X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อย่าคิดว่าเด็กผู้หญิงวัย 7 ขวบจะไม่มีพิษภัย

บทความ 5 นาที
อย่าคิดว่าเด็กผู้หญิงวัย 7 ขวบจะไม่มีพิษภัย

เด็กผู้หญิง 7 ขวบแต่สายดำเชียวนะคะ ใครอย่าคิดตอแยเลยล่ะ

เด็กผู้หญิง อย่าคิดว่าเด็กผู้หญิงวัย 7 ขวบจะไม่มีพิษภัย

เด็กผู้หญิง อย่าคิดว่าเด็กผู้หญิงวัย 7 ขวบจะไม่มีพิษภัย

 

ลูกสาวในฝันของคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็อยากให้ลูกเป็นกุลสตรี เรียบร้อย อ่อนโยน แต่เมื่อปัจจุบันภัยต่างๆรายล้อมอยู่รอบตัว คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องติดหนาม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และเติมพิษสงรอบด้านให้ลูกสาวเพื่อรู้เท่าทัน และใช้สติรับมือแก้ไขสถานการณ์ต่างให้เป็น เรามีวิธีเลี้ยงลูกสาวให้ปลอดภัยจากสังคมมาฝากกันค่ะ

สอนให้ลูกรักตัวเอง

ควรเริ่มปลูกฝังเรื่องการรักตัวเองกับลูกตั้งแต่ยังเล็ก การสัมผัสโอบกอดลูกเป็นการแสดงความรักความใส่ใจที่มีต่อลูกได้มากที่สุด เพราะเด็กย่อมต้องการและโหยหาความรัก เมื่อลูกร้องไห้พ่อแม่ควรเข้าไปอุ้ม เข้าไปปลอบเพราะการอุ้มเปรียบเหมือนสัมผัสแห่งรักจากพ่อแม่ หากไม่ได้ถูกอุ้มเด็กจะเข้าใจว่าตัวเองไม่มีค่า ความต้องการของเด็กไม่ถูกเติมเต็ม ถ้าความรักความต้องการของเด็กไม่ถูกเติมเต็มจากในครอบครัวเมื่อโตขึ้น เด็กจะออกไปหาความรัก การยอมรับจากเพื่อนนอกบ้าน แต่หากเด็กได้รับการเติมเต็มความรักจากพ่อแม่จะทำให้เด็กเห็นคุณค่า รู้จักแบ่งปันความรักไปสู่ผู้อื่น และรักตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็น ไม่ใช่เพื่อต้องให้เพื่อนยอมรับจนยอมทำในสิ่งที่ผิด

พูดคุยด้วยหตุผล สอนให้ดูตัวอย่างที่ควรและไม่ควรทำตาม

ปัจจุบันนี้มีข่าวต่างๆเรื่องของการถูกหลอก ถูกโกง ถูกทำร้ายมากมาย หลังจากดูข่าวแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรชวนลูกพูดคุย ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นกับเรื่องราวที่เขาได้รับรู้ ได้รู้จักกับการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏในข่าว เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงสภาพความเสื่อของสังคมในปัจจุบัน ชี้ให้ดูเป็นตัวอย่างและคอยให้คำแนะนำ หนทางการแก้ปัญหา และมีสติใช้ไหวพริบเอาตัวรอดจากสถานดการณ์คับขันต่างๆให้เร็วที่สุด

ให้ลูกฝึกทักษะการป้องกันตัว

การฝึกทักษะการป้องกันตัวไม่ว่าจะเป็น มวยไทย ยูโด เทควันโด หรืออาคิโด ตั้งแต่เด็ก นอกจากจะช่วยให้ลูกสาวได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ร่างกายเด็กได้จดจำการเคลื่อนไหวและมีปฏิกริยาตอบโต้ต่อภัยอันตรายที่มาถึงตัวได้ดี แต่ควรสอนลูกด้วยว่าการใช้ความรุนแรงไม่อาจแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เพราะอย่างไรสภาพร่างกายผู้หญิงก็เสียเปรียบผู้ชายอยู่ดี ทางที่ดีควรรีบหาโอกาสหนีออกมาจากสภานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุดแล้วมาขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือไปแจ้งครู อาจารย์ พ่อแม่หรือตำรวจจะดีที่สุด

