พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ วัยที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยของการหัดเดิน และเริ่มมีการช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเด็กในช่วงอายุประมาณ 12 เดือน หรือ 1 ขวบนั้นพวกเขามีพัฒนาการทางด้านใดบ้าง และน้ำหนัก ส่วนสูง ควรอยู่ที่เท่าไหร่จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไปดูกันเลย
น้ำหนักเด็ก 1 ขวบ ควรหนักเท่าไหร่?
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีความสงสัยว่าลูกของคุณที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตนี้ โตตามเกณฑ์หรือมีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า น้ำหนักเด็ก 1 ขวบ แบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ โดยเราได้รวบรวมน้ำหนักของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
น้ำหนักเฉลี่ยของทารกในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 1 ขวบ |
||
อายุ | เด็กผู้ชาย | เด็กผู้หญิง |
1 เดือน | 4.5 กิโลกรัม | 4.2 กิโลกรัม |
2 เดือน | 5.6 กิโลกรัม | 5.1 กิโลกรัม |
3 เดือน | 6.4 กิโลกรัม | 5.8 กิโลกรัม |
4 เดือน | 7 กิโลกรัม | 6.4 กิโลกรัม |
5 เดือน | 7.5 กิโลกรัม | 6.9 กิโลกรัม |
6 เดือน | 7.9 กิโลกรัม | 7.3 กิโลกรัม |
7 เดือน | 8.3 กิโลกรัม | 7.6 กิโลกรัม |
8 เดือน | 8.6 กิโลกรัม | 7.9 กิโลกรัม |
9 เดือน | 8.9 กิโลกรัม | 8.2 กิโลกรัม |
10 เดือน | 9.2 กิโลกรัม | 8.5 กิโลกรัม |
11 เดือน | 9.4 กิโลกรัม | 8.7 กิโลกรัม |
12 เดือน | 9.6 กิโลกรัม | 8.9 กิโลกรัม |
ทั้งนี้สำหรับทารกที่รับประทานนมแม่จะมีน้ำหนักลงบ้างในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะค่อย ๆ ขึ้นตามเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักที่ลดลง หรือน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์นั้นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพ หรือทารกอาจได้รับน้ำนมที่ไม่เพียงพอ ส่วนทารกที่ดื่มนมแบบผสมนั้นคุณแม่จะต้องควบคุมปริมาณนมให้เป็นอย่างดี เพราะไม่ฉะนั้นทารกอาจได้รับนมในปริมาณมากจนเกินไป และส่งผลทำให้เกิดน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนได้
ส่วนสูงเด็ก 1 ขวบ ควรมีความสูงอยู่ที่เท่าไหร่?
โดยทั่วไปในช่วง 6 เดือนแรก ส่วนสูงของทารกจะสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1 นิ้วต่อเดือน และในช่วง 6 เดือนถึงอายุ 1 ปี การเจริญเติบโตของทารกจะช้าลงเล็กน้อย โดยจะมีความสูงเพิ่มเติมเฉลี่ย ½ นิ้วต่อเดือน ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนสูงของทารกจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ส่วนสูงเฉลี่ยของทารกในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 1 ขวบ |
||
อายุ | เด็กผู้ชาย | เด็กผู้หญิง |
1 เดือน | 54.7 เซนติเมตร |
53.7 เซนติเมตร
|
2 เดือน | 58.4 เซนติเมตร |
57.1 เซนติเมตร
|
3 เดือน | 61.4 เซนติเมตร |
59.8 เซนติเมตร
|
4 เดือน | 63.9 เซนติเมตร |
62.1 เซนติเมตร
|
5 เดือน | 65.9 เซนติเมตร | 64 เซนติเมตร |
6 เดือน | 67.6 เซนติเมตร |
65.7 เซนติเมตร
|
7 เดือน | 69.2 เซนติเมตร |
67.3 เซนติเมตร
|
8 เดือน | 70.6 เซนติเมตร |
68.7 เซนติเมตร
|
9 เดือน | 72 เซนติเมตร |
70.1 เซนติเมตร
|
10 เดือน | 73.3 เซนติเมตร |
71.5 เซนติเมตร
|
