึกว่าการอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง และเป็นเวลานานนั้น อาจทำให้เกิดความวิตกกังวล และการสะสมของความเครียด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หรือภาวะสุขภาพทางจิตอื่น ๆ
บทความที่น่าสนใจ : 7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว
- มีความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บทางจิตใจ สำหรับเด็กที่เกิดความผิดหวังจากการกดดันของผู้ปกครอง อาจทำให้จิตใจของเขาบาดเจ็บได้ ถึงแม้ว่าคุณจะบอกพวกเขาว่าไม่เป็นไรก็ตาม แต่พวกเขาจะไม่คิดแบบนั้น ความผิดพลาดในครั้งนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกกดดันมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลทำให้การเรียนของเขาแย่ลงได้
- เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อเด็ก ๆ รู้ว่าการอ่านหนังสือ หรือการทำฝึกหัดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้นไม่ได้ส่งผลทำให้ผลการเรียนของพวกเขาดีขึ้น เขาอาจเลือกวิธีในการโกง เพื่อทำให้เขาได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยความปรารถนาของพวกเขานั้นเป็นการที่เขาได้รับผลกระทบมาจากความคาดหวัง และการกดดันของผู้ปกครอง ดังนั้นเขาจึงต้องหาวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจของผู้ปกครองนั่นเอง
- การปฏิเสธสิ่งที่เขาต้องการ ความกดดันของผู้ปกครองที่มอบให้กับพวกเขาอาจส่งผลทำให้เขานั้นไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ หรือไม่ได้ฝึกฝนในสิ่งที่เขาทำได้ดี ดังนั้นเขาจึงจะปฏิเสธสิ่งที่เขาต้องการตลอดเวลา เพราะว่ากลัวพ่อแม่ผิดหวัง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกผู้ปกครองวางแผนชีวิตไว้ให้เรียบร้อยแล้ว โดยการกระทำแบบนี้จะส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักพวกเขาได้
- ปัญหาการเห็นคุณค่าในตัวเอง การผลักดันให้เด็ก ๆ มีความสามารถหลายด้าน ส่งผลทำให้เขาเกิดความเครียดสะสม และอาจทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองนั้นดีไม่พอ
- การอดนอน เด็กที่ถูกกดดันให้เรียนได้ดีในโรงเรียน หรือถูกกดดันจากผู้ปกครองให้ประสบความสำเร็จทางการศึกษานั้น มักจะทำให้พวกเขาต้องอ่านหนังสือ หรือฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลทำให้พวกเขาได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเขาได้
บทความที่น่าสนใจ : พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ระวังลูกป่วยเป็นจิตเวช
วิธีทำให้ ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องกดดัน
ความห่วงใย และความหวังดีของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกของคุณเรียนได้คะแนนดี หรือสามารถประสบความสำเร็จได้นั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องกดดันพวกเขา เพื่อให้เขาทำในสิ่งที่คุณคาดว่าเป็นเส้นทางสู่ความประสบความสำเร็จ แต่การกระทำเช่นนั้นทำให้เด็ก ๆ รู้สึกอึดอัดกับการเรียนรู้ ดังนั้นคุณควรหาจุดกึ่งกลางระหว่างคุณและลูก ด้วยการจุดประกายความอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองของเขา และทำให้เขาประสบความสำเร็จด้วยตนเอง โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
1. ถามคำถาม ไม่ใช่ทำการสอบสวน
หลายครั้งที่คำพูดของคุณอาจนำไปสู่การกดดันเด็ก ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัว วิธีพื้นฐานที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งของการให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองคือทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณกำลังสนับสนุนพวกเขาอยู่ ไม่ได้กดดันพวกเขา โดยคุณต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรือต้องการที่จะทำมัน แต่จะเป็นเรื่องยากสำหรับลูก ๆ ที่ไม่ค่อยพูด หรือขี้อายที่จะพูด แต่ถึงอย่างนั้นคุณสามารถเริ่มต้นทุกอย่างได้ด้วยตัวของคุณเอง ด้วยการถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาปรารถนา หรือเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เขาพูดในสิ่งที่พวกเขาคิด และต้องการ อาทิ “วันนี้เรียนอะไรบ้าง” “ชอบเรียนวิชานั้นไหม หรือชอบเรียนวิชาไหน” “ได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนบ้างวันนี้” เป็นต้น การถามคำถามจะทำให้คุณได้รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรืออยากทำคืออะไร ซึ่งคุณสามารถนำคำตอบของเขาไปวางแผนในอนาคตให้กับพวกเขาได้
บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกเชิงบวก วิธีพูดกับลูกเชิงบวก เลี้ยงลูก สอนลูกยังไงให้ลูกคิดบวก
2. ให้พวกเขาได้มีพื้นที่ส่วนตัว
ในบางครั้งสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวอาจเป็นเหมือนอุปสรรคที่คอยขัดขวางการประสบความสำเร็จของพวกเขา การที่เขาต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างเช่น มีเสียงดังรบกวนขณะทำการบ้าน หรือการถูกรบกวนขณะที่เขากำลังศึกษาค้นคว้าอะไรบางอย่าง สิ่งนั้นจะทำให้พวกเขาเกิดความกดดัน เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาทำอยู่อาจมีผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นที่น่าพึงพอใจมากนัก เขาเพียงต้องการพื้นที่ส่วนตัว เพื่อที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการยิ่งขึ้น
3. ปล่อยให้เขาอธิบาย โดยที่คุณต้องทำเป็นไม่รู้
การที่พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มา และต้องการที่จะเล่าเรื่องเหล่านั้นให้คุณฟังนั้นแสดงว่าเขาต้องการที่จะบอกคุณ และเขาสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อคุณได้ หากพวกคุณอยากรู้ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ทำให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ดีที่สุด และนอกจากนี้คุณต้องทำเป็นไม่เคยรู้เรื่องราว หรือเหตุการณ์นี้มาก่อน เพื่อให้เขาได้เล่า และอธิบายให้คุณฟัง อย่าพูดว่า “รู้แล้ว” ออกไปเด็ดขาด หรือในบางครั้งคุณอาจต้องลืมไปเลยว่าสิ่งนั้นคืออะไร และเพิ่งเคยได้ยินเรื่องนั้นจากลูกของคุณครั้งแรก
4. การเรียนรู้นอกห้องเรียนก็สำคัญ
การเรียนในโรงเรียนที่แสนเครียดกับความกดดันที่จะต้องทำคะแนนให้ได้ดีนั้นอาจส่งผลทำให้เด็ก ๆ เกิดความเครียด ในวันหยุดคุณควรหากิจกรรมนอกบ้าน หรือจูงมือลูก ๆ ออกไปเรียนรู้ข้างนอกบ้านบ้าง อาจเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือในยุคของการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่านี้ คุณก็สามารถพาพวกเขาเที่ยวได้ตามหน้าจอ หรือที่เรียนกว่าเที่ยวทิพย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขาไม่โฟกัสกับการเรียนในห้องเรียนมากเกินไป และยังกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเขาผ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวได้อีกด้วย
บทความที่น่าสนใจ : พาลูกเที่ยวทิพย์ พร้อมกิจกรรมช่วงอยู่บ้าน กักตัวอยู่บ้านยังไงไม่ให้เบื่อ
5. ไม่เปรียบเทียบ แต่ให้กำลังใจแทน
ถือว่าเป็นสิ่งสุดท้าย หรือสิ่งที่คุณควรลืมการกระทำแบบนี้ไปเลยได้ เพราะเด็กส่วนใหญ่มักได้รับการกดดันจากผู้ปกครองด้วยการเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกันในครอบครัว หรือคนนอกครอบครัวก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขารู้สึกกดดัน และเกิดความเครียดสะสม คุณควรที่จะเปรียบคำเปรียบเทียบเป็นคำให้กำลังใจแทน อาทิ “ไม่ต้องไปเครียดลูก ตอบแม่อายุเท่าหนูแม่ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน” หรือ “ไม่มีใครเก่งภายในวันเดียวหรอกลูก ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปเนอะ”
สำหรับผู้ปกครองคนไหนที่มีความกังวลเรื่องของลูกหลายของท่านที่มีผลการเรียนไม่ดี หรือว่าไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษาอย่าเพิ่งเครียดไปนะคะ เพราะการที่พวกเขาทำไมได้อาจเพราะเขาได้รับผลกระทบมาจากความกดดันของคุณอยู่ก็เป็นได้ ลองลดความกดดันพวกเขาลง ทำความเข้าใจเขาให้มากขึ้น บางทีลูกของคุณอาจจะเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง และประสบความสำเร็จอย่างที่คุณต้องการก็ได้นะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?
10 โรงเรียนหญิงล้วน ในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจปี 2021 จะมีโรงเรียนอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกัน
ที่มา : oxford-royale, verywellfamily