ไอเรื้อรัง ไอไม่หยุด ในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ทำยังไงให้หาย ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากประสบการณ์ของหมอ พบว่าอาการไอเรื้อรังในเด็ก พบได้ไม่น้อย โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ จึงอยากจะมาเล่าให้ฟัง ว่าหากเด็ก ๆ มีอาการไอเรื้อรังแบบนี้ มีสาเหตุอะไรที่พบได้บ่อยกันบ้าง ใคร ๆ ก็เจ็บป่วยได้ รวมทั้งลูก ๆ ของเราก็ด้วย หากคุณแม่กำลังกลุ้มใจที่ลูกป่วยหนัก ลูกไอเรื้อรัง ไอนาน ไอเรื้อรัง ไอไม่หายสักที วันนี้เรามีวิธีดูแลลูกมาฝาก จะมีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย

 

ไอแบบไหน ถึงเรียกว่า ไอเรื้อรัง

ลูกไอเรื้อรัง บางคนอาจจะยังไม่รู้ ว่าไอแบบไหนถึงเรียกว่าไอเรื้อรัง จริง ๆ แล้ว อาการไอเรื้อรัง คือ อาการไอ ที่เกิดติดต่อกันนานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ซึ่งถ้าไอมานาน แต่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า อาการไอเฉียบพลัน และหากไอติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ จะเรียกว่า ไอกึ่งเฉียบพลัน ส่วนสาเหตุที่เราต้องแบ่งระยะเวลาของอาการไอออกเป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าอาการไอเฉียบพลัน หรืออาการไอกึ่งเฉียบพลันมักจะเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่อาการไอเรื้อรังนั้น มักเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

 

สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง ลูกไอเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในเด็ก 

ลูกไอเรื้อรัง ส่วนใหญ่แล้ว  การที่เด็กไอเรื้อรังนั้น หรือ ลูกไอเรื้อรัง มักจะมีสาเหตุมาจากโรคหอบหืด โรคที่เกี่ยวกับสารคัดหลั่ง และโรคที่เกิดจากการอักเสบในโพรงจมูก เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น รวมทั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยืดเยื้อ และอาการไอจากการอักเสบของหลอดลมได้ด้วยค่ะ

 

1. โรคหอบหืด

โรคหอบหืด ถือเป็นโรคภูมิแพ้ ที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ โดยหลอดลมจะมีการหดเกร็ง บวม และมีสร้างเสมหะออกมามากขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดจากการที่หลอดลมตีบ และจะรุนแรงขึ้น หากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือหากผู้ป่วยไปสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเด็กที่มีอาการหอบหืดไม่รุนแรง อาจแค่รู้สึกเหนื่อยหอบหรือไอเมื่อวิ่งเล่น และอาจจะไอหายช้ากว่าปกติเมื่อเป็นหวัด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไอแห้ง ๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบที่เรื้อรังของจมูก โดยเมื่อผู้ป่วยสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ จะมีอาการจาม คันจมูก คัดจมูก และมีน้ำมูกใส นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คันตา ตาแดง น้ำตาไหล และอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วยได้ เป็นต้น

 

3. ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ คือ การอักเสบของโพรงอากาศ ที่อยู่ภายในกระดูกบริเวณรอบ ๆ จมูก มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ที่อยู่กลุ่มเดียวกับเชื้อโรคไข้หวัด โดยเด็กที่เป็นไซนัส มักติดเชื้อไวรัสมาก่อน แล้วจึงค่อยมีการติดเชื้อแบคทีเรียตามมาภายหลัง ผู้ป่วยโรคนี้ มักมีน้ำมูก คัดจมูก และมีอาการไอร่วมกับอาการปวดใบหน้าหรือศีรษะ รวมทั้งอาจมีไข้ นอนกรน และมีกลิ่นปากร่วมด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. หลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยืดเยื้อ

การติดเชื้อแบคทีเรียที่หลอดลมบางชนิด ทำให้หลอดลมอักเสบ และทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ แต่ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการไอได้ด้วยการทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการรับประทาน

 

5. อาการไอเรื้อรังจากการอักเสบของหลอดลมหลังการติดเชื้อ

หลังการติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจและหลอดลม อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังนานเป็นเดือนตามมาได้ แม้ว่าจะหายติดเชื้อแล้วก็ตาม เนื่องจากว่าหลอดลมยังคงอักเสบอยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งอยู่หลายวัน แต่อาการไอมักจะหายไปได้เองในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการไอของลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง

 

 

ลูกไอไม่หยุด ทำไงดี รักษายังไงให้หาย

หากลูกน้อยไอตลอดเวลา ไม่หายสักที ให้คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดูก่อนได้ค่ะ

  • ให้ลูกดื่มน้ำอุ่น ๆ และให้รับประทานยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการไอ
  • ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะบางครั้ง การอดนอนหรือนอนน้อยก็เป็นสาเหตุของการไอได้
  • หากลูกน้อยมีน้ำมูกไหล ให้อุ้มเด็กพาดบ่า และลูบหลังเด็กเบา ๆ
  • หากเด็กโตพอที่จะดื่มน้ำผึ้งได้แล้ว (มากกว่า 1 ขวบ) ให้เด็กจิบน้ำผึ้งก่อนนอน เพื่อช่วยละลายเสมหะ
  •  หากที่บ้านมีเครื่องทำไอน้ำ ให้เปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
  • ทำการล้างจมูกให้ลูก เพื่อให้จมูกลูกโล่งมากยิ่งขึ้น

 

ลูกไอเรื้อรังแบบไหน ต้องพาไปหาหมอ

หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูก ๆ ไอเรื้อรัง ไอไม่หาย ไอไม่หยุด แม้ว่าจะให้รับประทานยาแก้ไอ หรือทำตามวิธีด้านบนแล้วก็ตาม ให้พาลูก ๆ ไปพบหมอเพื่อตรวจดูอาการ หากเป็นโรคใดโรคหนึ่ง จะได้รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งเมื่อเข้าพบหมอ คุณหมออาจถาม ว่าลูกไอมานานแล้วแค่ไหน อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ไอ หรือลูกมีรูปแบบการไอเป็นอย่างไร เพื่อช่วยในการระบุประเภทของการไอได้ถูกต้อง นอกจากนี้ คุณหมออาจซักประวัติเด็ก ๆ เพิ่มเติมด้วย ว่ามีโรคประจำตัวอะไรไหม เป็นภูมิแพ้ เป็นหอบหืด หรือมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ ดังนั้น คุณแม่ควรเตรียมตัวไปตอบคำถามของคุณหมอให้ดี ๆ หรือจะจดบันทึกอาการของลูกเป็นระยะ ๆ ไปด้วยก็ได้ เพื่อที่จะสามารถตอบคุณหมอได้อย่างแม่นยำค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง :

ไอเสียงก้อง หายใจลำบาก สัญญาณเตือนโรคครูปในเด็ก

หลอดลมฝอยอักเสบจากไวรัส RSV สาเหตุสำคัญของอาการหอบในเด็กเล็ก

11 สัญญาณเตือน อาการปวดท้องเรื้อรังในเด็ก

ที่มา : pobpad , kapook