วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ ฉบับง่ายเพื่อคู่รักทุกคู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยไหม ? รักกันแทบตายแต่สุดท้ายก็มีวินาทีที่โกรธจนเลือดขึ้นหน้า จนกลายเป็นปากเสียงให้ทะเลาะใหญ่โต โดยแต่ละคู่ก็จะมี วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ ที่แตกต่างกันไป

 

บางครั้งอารมณ์โกรธที่มีอิทธิพลมากเกินไป ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้เลิกกันได้ ทั้งที่ในบางครั้งเรื่องราวทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องเล็กน้อย คนรักกันในบางครั้งเมื่อเอาอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ไม่ใช้น้ำเย็นเข้าลูบก่อนอาจจะกลายเป็นปัญหาระยะยาวที่ส่งผลกับทั้งตัวเองและคนรอบข้างได้

 

การทะเลาะกันมีประโยชน์ ถ้าไม่โกรธจนเลือดขึ้นหน้า คำกล่าวนี้ไม่เกินจริง เป็นเรื่องปกติของคนที่คบกันจะมีปัญหาขัดแย้งหรือเห็นต่างกันบ้าง แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าบางครั้งการทะเลาะก็นำมาสู่ Toxic Relationship ได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้าการทะเลาะแต่ละครั้งที่สะสมไปด้วยความรู้สึกด้านลบ และฝังความรู้สึกแย่ในใจของอีกฝ่ายโดยยากที่จะรักษาให้หาย

 

 

เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าห้ามทะเลาะหรือโต้เถียงกับคู่ของเรา เพียงแต่อยากให้หาเหตุผลของการทะเลาะกัน เพราะบางครั้งอาจเป็นต้นเรื่องที่ทำให้คนสองคนเข้าใจกันเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทะเลาะแบบประนีประนอมและมีเหตุผล ต้องอาศัยการรับฟังและการเอาใจเข้ามาใส่ใจเราที่มากพอ แต่สิ่งที่ยากในความสัมพันธ์ก็คือ “มีแค่ไม่กี่ครั้ง ที่จะมีคนรับฟังอย่างตั้งใจและมาพร้อมกับความใจเย็น”

 

วันนี้ theAsianparent มีวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะรวมมาให้ถึง 8 อย่าง มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้างที่เราสามารถปรับให้เข้ากับชีวิตคู่ของตัวเองได้บ้าง

บทความน่าสนใจ : “รัก” หรือ “ความผูกพัน” จะรู้ได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์ของเรายังปกติดีอยู่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับทั้ง 8 วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ

1. นับเลขไปจนกว่าจะใจเย็น

เชื่อกันว่าการนับเลขเป็นอีกหนึ่งวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะที่ช่วยให้เราใจเย็นขึ้น เป็นการทำใจให้สงบด้วยวิธีที่เบสิกที่สุด แต่ได้ผลอย่างทันตาเห็น ขณะที่เรากำลังทะเลาะและคิดคำต่อว่าอีกฝ่าย หากลองนับเลขในใจไปพร้อมกันและเอาสมาธิไปโฟกัสที่การนับเลขแทน ก็จะเป็นตัวช่วยให้ความคิดลบและอารมณ์ของเราค่อยๆ หายไปกับเวลาโดยที่ยังไม่ทันตั้งตัวก็ได้ค่ะ

 

2. หลบไปทบทวนสาเหตุของการทะเลาะ

การมองหาถึงต้นเหตุที่ทำให้เรากับแฟนทะเลาะกันในครั้งนี้ ก็เป็นวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ ที่ใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน และนับว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด หากในทุกครั้งที่เริ่มมีปากเสียง ต่างคนต่างหาสาเหตุในการทะเลาะได้ทุกครั้ง การแก้ปัญหาก็เป็นเรื่องง่ายทันที หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ลองเริ่มจากการบอกความรู้สึกหลักที่เราอยากให้เขาเข้าใจก่อนก็ได้ค่ะ นั่นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการทะเลาะไม่ใช่หรือ

 

3.ไม่รีบร้อนหาข้อสรุป

ในทุกครั้งที่โกรธหรือทะเลาะกัน แต่ตัดสินใจที่จะหยุดทุกอย่างด้วยการ Set Zero และหนีไปนอน นับว่าเป็นวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะที่ติดลบอย่างมากค่ะ แต่มีเรื่องที่แย่กว่านั้นเมื่อต่างฝ่ายต่างใจร้อนและด่วนสรุปทุกอย่างให้จบ ทั้งที่ยังไม่สามารถคุมอารมณ์ให้เบาบางลงได้ เมื่อหลายครั้งที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ อาจจะลองพักยกชั่วคราวและไปหาอะไรที่เราโอเคทำก่อน เพื่อดับอารมณ์ความเดือดก่อนที่จะคุยกันอีกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. รู้จักพูดและใส่ใจใน “คำขอโทษ”