11 เดือน | 74.5 เซนติเมตร |
72.8 เซนติเมตร
|
12 เดือน | 75.7 เซนติเมตร | 74 เซนติเมตร |
ทั้งนี้ความสูงของเด็กแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลทำให้เด็กแต่ละคนมีส่วนสูงหรือความยาวของตัวแตกต่างกันออกไป มีดังต่อไปนี้
- พันธุศาสตร์ : ความสูงของคุณพ่อและคุณของเด็ก และสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ มีผลกระทบต่อความสูงของเด็ก ๆ
- เพศ : เด็กผู้ชายมักจะสูงกว่าเด็กผู้หญิง
- โภชนาการ : การได้รับประทานอาหารที่ดีในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ และทารกหลังคลอดได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน อาทิ วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนที่เหมาะสมนั้นจะส่งผลทำให้กระดูกของทารกมีพัฒนาการที่ดี และแข็งแรง และมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม
- รูปแบบของการนอน : ทารกที่มีการนอนหลับที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการงีบระหว่างวัน หรือการนอนในช่วงเวลากลางคืนนั้นส่งผลทำให้การพัฒนาของกระดูกเป็นไปได้ดี
- การออกกำลังกาย : การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายช่วยสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงให้แก่ลูกน้อยของคุณได้
- สุขภาพโดยรวม : การเจ็บป่วย และโรคเรื้อรังในวัยเด็กอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก ๆ ได้
บทความที่น่าสนใจ : อาหารเพิ่มความสูง สำหรับเด็ก ๆ ให้มีความสูงตามเกณฑ์
พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง?
เมื่อลูกของคุณอายุครบ 1 ขวบ เท่ากับว่าพวกเขาได้เข้าสู่วัยหัดเดินแล้ว หากลูกของคุณยังไม่เริ่มเดินไม่ต้องตกใจ เพราะพวกเขาจะเริ่มเดินในอีกไม่ช้า เด็กในวัยหัดเดินนี้จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งพวกเขาจะเริ่มเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ไปตามลำดับและขั้นตอน แต่ถึงอย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังต้องมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ อย่างน้อย 12-13 ชั่วโมงต่อวัน โดยพัฒนาการของเด็ก 1 ขวบที่พวกเขาควรจะทำได้มีดังต่อไปนี้
-
พัฒนาการทางกายภาพ
ลูกวัยหัดเดินของคุณอาจลุกขึ้นยืนได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากคุณ หรือพิงสิ่งของเพื่อยันให้ตัวเองสามารถยืนขึ้นได้ ซึ่งปกติแล้วพวกเขาจะเริ่มทำให้เมื่ออายุ 12-15 เดือน แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณยังไม่สามารถทำได้ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะทารกบางคนก็เริ่มทำให้เมื่อพวกเขาอายุ 15-18 เดือน แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อพวกเขาสามารถลุกขึ้นยืนเองได้แล้วให้ระวังเรื่องของการปีนป่ายบันได หรือเฟอร์นิเจอร์ เพราะอาจทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้
-
พัฒนาการด้านทักษะ
เด็กที่อยู่ในช่วง 12-15 เดือนพวกเขาจะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการเขย่าและทุบสิ่งของต่าง ๆ และจะเริ่มประกอบของ หรือต่อสิ่งของให้สูงขึ้นเป็นชั้น ๆ ได้ จากนั้นพวกเขาก็จะทุบ หรือทำลาย และในช่วงวัย 15-18 เดือน พวกเขาจะเริ่มควบคุมความเคลื่อนไหวของมือและแขนได้มากขึ้น คุณอาจลองให้พวกเขาฝึกทักษะต่าง ๆ อาทิ การใช้ดินสอ ช้อน หรือการดื่มน้ำจากแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้พวกเขาจะเริ่มหยิบจับวัตถุเล็ก ๆ ได้มากขึ้น แต่คุณจะต้องมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่จับวัตถุเหล่านั้นเข้าปากและกลืนลงไป
