วิธีพัฒนาสมองลูกให้ฉลาด พ่อแม่สร้างได้เพียงแค่ 15 นาที
พัฒนาการทารก โดยเฉพาะเด็กขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต และยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองมากที่สุด แต่เด็กน้อยหลายคนได้พลาดกิจกรรมในการเสริมสร้างทักษะการอ่านและการพูด
ดร. จอห์น ฮัตตั้น นักกุมารแพทย์และนักวิจัยด้านคลินิกของโรงพยาบาลเด็กซินซินนาติ กล่าวว่า “ผลการวิจัยที่น่าแปลกใจก็คือเด็กโตที่อายุ 6 ถึง 8 ขวบ ประมาณสองในสามของครอบครัวที่พ่อแม่ไม่ให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือเป็นประจำ มันเหมือนกับว่าพ่อแม่ไม่ได้ฝึกให้ลูกได้อ่านออกเสียงในช่วงอายุดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเอาซะเลย
อ่านหนังสือแค่วันละ 15 นาทีก็พอแล้ว
คุณหมอได้บอกว่า การอ่านประมาณ 15 นาที นั่นสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเป็นต้นไป โดยพ่อแม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อน จากงานวิจัยจาก American Academy of Pediatrics พบว่า การให้เด็กอ่านหนังสือในวัยเด็กช่วยเพิ่มคำศัพท์ เพิ่มทักษะการอ่านก่อนที่จะเข้าโรงเรียน และการเสริมสร้างลักษะนิสัยด้วย
พ่อแม่ต้องเน้นเกี่ยวกับการสร้างกิจวัตรประจำวันที่มีเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันของลูกน้อย เพราะจะทำให้เด็กได้รู้สึกว่าตนได้รับความรัก ความเอาใจใส่ และได้คุ้นเคยกับเสียงของแม่อีกด้วย ทั้งยังสามารถที่จะเริ่มสร้างทักษะทางภาษาในช่วงต้นและความรู้สึกที่สอดคล้องกันได้ด้วย
เมื่อเด็กๆ โตขึ้น การอ่านนออกเสียงเป็นมากกว่ากระบวนการกลับไปกลับมาเพราะเด็กจะเข้ามามีส่วนร่วม มีการชี้ไปที่ภาพ และการอ่านทวนคำซ้ำๆ ดังนั้น พ่อแม่ต้องใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยเรื่องราวที่มีมากกว่าแค่ในหนังสือตรงหน้า โดยพยายามตั้งคำถามเยอะๆ หน่อย เพื่อให้ลูกน้อยได้นึกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นและสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
คุณหมอบอกว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะอ้างว่าตนเองไม่ว่าง ไม่สามารถอ่านหรือพูดคุยกับลูกได้นานๆ แต่แท้จริงแล้ว ใช้เวลาเพียง 15 นาทีก็พอที่จะทำให้เด็กๆ ได้ประโยชน์จากการอ่านพร้อมกับพ่อแม่แล้ว แต่คุณสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้เสมอ หากวันไหนมีเวลากับลูกหน่อยก็สามารถอ่านหนังสือด้วยกันได้นาน อาจจะประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนวันไหนที่ไม่มีเวลาก็ทำแค่ 15 นาทีพอ ที่สำคัญต้องอย่าลืมว่าต้องอ่านด้วยกันทุกวันถึงจะดีที่สุด
เทคนิคอ่านหนังสือกับลูก
อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่า คุณแม่สามารถเริ่มอ่านให้ลูกน้อยฟังได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด อาจแบ่งเวลาอ่านเป็น 3 ช่วง เช่น หลังกินข้าว ก่อนนอนตอนกลางวัน หรือ ก่อนเข้านอนกลางคืน แต่ถ้าวันไหนที่ลูกอารมณ์ไม่ดี ไม่อยากจะฟัง คุณแม่ก็อย่าไปบังคับลูกเพราะจะทำให้ลูกมีทัศนคติที่ไม่ดีกับการฟังนิทานอีกต่อไป ทั้งยังไม่ควรดุหรือว่าลูก หรือห้ามลูกไม่ให้เดินไปเดินมาระหว่างที่กำลังเล่านิทาน ถ้าหากมีตอนที่ตื่นเต้น ลูกจะสนใจและจะเข้ามาฟังใกล้ๆ เอง
สำหรับหนังสือที่ใช้ แนะนำให้เลือกรูปภาพใหญ่ๆ ที่มีสีสันสดใส เนื้อหาเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความจดจำได้ง่ายและติดหู หากมีเพลงได้ก็จะดีเพราะเด็กๆ มักจะชื่นชอบเสียงเพลง หรือแม้แต่หนังสือที่มีการสัมผัส
ถ้าลูกมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป วัยนี้เด็กจะเริ่มแสดงความต้องการเป็นของตัวเอง ทำให้บางครั้งก็อยากที่จะถือและอยากจะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเอง ถ้าลูกมีพฤติกรรมแบบนี้คุณแม่ก็อย่าลืมเตรียมหนังสือให้ลูกไว้อีกเล่ม เด็ก ๆจะได้มีไว้ถือเล่น เปิดเล่นได้ตามที่ต้องการ
เวลาพ่อแม่อ่านหนังสือต้องแสดงออกทั้งท่าทาง สีหน้า และน้ำเสียงตามอารมณ์ของเรื่อง โดยใช้เสียงโทนสูงต่ำ และพยายามเปลี่ยนเสียงไปตามตัวละคร แต่ไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือตามทุกตัวอักษร อาจมีการดัดเปลี่ยนไปบ้างตามความรู้สึกในขณะนั้น แลละทำเสียงเป็นสัตว์ต่างๆ เพื่อให้ลูกน้อยเกิดความสนใจ แล้วคุณก็สามารถที่จะถามคำถามกับลูกได้
เด็กจะเกิดการเลียนแบบและเรียนรู้จากการกระทำของพ่อแม่ซ้ำๆ เมื่อลูกน้อยโตขึ้นก็จะสามารถติดนิสัยการอ่านหนังสือไปได้เอง
ที่มา: wtop.com . เพจสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
พี่อิจฉาน้อง หวงแม่และกลัวถูกแย่งความรัก อาการเหล่านี้จัดการอย่างไร
ลูกชอบตีหัวตัวเอง เอาหัวโขกพื้น จะเป็นอันตรายไหม?
ลูกจามบ่อย เป็นอะไรไหม สังเกตอย่างไรว่าจามเพราะฝุ่นหรือลูกไม่สบาย