จริงอยู่ที่การทะเลาะของเราทั้งคู่ จุดเริ่มต้นหรือคนผิดนั้นไม่ใช่เรา แต่หากลองย้อนดูอีกครั้งถ้าเราเลือกที่จะทำความเข้าใจ ไม่ลงเอยด้วยการต่อปากต่อคำจนกลายมาเป็นเรื่องใหญ่ ลดทิฐิยอมอ่อนลงให้อีกฝ่ายก่อน ด้วยการพูดคำว่า “ขอโทษ” ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย สำหรับวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะได้เช่นกัน อาจจะไม่ได้ขอโทษเพื่อให้เรื่องจบ แต่เป็นการขอโทษที่ทำให้เราทั้งคู่ต้องมีอารมณ์ขุ่นใส่กัน หรือขอโทษที่ทำให้ต้องเสียเวลารักกันหวานชื่นให้กับความโมโหในครั้งนี้

บทความน่าสนใจ : วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ ฉบับง่ายเพื่อคู่รักทุกคู่

 

 

5. รู้จักความปล่อยวางและให้อภัย

วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะด้วยการปล่อยวางและให้อภัย อาจจะไม่ได้ใช้กันบ่อย แต่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ของเรา Toxic ไปมากกว่านี้ การไม่ถือสาในสิ่งที่ผิดพลาดไปถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และปัญหาที่เรามองเห็นในครั้งนั้นก็จะสลายหายวับไปกับตาทันที อีกทั้งเมื่อคนที่เรากำลังโกรธนั้นคือคนที่เรารัก การให้อภัยคนสำคัญเป็นเรื่องที่ยากและทำไม่ได้จริงหรือ ลองปล่อยผ่านดูสักครั้ง เดี๋ยวคราวหน้าก็จะรับมือกับการทะเลาะได้

 

6. เรื่องที่จบไปแล้วก็คือจบไม่รีรัน

การหยิบปัญหาเดิมมารีรันซ้ำเกินกว่า 2 รอบ เป็นปัญหาที่ทำให้หลายต่อคู่นักเลิกรากันมาแล้ว เพราะวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะที่ดีก็คือการไม่เอาความผิดของอีกฝ่ายมาทำให้รู้สึกเสียใจซ้ำแล้วซ้ำอีก อีกทั้งเมื่อเราหยิบมาพูดถึงบ่อยครั้งเข้า ก็จะมีคำติดปากที่อีกฝ่ายอาจพูดได้ก็คือคำว่า “เรื่องนี้อีกแล้ว?” และมันก็จะวนเป็นลูปไม่รู้จบ ดังนั้นเมื่อเราตัดสินใจอยากให้ความสัมพันธ์เป็นแบบชีวิตคู่แล้ว ควรหันมามองและโฟกัสที่ปัจจุบันหรือความสุขในอนาคตข้างหน้าไม่ดีกว่าหรอ หาหนังเรื่องที่เติมความหวานให้กันมาดูอีกครั้ง ไม่ดีกว่าการนั่งฮึมฮัมความโกรธใส่กันหรือไร

 

7. มองภาพรวมและแง่บวกเพิ่มขึ้น

แทนที่จะโฟกัสที่ปัญหาตรงหน้าว่าใครเป็นคนถูกหรือชนะ แต่เปลี่ยนไปมองให้กว้างขึ้นว่าการทะเลาะกันครั้งนี้มันคุ้มหรือไม่ และการหันไปเพิ่มความคิดแง่บวกต่อเราเองและคนรัก เป็นทัศนคติที่ดีที่ทุกคนควรมี แถมยังช่วยทำให้เราตระหนักได้อีกครั้งด้วยซ้ำว่าโลกไม่ได้ใจร้ายกับเราขนาดนั้น เมื่อไรที่เราสามารถปรับมุมมองได้ปัญหาที่กำลังจะบานปลายก็ดูจะเป็นเรื่องเล็กนิดเดียวที่เราก้าวข้ามมันไปได้แทบจะทันที และอยากจะหยิบมาใเป็วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะบ่อยๆดว้ยค่ะ

 

8. หยุดปิดท้ายประโยคด้วยคำว่า “แต่”

รู้หรือไม่ว่าทุกครั้งที่เราลงท้ายการอธิบายในการทะเลาะด้วยคำว่าแต่ มันเป็นเหมือนกับการบอกเป็นนัยๆ ว่าคุณคิดว่าความคิดของคุณนั้นดีกว่าอีกฝ่าย เมื่อเราถามหาวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ หลังจากการปรับความเข้าใจกันแล้ว คำว่าแต่ถือเป็นคำต้องห้ามทันที เพราะคำนี้คือการจุดประเด็นที่ไม่รู้จักจบ แล้วแบบนี้จะเลิกทะเลาะกันได้ยังไง สู้กันไปใช้อารมณ์ขันที่มีให้เป็นประโยชน์ คลายความเครียดกันด้วยเสียงหัวเราะ ยิ่งเป็นตัวช่วยให้ความโกรธในใจของเราลดลงและมีความสุขได้ไวขึ้น!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความน่าสนใจ : ความสัมพันธ์เริ่มจืดจาง ทำยังไงดี? 10 วิธี กลับไปหลงรักแฟนอีกครั้ง

 

 

ทะเลาะเชิงบวกคือแบบไหน?

