5 โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล พ่อแม่ต้องระวัง!

ไปโรงเรียนทีไร ลูกไม่สบายกลับมาทุกที ทำไงละทีนี้พ่อแม่กลุ้มจริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็ก ๆ วัยอนุบาลมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง ประกอบกับใช้เวลากับเพื่อน ๆ ในโรงเรียนอนุบาลอยู่เป็นเวลานาน ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อง่าย โดยวันนี้ทาง theAsianparent ได้รวบรวม 5 โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากมาให้แล้ว ไปดูกัน 

 

โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล ติดง่าย เป็นง่าย ต้องระวัง!

1. โรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold)

เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล ในห้องเรียนมีเด็กอยู่กัน 20-30 คน แต่ละคนอาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดคนละชนิด รวม ๆ กันแล้วในห้องนั้นอาจมีเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันถึง 10-20 ชนิด เด็กในห้องนั้นก็จะหมุนเวียนกันติดเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันจนครบ ซึ่งอาจใช้เวลา 3 – 4 เดือน เรียกว่าตลอดทั้งเทอม จึงผลัดกันเป็นไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ เมื่อรับเชื้อจนครบ ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทุกตัวที่มีอยู่ในห้องนั้น เด็กก็จะห่างหายจากไข้หวัดไปในที่สุด โดยโรคหวัดจะพบได้บ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่เข้าโรงเรียนใหม่ ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยอนุบาล เมื่ออายุเกิน 6 ปี ก็จะเป็นหวัดน้อยลงเหลือเพียงปีละ 2 -3 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส

อาการไข้หวัดในเด็กอนุบาล 

  • น้ำมูกใส ไหล จาม คัดจมูก
  • บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ
  • ไข้ไม่สูงมาก ไม่เกิน 3 วัน
  • อาการมักหายเองภายใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน

การป้องกันไข้หวัด

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
  • สอนให้เด็กไอหรือจามใส่ทิชชู่ หรือข้อศอก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ

การรักษาไข้หวัด

  • ให้ยาแก้ไข้แก้หวัดชนิดน้ำเชื่อม เช้า-เย็น 3-4 วัน
  • เมื่ออาการดีขึ้น หยุดยา
  • ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ถ้าอาการไม่ดี หรือไข้สูงมาก พบแพทย์

บทความที่น่าสนใจ: เตรียมพร้อม รับมือไข้หวัดใหญ่ ฝันร้ายของเด็กวัยเรียน


2. ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบ หมายถึงภาวะที่ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองสองก้อนที่อยู่ด้านหลังลำคอ ต่อมทอนซิลมีหน้าที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านปากและจมูกนั่นเอง

สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ

  • ไวรัส เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของต่อมทอนซิลอักเสบ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบได้แก่ เชื้อไวรัสไข้หวัด (adenovirus), เชื้อไวรัสโคแซคซี (coxsackievirus), เชื้อไวรัสอิปสติน-บาร์ (Epstein-Barr virus)
  • แบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัส (Streptococcus pyogenes)

อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ

  • เจ็บคอ โดยเฉพาะเมื่อกลืนน้ำลาย
  • ไข้
  • หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดหู
  • ต่อมทอนซิลแดงและบวม
  • มีหนองบนต่อมทอนซิล
  • กลืนลำบาก
  • เสียงแหบ
  • ไอ
  • เบื่ออาหาร
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

  • ต่อมทอนซิลอักเสบจากไวรัส มักไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่วนใหญ่ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้เอง แพทย์อาจแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารอ่อนๆ และใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • ต่อมทอนซิลอักเสบจากแบคทีเรีย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยต้องทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม

บทความที่น่าสนใจ: สังเกตได้ยังไงว่าลูกเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis

ไวรัสลงกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบจากไวรัส (Viral Gastroenteritis) เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นภาวะติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีหลายชนิด เช่น

  • โรต้าไวรัส (Rotavirus) พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
  • โนโรไวรัส (Norovirus) มักเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษบนเรือสำราญ
  • อะดีโนไวรัส (Adenovirus) พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
  • ซาลโมเนลลา (Salmonella) มักปนเปื้อนในอาหาร

อาการไวรัสลงกระเพาะ

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ถ่ายเป็นน้ำ
  • ปวดท้อง
  • เป็นไข้
  • หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด

วิธีการรักษาไวรัสลงกระเพาะ

  • ทั่วไปร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
  • การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การรักษาตามอาการ เช่น
    • ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือ ORS เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
    • รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป
    • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
    • ทานยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (หากจำเป็น)

การป้องกันไวรัสลงกระเพาะ

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
  • ทำความสะอาดพื้นผิวที่ปนเปื้อนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • รับประทานอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  • เด็กเล็กควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า

บทความที่น่าสนใจ: ลูกปวดท้อง แบบไหนเป็นสัญญาณของ 4 โรคร้าย ที่พ่อแม่ต้องระวัง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth disease)

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus สายพันธุ์ Coxsackievirus A16 หรือ Enterovirus 71 มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถติดต่อผู้ใหญ่ได้เช่นกัน 

การติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก

  • การสัมผัสโดยตรงกับน้ำลาย เสมหะ หรืออุจจาระของผู้ป่วย
  • การสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่น
  • การไอ จาม หรือพูดใกล้ชิดกับผู้ป่วย

อาการโรคมือ เท้า ปาก

  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร
  • เจ็บคอ
  • แผลในปาก ลักษณะเป็นตุ่มใส สีแดง
  • แผลตุ่มใสที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลำตัว

การรักษาของโรคมือ เท้า ปาก

  • รักษาตามอาการ เช่น เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ให้ยาพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาแก้เจ็บคอ
  • รักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ
  • งดการไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • แยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่น

คำแนะนำของคุณหมอเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น

  1. การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่าง ๆ
  2. การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน
  3. การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่าง ๆ

บทความที่น่าสนใจ: โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. โรคตาแดง (Pink eye หรือ Conjunctivitis)

โรคตาแดง หรือ เยื่อบุตาอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 

  • ไวรัส: เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง หรือการใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู
  • แบคทีเรีย: มักมีขี้ตาสีเหลืองหรือเขียว
  • ภูมิแพ้: มักมีอาการคันตา น้ำตาไหล
  • สารระคายเคือง: เช่น ควัน ฝุ่น คลอรีน

อาการของโรคตาแดงในเด็ก

หากลูกของคุณเป็นโรคตาแดง สังเกตอาการเหล่านี้ได้

  • ขี้ตา: เด็กที่เป็นโรคตาแดงจะมีขี้ตาจำนวนมาก โดยเฉพาะในตอนเช้า ขี้ตาอาจเป็นสีเหลือง ขาว หรือเขียว
  • น้ำตาไหล: เด็กอาจมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ
  • เจ็บตา: เด็กอาจรู้สึกเจ็บตา
  • เคืองตาหรือแสบตา: เด็กอาจรู้สึกเคืองตาหรือแสบตา
  • ตุ่ม: ตุ่มเล็ก ๆ อาจปรากฏขึ้นบริเวณเปลือกตาหรือเยื่อบุตา
  • ตาแดง: เยื่อบุตาขาวอาจมีสีแดงจัด
  • อาการอื่น ๆ: เด็กที่เป็นโรคตาแดงมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อน เช่น เจ็บคอ มีไข้ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน

การรักษาโรคตาแดงในเด็ก

  1. เมื่อคุณแม่รู้ว่าลูกน้อยเป็นตาแดง ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ไม่ควรซื้อยาทาหรือยาหยอดตาเอง
  2. ส่วนเด็กที่ยังเล็กมาก การหยอดยาอาจทำได้ลำบาก คุณหมออาจให้ยาป้ายตาเพียงอย่างเดียว
  3. วิธีการหยอดตาหรือป้ายตานั้น ให้คุณแม่ดึงเปลือกตาล่างลงมาพร้อมกับให้ลูกเหลือบตา มองขึ้นด้านบน ก็จะมีช่องพอที่จะให้คุณแม่หยอดยาหรือป้ายยาลูกได้ถนัดขึ้น ในเด็กเล็กอาจต้องมีคนช่วยจับศีรษะ หรือหาของเล่นมาล่อ ให้ลูกเหลือกตาขึ้นด้านบนกันลูกดิ้น
  4. ถ้ามีอาการไม่สบายตาหรือตาบวมมาก คุณแม่ก็สามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณรอบดวงตาให้ลูกได้ และถ้ามีขี้ตามาก ควรทำความสะอาดเปลือกตาหรือขอบตาด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด

บทความที่น่าสนใจ: ตาแดง โรคตาแดงมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคตาแดงมาจากอะไร พร้อมวิธีรักษา

 

 

ได้ทราบกันแล้วนะคะ สำหรับ 5 โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล คุณแม่ควรสอนให้ลูกใช้ของใช้ส่วนตัวของตนเอง บอกลูกไม่ควรใช้แก้วน้ำ ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่มของเพื่อน แม้จะห้ามยากแต่ก็ควรสอนไว้ก่อนค่ะ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากก็รักษาตามอาการก่อน หากมีอาการไม่น่าไว้วางใจต้องไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

ที่มา: www.childrenhospital.go.th, www.bumrungrad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ: 

ทำไมลูกป่วยบ่อย เริ่มไปเนอร์สเซอร์รี่หรืออนุบาลเมื่อไหร่ ป่วย ติดไข้ ติดหวัดติดโรคมาทุกที

โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?

อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Weerati