ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม ส่งผลอะไรต่อน้ำนมบ้าง ลูกกินนมได้หรือเปล่า

หน่อไม้เป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง และมีวิตามินด้วย ซึ่งน่าจะเป็นเมนูโปรดของคุณแม่หลายคน แต่แม่ให้นมจะกินหน่อไม้ได้ไหม ต้องมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้นมลูกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ คุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีเปี่ยมคุณประโยชน์จากน้ำนมแม่ และเติบโตอย่างแข็งแรง ซึ่งหนึ่งในคำถามด้านการดูแลตนเองโดยเฉพาะอาหารการกินที่คุณแม่หลายคนข้องใจคือ จะยังสามารถกินอาหารโปรดอย่าง “หน่อไม้” ได้หรือเปล่า กินแล้วจะเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจริงหรือเปล่า ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม จะส่งผลอะไรต่อน้ำนมบ้าง แล้วลูกยังกินนมได้ปกติไหม มาไขข้อข้องใจที่คำตอบอาจสร้างเซอร์ไพรส์ให้คุณแม่กันค่ะ

การเลือกกินอาหารสำคัญต่อแม่ให้นมอย่างไร

โดยปกติแล้วผู้หญิงจะต้องการพลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี/วัน ค่ะ แต่ในคุณแม่ให้นมนั้นความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 กิโลแคลอรี/วัน โดยในระยะให้นมคุณแม่จำเป็นต้องเลือกอาหารการกินที่เหมาะสมกับตัวเอง และกินให้มากพอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารก ให้ร่างกายคุณแม่มีพลังงานเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตน้ำนมแม่ (เฉลี่ย 750 มิลลิลิตรต่อวัน) รวมทั้งเสริมสร้างและซ่อมแซมสุขภาพของคุณแม่ให้สมบูรณ์

ตัวอย่างอาหารที่แม่ให้นมควรกินใน 1 วัน

อาหาร ปริมาณ
เนื้อสัตว์ 12-14 ช้อนโต๊ะ
นมสด ไม่น้อยกว่า 2 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร)
ข้าว/แป้ง 9-10 ทัพพี
ผัก (สด/สุก) 6 ทัพพี
ผลไม้ 6 ส่วน*
ไขมัน (น้ำมันพืช) 5 ช้อนชา

หมายเหตุ : * 1 ส่วนของผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล, เงาะ 3-4 ผล, มังคุด 3-4 ผล หรือ ฝรั่งกิมจูครึ่งผล

ความต้องการทางโภชนาการของแม่ให้นม

อย่างที่บอกไปแล้วว่าแม่ควรได้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 500 กิโลแคลอรี/วัน ซึ่งอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มขึ้นในระยะให้นมของคุณแม่ควรมาจากโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โปรตีน 

จำเป็นสำหรับการสร้างน้ำนมและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ที่คุณแม่สูญเสียไปในการคลอด เช่น เลือด การขาดโปรตีนมาก ๆ จะทำให้เกิดภาวะบวม โลหิตจาง ภูมิต้านทานโรคต่ำ โดยคุณแม่ควรรับโปรตีนร่วมกับการเสริมธาตุเหล็กผ่านการกินเครื่องในสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ผักใบเขียว ถั่ว และผลไม้ที่ให้วิตามินซีที่จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น

  • แคลเซียม 

มีส่วนสำคัญต่อการเสริมสร้างน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพสำหรับลูกน้อยนำไปสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งอาหารที่มีแคลเซียมได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย ยอดแค และผักใบเขียวต่าง ๆ

  • วิตามินเอ

เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างน้ำนมของคุณแม่เช่นกัน อาหารที่มีวิตามินเอมากคืออาหารที่มาจากสัตว์ อาทิ ไข่แดง ตับ ไต เนยเทียม นมสด น้ำมันตับปลา และจากพืช คือ สารเบต้าแคโรทีนในผักใบเขียวจัดและเหลืองจัดอย่าง ผักกาดเขียว แครอท ฟักทอง ผลไม้สีเหลือง แดง เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก

  • วิตามินซี

ร่างกายของคุณแม่ให้นมจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีเพิ่มเนื่องจากระดับวิตามินซีในนมแม่จะลดลงเมื่อให้นมลูกไปนานกว่า 7 เดือน ดังนั้น ในช่วงระหว่างให้นมนี้ควรเพิ่มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และผักอย่างกะหล่ำปลี มะเขือเทศ ผักใบเขียวเข้าไปในมื้ออาหารด้วยนะคะ

  • วิตามินบี

  • วิตามินบี 1  ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยที่รับนมแม่เป็นโรคเหน็บชา อาหารที่มีวิตามินบี 1 ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ หมู เนื้อแดง เนื้อวัว ตับ ธัญพืชทั้งหมด และถั่วเมล็ดแห้ง
  • วิตามินบี 2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนม อาหารที่มีวิตามินบี 2 มาก ได้แก่ นมและเนย เครื่องในสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ และยีสต์
  • วิตามินบี 12 ป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง วิตามินบี 12 ได้จากตับ ไต เนื้อ สัตว์ไม่มีไขมัน นมสด ไข่ และปลา
Tips การ “เลือกกิน” สำหรับคุณแม่ให้นม
  • เลือกกินเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา เพิ่มขึ้นประมาณ 2 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ หรือเทียบเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟองต่อมื้อ หรือดื่มนมประมาณ 3 แก้วต่อวัน และอาจกินปลาทะเล 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 และ DHA เพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทางสมองและระบบประสาทของลูกน้อย
  • กินผักและผลไม้หลากสี เพราะเป็นแหล่งของใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยควรกินให้ได้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน
  • กินน้ำให้พอ เพราะคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจะมีความรู้สึกว่าหิวน้ำบ่อยมากกว่าปกติ จึงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 13-16 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำ 1 แก้วใหญ่ทุกครั้งหลังให้นมลูกน้อยเสร็จในแต่ละครั้ง
  • เลือกกินข้าว-แป้งที่ขัดสีน้อยหรือไม่ขัดส เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต และธัญพืช เนื่องจากมีใยอาหารสูง ลดภาวะท้องผูกหลังคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม หน่อไม้มีประโยชน์หรือโทษอย่างไร

แม่ให้นมหลายคนหรือแทบทุกคนมักเป็นกังวล ว่าอาหารอย่าง “หน่อไม้” นั้น เป็นของต้องห้ามในช่วงให้นมลูกหรือเปล่า อาจจะด้วยกระแสในโซเชียล หรือคำบอกเล่าปากต่อปาก ซึ่งต้องขออธิบายก่อนว่า “หน่อไม้” นั้นจัดเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ลดปัญหาท้องผูกอันเป็นปัญหาที่คุณแม่ให้นมลูกมักพบเจอค่ะ ทั้งยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อย่างเช่น วิตามินซี และโพแทสเซียมด้วย อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงเช่นกันที่การกินหน่อไม้จะก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารของคุณแม่ และอาจส่งผลต่อรสชาติของน้ำนมที่ลูกน้อยกินเข้าไปได้ด้วยค่ะ

ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม ส่งผลอะไรต่อน้ำนมบ้าง

ถึงเวลาของการไขข้อข้องใจแล้วค่ะว่า ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม ส่งผลต่อน้ำนมหรือเปล่า คำตอบคือ “ได้ค่ะ” โดยคุณแม่สามารถกินหน่อไม้ รวมถึงผักอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้อย่างเช่น บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารเหล่านี้ค่ะ แต่! คุณแม่ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ และหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและลูกน้อยไปด้วย หากพบว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติหลังจากที่คุณแม่กินหน่อไม้ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย หรือไม่ยอมกินนม ควรหยุดกินหน่อไม้ชั่วคราว และปรึกษาแพทย์นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ให้นมลูกที่กินหน่อไม้

ไม่เพียงแก๊สในกระเพาะอาหารที่อาจเกิดขึ้นหลังจาก แม่ให้นมลูกกินหน่อไม้ จนทำให้คุณแม่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว การกินหน่อไม้ยังอาจทำให้น้ำนมมีกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไปเล็กน้อยด้วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่ะว่าลูกน้อยจะไม่ยอมกินนมจากสาเหตุนี้ ดังนั้น ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ให้นมลูกที่ต้องการกินหน่อไม้ คือ

  • เลือกหน่อไม้สด หน่อไม้สดจะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าหน่อไม้ดอง
  • ปรุงสุก ควรปรุงหน่อไม้ให้สุกก่อนกิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค
  • รสไม่จัด ควรปรุงเมนูหน่อไม้ด้วยรสอ่อน ๆ หลีกเลี่ยงการปรุงรสจัด เช่น เผ็ด เค็ม หรือเปรี้ยวจัด

 

อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่จะเลือกกินอาหารอะไรนั้นอย่าลืมว่าในช่วงของการให้นม น้ำนมแม่ คืออาหารเพียงอย่างเดียวที่ลูกกินได้ และมีประโยชน์ที่สุด ดังนั้น ควรเลือกกินอย่างพิถีพิถัน ซึ่งนอกจากหน่อไม้แล้วคุณแม่ยังสามารถรับใยอาหารจากผักและผลไม้อื่น ๆ ได้เช่นกัน อย่าลืมว่าคุณแม่ให้นมลูกควรใส่ใจเรื่องโภชนาการโดยรวม กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ควบคู่กับการออกกำลังกายพอประมาณ กินยาบำรุงตามแพทย์สั่ง และหากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นในช่วงให้นมลูกควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

 

ที่มา : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ , www.si.mahidol.ac.th , www.bumrungrad.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นมั้ย? ให้นมลูกหิวบ่อย เปิดเหตุผลที่คุณแม่หลังคลอดหิวง่าย กินบ่อย

ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม มีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า

5 เครื่องดื่มคุณแม่หลังคลอด ฟื้นฟูร่างกาย บำรุงน้ำนมเพื่อลูกน้อย

บทความโดย

จันทนา ชัยมี