เมื่อเราดูวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะกันไปแล้ว มาย้อนดูกันบ้างดีกว่าว่าการทะเลาะกันแบบไหนที่เป็นทะเลาะเชิงบวก ทะเลาะแล้วทำให้รักมั่นคงยิ่งขึ้น

 

1. ทะเลาะแล้วนึกถึงใจเขาใจเรา

ไม่มีใครทุกคนที่เพอร์เฟ็คไปเสีย 100% และก็ไม่ได้มีคู่รักคู่ไหนเช่นกันที่เข้าใจกันตลอดเวลา แต่ทั้งหมดอยู่ที่ว่าคุณทั้งคู่พยายามที่จะเข้าใจสิ่งเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหนกันมากกว่า ฉะนั้นการทะเลาะกันในแต่ละครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะ ที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากัน และหาทางแก้ไขร่วมกันอยู่เสมอ และแน่นอนว่าเมื่อทะเลาะกันกลไกของความรักจะยิ่งทำให้คุณเรียนรู้ในความคิดอีกฝ่ายเพิ่มขึ้น

 

2. ทะเลาะแล้วจับมือกันแก้ปัญหา

หากเราทั้งคู่เริ่มรู้สึกตัวกันแล้วว่า ส่วนใหญ่แล้วเราจะทะเลาะกันช่วงไหน ช่วงวันแดงเดือดหรือเปล่า หรือว่าจะเป็นช่วงที่ปาร์ตี้จนเมาเละ ถ้าเกิดเจอจุดสังเกตแล้วงั้นลองเริ่มต้นใหม่ด้วยการลดการปะทะคารมในช่วงนั้นจะดีหรือเปล่า หรืออาจจะต้องบอกจุดประสงค์ที่มันเกิดเรื่องนี้เพิ่มเติมเข้าไป เชื่อว่าหลายคู่เจอความปากเปียกปากแฉะมาเยอะ เมื่อรู้ตัวกันแล้วทั้งคู่ต้องพร้อมใจกันสู้ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาทางลงที่พอเหมาะกับทั้งคู่ กันปัญหาวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

 

3. ทะเลาะด้วยการไม่ยุติความสัมพันธ์

เชื่อว่าทุกครั้งที่เราอยู่ในช่วงที่หาวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะในช่วงแรก เกิดอารมณ์น้อยใจและอยากยอมแพ้ในหลายครั้ง เหนื่อยที่จะต้องมารักษาความรู้สึกแล้ว แต่ถ้าเราลองปรับมุมมองว่า “การทะเลาะคือความเข้าใจ” ก็จะช่วยลดช่องว่างของการทะเลาะนั้นได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ในการทะเลาะแต่ละครั้งต้องมองให้ออกว่าเป็นการทะเลาะกันแบบทำร้ายหรือสร้างความเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นมุมมองที่รู้สึกเหนื่อยล้าก็จะมีพลังใจเพิ่มขึ้นได้เหมือนกันค่ะ

 

4. หลังทะเลาะได้การควบคุมอารมณ์ที่ดีขึ้น

เชื่อว่าในการทะเลาะกันแต่ละครั้งของคู่รัก มักมีอารมณ์มาเป็นส่วนร่วมอยู่เสมอ ทั้งยังเป็นเรื่องง่ายที่จะพ่นแต่คำพูดเป็นพิษ Toxic จ๋า อย่าไม่คิดถึงผลกระทบ ทั้งยังมีแต่ความรุนแรงให้ใจปลอบช้ำ เช่น “เธอไม่เคย..” หรือ “เธอเป็น…อย่างนี้เสมอ” แต่ในความเป็นจริงเพียงแค่งดคพูดเหล่านี้ และหันไปสื่อสารกันด้วยความเข้าใจ เชื่อว่าวิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะแบบนี้จะไม่มีเสียใจย้อนหลังแน่นอน เพราะหลายคู่ที่ขาดสติปากแซ่บ หรือลงมือ มักจบลงด้วยการแยกทาง

 

5. เมื่อทะเลาะแล้วทำให้ใส่ใจแฟนขึ้นอีก

หลายครั้งที่หลังการฟาดฟันกันมาอย่างหนัก หลายคนมักรู้สึกผิดและสำนึกได้ภายหลัง ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมันเป็นเพียงเรื่องไร้สาระที่ไม่จำเป็นเลยในชีวิตคู่ นั่นยิ่งเป็นการย้ำให้คุณระมัดระวังในความรู้สึกคุณแฟนเพิ่ม แถมยังอยากจะอ้อนเอาใจให้ความรักกลับมาฟินหวาน ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการพลิกหน้ามือขนาดนั้น แต่วิธีควบคุมอารมณ์ตอนทะเลาะแบบนี้ก็เป็นผลพวงที่มาจากการพยายามทำความเข้าใจและกลายเป็นเรื่องราวดีๆ ในวันนั้นๆ

 

บทความที่น่าสนใจ

เช็ก Toxic Relationship คุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์เป็นพิษหรือไม่

ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

ความรักแบบเพื่อน คืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่า นี่ไม่ใช่ความรักแบบชู้สาว

ที่มา (thematter) (praewwedding)

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn