พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 24
พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 24
สัปดาห์ที่ 24 นี้ลูกของคุณมีความยาว 29-31 เซนติเมตร แม้ว่าจะมีขนตา ขนคิ้ว และ ผมบาง ๆ ก็ตาม สีผิวของขน และ ผมยังเป็นสีขาวอยู่เนื่องจากร่างกายยังไม่ผลิตเมล็ดสีนั่นเอง
ตอนนี้แก้มลูกเริ่มมีไขมันเติมเต็มขึ้นมาบ้างแล้วหรือเรียกง่าย ๆ ว่าแก้มลูกเริ่มยุ้ยขึ้น และ ช่วยทำให้รู้อบอุ่นด้วย กระดูกของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้น สิ่งนี่เองที่อธิบายว่าทำไมน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 24 ในช่วงตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ จะรู้สึกว่ามีอาการตาแห้งและระคายเคืองง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะคุณแม่ที่สวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ อาการจะยิ่งแย่ลง แนะนำ ให้หยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ ช่วยลดอาการระคายเคือง อย่าลืมสวมแว่นกันแดดเวลาออกไปกลางแดดจ้า สวมแว่นตากันแดดที่มีค่า EPF (Eye Protection Factor) หรือ ค่าปกป้องดวงตาอยู่ที่ระดับ 9-10 จะป้องกันรังสี UV ในแสงแดดได้
• อาการ หน้าท้องลายเริ่มปรากฏบน ผิวหนังบริเวณที่หน้าท้อง ต้นขา หน้าอก หรือสะโพก เกิดจากเส้นใยคอลลาเจนในผิวหนังชั้นกลาง หรือหนังแท้ยืด และ ฉีกขาดเพราะร่างกาย คุณแม่ ขยายใหญ่ขึ้นทุกสัดส่วนตามอายุครรภ์ น่าเสียดายที่ไม่มีครีมชนิดใดซึมผ่านผิวหนังชั้นนอกไปถึงผิวหนังแท้ได้ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้าครีมของ แบรนด์ไหนก็ไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์มายืนยัน คุณแม่ ทำได้เพียงทาครีมบำรุงผิวสูตรวิตามินช่วยให้ผิวยืดหยุ่น และ ชุ่มชื้น เวลาดีที่สุดคือหลังอาบน้ำ ช่วงเวลานั้นผิวหนังมีความอบอุ่น ชุ่มชื้น และ รูขุมขนเปิดกว้าง ทำให้ครีมดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
• ในช่วงตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ อาจสังเกตเห็นสิวเสี้ยนเล็ก ๆ เช่น ตุ่มบริเวณของฐานหัวนม เรียกว่า Montegomery’s Tubercles เป็นต่อมผลิตไขมันช่วยบำรุงหัวนมของ คุณแม่ ให้อ่อนนุ่มชุ่มชื้นเวลาที่ลูกดูดนม ระหว่างอาบน้ำ คุณแม่ เลือกสบู่อ่อน ๆ และ ไม่ควรใช้ครีมทาสิวที่ฐานหัวนมเลยนะคะ
• ช่วงตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ จะรู้สึกว่าตัวเองมีน้ำลายมากจึงต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ บางท่านอาจจะรู้สึกรำคาญแต่เป็นเรื่องปกตินะคะ แนะนำ ให้ลองเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือ อมลูกกวาด อาจใช้ทิชชู่ซับน้ำลายไปด้วยจะช่วยให้รู้สึกดีมากขึ้น
• หากมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ ขอให้ คุณแม่ มองหาสาเหตุที่ กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น รับประทาน ช็อกโกแลต เครื่องดื่มมีคาเฟอีน อยู่กลางแดดจ้า ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือ เว้นช่วงระหว่างมื้ออาหารนานเกินไปส่งผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทั้งหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ เกิดอาการปวดหัวขึ้นมาได้ ควรพักผ่อน และ นอนมาก ๆ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำยาที่ปลอดภัยกับผู้ตั้งครรภ์นะคะ
สิ่งที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้
ร่างกายของคุณต้องทำงานหนักขึ้นจากการลำเลียงอาหารไปเลี้ยงร่างกายของ คุณแม่ และ ลูก ในสัปดาห์นี้กระบวนการย่อย และ การลำเลียงอาหารจะทำงานช้าลงเลยทำให้ คุณแม่ มีโอกาสท้องผูกสูง ดังนั้นวิธีการรับมือกับอาการท้องผูกคือ การดื่มน้ำมาก ๆ ทานผักผลไม้ และรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อย่างถั่ว และ ธัญพืช
ที่มา : huggies.co.th
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่ คุณแม่ เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้ คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของ คุณแม่ ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของ คุณแม่ หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้ คุณแม่ และ เด็ก ที่เต็มเปี่ยม และ ตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 25