เป็นที่ปรึกษาให้ลูก

สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ควรคอยถามไถ่ถึงปัญหาที่โรงเรียน เรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน หรือการใช้ชีวิตของลูก เมื่อรู้สึกว่าลูกมีความกังวลใจอะไรอยู่ก็ควรชวนลูกพูดคุยและสอบถาม เพื่อให้ลูกได้ปรึกษาและระบายเรื่องที่เขาไม่สบายใจ อย่าใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสิน ควรใช้เหตุผลในการพูดคุย เมื่อลูกทำผิดก็ต้องลงโทษ แต่ต้องอธิบายให้ลูดเข้าใจด้วยว่าเข้าทำอะไรผิด เพราะอะไรจึงถูกลงโทษ

สอนให้ลูกรู้จักการให้อภัยตนเอง

นอกจากรู้จักรักตัวเองเองแล้ว ลูกควรรู้จักให้อภัยตัวเองด้วย เพราะไม่ว่าจะระมัดระวังขนาดไหน คนเราก็สามารถใช้ชีวิตผิดพลาดได้ทุกช่วงวัย สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ลูกเรามีสติ มองเห็นปัญหาและข้อผิดพลาดที่ตัวเองทำ และพร้อมยอมรับในความผิดพลาด ผลลัพธ์ที่จะตามมา อยู่กับความผิดพลาดเหล่านั้นและเรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเองเพื่อก้าวไปข้างหน้าและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข รักในสิ่งที่ตัวเองเป็นและภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมี

การเลี้ยงลูกสาวให้รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาในสังคมปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งความเจ็บปวด ความล้มเหลวในชีวิตอาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกเราเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งและยืนอยู่บนสังคมนี้ได้อย่างสง่าผ่าเผย อาจมีรอยข่วนบ้าง บางรอยเล็กนิดเดียว บางรอยฝากแผลเป็นใหญ่ไว้ในชีวิต แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มอบความรักและความเข้าใจ คอยอยู่เป็นกำลังใจให้ในวันที่ลูกสาวหกล้ม และคอยชื่นชมในวันที่เขาลุกขึ้นกลับมายื่นได้แค่นี้ ลูกสาวตัวน้อยของคุณก็พร้อมเผชิญมรสุมชีวิตลูกแล้วลูกเล่า หรือภัยอันตรายต่างๆอย่างไม่หวั่นเกรงแล้วค่ะ

ข่าวในทุกวันนี้ ที่นำเสนอปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้พ่อแม่ตระหนักถึงเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เพราะการล่วงละเมิดทางเพศนั้น เกิดกับเด็กคนไหนก็ได้ และผู้กระทำก็อาจจะเป็นคนใกล้ตัวกว่าที่คิด มาดูวิธีสอนลูกให้ระวังการล่วงละเมิดทางเพศ เพื่อให้ลูกสามารถป้องกันตัว ให้ลูกรู้ว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ต้องห้าม ของส่วนตัว ที่ใครก็จับไม่ได้!

 

1.ลูกเป็นเจ้าของร่างกายของตัวเอง

ย้ำเตือนลูกอยู่เสมอว่า ลูกเป็นเจ้าของร่างกาย และไม่มีใครมีสิทธิที่จะแตะต้องร่างกายของลูกได้ โดยเฉพาะการสัมผัสที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ และเริ่มสอนลูกว่ามีบางส่วนในร่างกายที่ถือเป็นพื้นที่ต้องห้าม เพราะเป็นของส่วนตัว และไม่ว่าใครก็ไม่ได้รับอนุญาตให้สัมผัสส่วนนั้น เว้นเสียแต่ว่าทำเพื่อการทำความสะอาด

เมื่อลูกรู้สึกอึดอัดเวลาใครมาสัมผัสร่างกาย ลูกต้องกล้าที่จะบอกว่า ไม่ แล้วรีบมาบอกพ่อแม่ทันทีเมื่อมีใครมาแตะต้อง หรือกวนใจลูก เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ

 

2.เรียกอวัยวะส่วนนั้นด้วยชื่อเรียกที่ถูกต้อง

เมื่อถึงวัยที่ลูกเรียนรู้ถึงความแตกต่างของอวัยวะเพศของผู้หญิงและอวัยวะเพศของผู้ชาย สอนลูกถึงชื่อเรียกที่ถูกต้อง ห้ามเรียกส่วนนั้นด้วยคำที่ฟังดูน่ารัก เพราะเวลาที่ลูกต้องการอธิบายหรือพูดคุยกับพ่อแม่ จะได้ใช้คำพูดที่เข้าใจในเรื่องเดียวกัน ถ้าลูกเรียนรู้คำเหล่านั้นเป็นชื่อน่ารักๆ หรือคำที่พ่อแม่สอนให้เรียก เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นก็จะไม่สามารถอธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง

3.พูดคุยกับลูกเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ

พูดคุยกับลูกด้วยบรรยากาศสบายๆ อย่าใช้โทนเสียงที่เคร่งเครียด ที่ทำให้บรรยากาศการพูดคุยอึดอัด ตอนพูดถึงพื้นที่ส่วนตัว หรือเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ เมื่อลูกเกิดไม่สบายใจ สงสัย หรือมีคำถาม ก็จะกล้าถามพ่อแม่ได้ตรงๆ จะได้ไม่มีความลับกับพ่อแม่

 

4.อธิบายพื้นที่ส่วนตัวห้ามล่วงละเมิดด้วยกฎชุดว่ายน้ำ

โรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนเตรียมอนุบาล จะมีหลักการที่ใช้อธิบายเรื่องของส่วนตัว หรือพื้นที่ต้องห้ามในร่างกายของเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ภาพประกอบพร้อมกับคำแนะนำเพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ายากเกินกว่าจะจดจำ ขอแนะนำ กฎชุดว่ายน้ำ แล้วอธิบายลูกว่า ทุกส่วนในร่างกายภายใต้ชุดว่ายน้ำถือเป็นพื้นที่ต้องห้าม ห้ามจับ ห้ามจ้อง และห้ามถ่ายรูป ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำสิ่งเหล่านั้นกับลูกได้

สำหรับคนที่ต้องระวัง ไม่ใช่แค่คนแปลกหน้าเท่านั้น แต่คนคุ้นเคยหรือคนใกล้ชิด อาจจะเป็นคนที่มาล่วงละเมิดทางเพศลูกก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร ถ้าทำให้ลูกเกิดความอึดอัดใจ หรือสัมผัสตัวลูกในส่วนสำคัญ ก็ให้ลูกรีบมาบอกพ่อแม่

 

5.อธิบายถึงการสัมผัสอย่างปลอดภัย

ควบคู่กับการสอนให้ลูกระวังการล่วงละเมิดทางเพศ พ่อแม่ต้องสอนเรื่องการสัมผัสที่ทำได้ เพื่อให้ลูกเข้าใจด้วยว่า พ่อแม่ พี่เลี้ยง หรือคุณหมอ จำเป็นต้องสัมผัสลูกเวลาที่อาบน้ำ หรือทำความสะอาดส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น การอาบน้ำและเปลี่ยนผ้าอ้อม ส่วนคุณหมอเองก็ต้องตรวจเช็คร่างกายทุกๆ ส่วนเพื่อให้ลูกสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย

 

สิ่งสำคัญคือต้องสอนลูกให้รู้จักของสงวน พื้นที่ต้องห้าม หรือของส่วนตัว ที่ใครก็แตะต้องไม่ได้ แล้วอย่าลืมย้ำลูกว่า ลูกเป็นเจ้าของร่างกาย ถ้าใครมาสัมผัสแล้วทำให้ลูกไม่สบายใจ ลูกมีสิทธิ์จะบอกว่า ไม่ และเมื่อมีเหตุการณ์ไม่สบายใจ ต้องสอนให้ลูกรีบมาบอกพ่อแม่ เพื่อให้ลูกรู้จักระมัดระวัง ก่อนจะเกิดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน

เลี้ยงลูกแล้วเครียด มีวิธีอะไรช่วยบรรเทาความเครียดได้บ้าง?

ลาออกมาเลี้ยงลูกดีไหม หรือว่าให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงให้ดี เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง 10 วิธีเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง (E.Q.)

5 วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นนักกีฬา ความสำเร็จที่พ่อแม่สร้างได้

7 นักกีฬาในดวงใจลูก ใช่คุณกี่ข้อ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • อย่าคิดว่าเด็กผู้หญิงวัย 7 ขวบจะไม่มีพิษภัย
แชร์ :
  • สอนลูกให้เป็นสุภาพบุรุษยุค 2020 ทำอย่างไร? 20 คำสอน ที่ควรสอน

    สอนลูกให้เป็นสุภาพบุรุษยุค 2020 ทำอย่างไร? 20 คำสอน ที่ควรสอน

  • โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

    โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • สอนลูกให้เป็นสุภาพบุรุษยุค 2020 ทำอย่างไร? 20 คำสอน ที่ควรสอน

    สอนลูกให้เป็นสุภาพบุรุษยุค 2020 ทำอย่างไร? 20 คำสอน ที่ควรสอน

  • โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

    โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