-
พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กในวัยหัดเดินจะเริ่มเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และพวกเขาจะรู้สึกตาม อาทิ เมื่อลูกน้อยของคุณเห็นคุณเศร้า พวกเขาก็จะเศร้าตาม เป็นต้น นอกจากนี้พวกเขาจะรู้สึกเขินอาย หรือทำตัวไม่ถูกเมื่อเจอสิ่งที่ตนเองชอบ หรือสิ่งที่พวกเขาสนใจ รวมถึงพวกเขาจะแสดงออกทางความรักต่อผู้ปกครองหรือคนดูแลมากยิ่งขึ้น ด้วยความผูกพัน และพวกเขาจะรู้สึกวิตกกังวลทุกครั้งที่ต้องแยกจากกัน ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่ลูก ๆ จะติดแม่มาก ๆ
-
พัฒนาการทางความคิด และการสื่อสาร
การเข้าสู่ช่วงอายุ 1 ขวบ คุณจะเริ่มได้ยินคำพูดที่เป็นคำพูดจริง ๆ จากปากลูกของคุณ และพวกเขาจะเริ่มตอบรับด้วยการพยักหน้า หรือชี้นิ้วมากยิ่งขึ้น ซึ่งคำเริ่มต้นจะเริ่มตั้งแต่ 2 คำไปจนถึง 6 คำหรือมากกว่าภายในอายุ 18 เดือน เขาจะสามารถจำชื่อของตนเองได้ รวมถึงพวกเขาจะเริ่มฟังคำสั่งและปฏิบัติตามคำของคุณที่เป็นคำสั่งง่าย ๆ อาทิ ยืน นั่ง เป็นต้น และอาจเริ่มจำตัวเองได้เมื่อพวกเขาเริ่มมองกระจก
บทความที่น่าสนใจ : รีวิวของเล่น ของเล่นเด็ก 1-2 ขวบ ส่งเสริมพัฒนาการ มีแบบไหนบ้าง?
การมีส่วนร่วมในพัฒนาการ ทำได้อย่างไรบ้าง?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเด็กในช่วงอายุ 12-18 เดือน หรืออายุ 1 ขวบนั้นจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพร่างกาย หรือทักษะที่พวกเขาสามารถทำได้ในช่วงวัยของพวกเขา โดยคุณสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุทักษะต่าง ๆ ในช่วงวัยนี้ได้ ดังต่อไปนี้
- แสดงความอบอุ่นและความรักต่อพวกเขาบ่อย ๆ อาทิ การกอด การหอมแก้ม หรือการทำให้เขารู้สึกว่าคุณสามารถเป็นที่พึ่งของพวกเขาได้ เป็นต้น
- เล่นกับพวกเขาโดยใช้สิ่งของต่าง ๆ หรือของเล่น เช่น บล็อกตัวต่อ ภาชนะพลาสติก หรือการเล่นซ่อนแอบ เป็นต้น
- เล่นกับพวกเขาด้วยบทบาทสมมุติ อาทิ การเล่นขายของ การแกล้งดื่มน้ำชา หรือการเล่นกับตุ๊กตา
- พูดคุยกับพวกเขา การพูดคุยถึงสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือการพูดถึงบุคคลที่พวกเขาเขาคุ้นเคยก็อาจเป็นการกระตุ้นทำให้พวกเขาเกิดความอยากเรียนรู้ได้
- อ่านนิทาน หรือร้องเพลงกล่อมเด็กให้พวกเขาฟัง
- กระตุ้นให้พวกเขาเดิน เด็กในช่วงของวัยหัดเดินการเดินนั้นเป็นหนึ่งทักษะที่พวกเขาควรที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย คุณอาจเริ่มจากจูงมือพวกเขาเดินไปพร้อมกัน ก่อนที่จะเริ่มปล่อยให้เขาเริ่มเดินเอง
- ส่งเสริมให้พวกเขาเล่นกับเด็กคนอื่น สอนให้พวกเขารู้จักการแบ่งปัน และได้เข้าสังคมและใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม : พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบถึง 2 ขวบครึ่ง และเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
บทความที่น่าสนใจ :
อาหารเพื่อสุขภาพของเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง? อะไรที่เหมาะสม?
ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร
แบบฝึกหัดนับเลข : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
ที่มา : Verywellfamily, nhs., Medicalnewstoday, Webmd, pregnancybirthbaby