เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

lead image

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาสะสมของสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้เริ่มมีข่าวดี เมื่อ ครม. เคาะให้แก้ ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนับเป็นภัยเงียบที่กัดกร่อนสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หลายครั้งที่เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ถูกมองว่าเป็น “เรื่องส่วนตัว” หรือ “ปัญหาภายในครอบครัว” ที่ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่ความจริงแล้ว ความรุนแรงในครอบครัวส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเหยื่อ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงส่งผลเสียต่อสังคมในวงกว้าง ซึ่งในขณะนี้นับเป็นแนวโน้มที่ดีเมื่อมีข่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว มีมติอนุมัติให้แก้ไขแล้ว โดยระบุให้มีการเพิ่มโทษปรับจากเดิมถึง 10 เท่า!

 

ทำความเข้าใจ ร่างพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว

เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 อนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยเป็น การแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเดิม ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงให้มากขึ้น

สาระสำคัญใน ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ มีการปรับนิยามของคำว่า ความรุนแรงในครอบครัว” ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยนอกจากการทำร้ายร่างกาย จิตใจ และสุขภาพแล้ว ยังรวมถึง

  • การล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศ
  • การกระทำที่มุ่งให้เกิดอันตรายต่อชื่อเสียง
  • การบังคับให้กระทำหรือไม่กระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมด้วย

 

นิยาม “ความรุนแรงในครอบครัว”

พ.ร.บ. เดิม (2550) ร่าง พ.ร.บ. ฉบับแก้ไข
การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือ สุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนา

ในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว

หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ

หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท

การกระทำใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวกระทำต่อกัน อันเป็นการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ

การล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศ และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ ชื่อเสียง

หรือการกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ ของบุคคลในครอบครัว

หรือการกระทำที่กระทบต่อเสรีภาพ โดยการบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นอกจากนี้ ยังมีการขยายนิยาม บุคคลในครอบครัว” ให้ครอบคลุมถึง

  • คู่รัก ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ
  • บุคคลที่มีความผูกพันลึกซึ้งทางจิตใจต่อกัน
  • ญาติทางสายโลหิตหรือการสมรส

ซึ่งในพระราชบัญญัติเดิมกำหนดให้ “บุคคลในครอบครัว” หมายถึง คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า

ในส่วนของบทลงโทษนั้น ร่าง พ.ร.บ. ฉบับแก้ไขนี้ ได้มีการเพิ่มอัตราโทษปรับในความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวขึ้นถึง 10 เท่า คือ

  • จากเดิม ปรับไม่เกิน 6,000 บาท
  • แก้ไขเป็น ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
  • หากมีการกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลา 3 ปี หรือกระทำต่อเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีการแก้ไขสาระสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ดังนี้

  • แก้ไขหลักเกณฑ์และระยะเวลาการร้องทุกข์ จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือน
  • เพิ่มมาตรการเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ที่จะถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ
  • แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบคลุม และสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการจัดให้ผู้ถูกกระทำอยู่ในสถานที่ปลอดภัยหากมีความเสี่ยงที่จะถูกกระทำด้วยความรุนแรงซ้ำ
  • แก้ไขเพิ่มเติมโทษผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองอีก 2 ฉบับ

 

มารอดูไปพร้อมกันค่ะว่า ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไขนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อไร

 

ที่มา : ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง , law.go.th , www.thansettakij.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

ราชกิจจาฯ ประกาศเกณฑ์ใหม่ อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน

5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

บทความโดย

จันทนา ชัยมี