ช็อกโกแลตซีสต์ ถุงน้ำในรังไข่ที่ผู้หญิงอย่างเราต้องระวังให้มาก!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช็อกโกแลตซีสต์ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับขนมหวาน หรือของหวานที่เรารู้จักกัน แต่ช็อกโกแลตซีสต์นี้ เป็นถุงน้ำในรังไข่ ที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุก ๆ คน ความผิดปกติที่ไม่น่าไว้ใจ สังเกตตนเองก่อนเกิดอาการแทรกซ้อน

 

ช็อกโกแลตซีสต์ คืออะไร?

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือ ถุงน้ำในรังไข่ประเภทหนึ่ง ที่ในทางการแพทย์จะเรียกว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธฺุ์ เมื่อมีประจำเดือน จะทำให้มีเลือดสะสมและเกิดการตกค้าง จนก่อตัวเป็นซีสต์ โดยลักษณะจะเป็นของเหลวข้น คล้ายกับช็อคโกแลตอยู่ภายใน

 

ช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากอะไร?

ช็อกโกแลตซีสต์ ยังไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีการสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการที่ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปที่รังไข่ ซึ่งปกติแล้วในแต่ละเดือน จะมีการสร้างเยื่อบุในมดลูก เพื่อรอรับไข่ที่จะเข้ามาฝังตัว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวเกิดขึ้น เยื่อบุเหล่านั้นก็จะหลุดออกมา กลายเป็นประจำเดือนที่ขับออกทางช่องคลอด แต่การบีบตัวของมดลูกในบางจังหวะ อาจทำให้ประจำเดือนไหลย้อนกลับไป ทางปลายท่อนำไข่ ทำให้เยื่อบุมดลูกไปฝังตัว และเกิดการเจริญเติบโตผิดที่ กลายเป็นถุงน้ำ หรือซีสต์นั่นเอง ถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีลักษณะคล้ายเลือดเก่าด้านใน เนื่องจากเมื่อเป็นประจำเดือน ถุงน้ำดังกล่าวจะมีเลือดออกในถุงเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ช็อกโกแลตซีสต์ยังอาจเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เยื่อบุช่องท้องเกิดระคายเคือง จากการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน (Transformation Of Peritoneal Cells)
  • การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน จากอิทธิพลของฮอร์โมน
  • แผลหลังผ่าตัด (Surgical Scar Implantation)
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System Disorder)

 

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดได้กับใครบ้าง?

ช่วยวัยที่มักพบช็อกโกแลตซีส ได้แก่เพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี และอาจมีประวัติคนในครอบครัว เคยเป็นโรคนี้มาก่อน หรือ เพศหญิงที่มีการมีรอบเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลานาน รอบเดือนมีระยะเวลาสั้น รอบเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ เริ่มมีประจำเดือนก่อนวัยอันควร เป็นต้น

 

ช็อกโกแลตซีสต์มีอาการอย่างไร?

อาการช็อกโกแลตซีสต์ พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งอาจมีอาการต่าง ๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปวดท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือน ปวดมากขึ้นในทุก ๆ เดือน และจะปวดบริเวณด้านหน้า เริ่มตั้งแต่ช่วงสะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน และอาจปวดส่วนด้านหลัง ตั้งแต่ช่วงเอวไปถึงก้นกบ
  • ปวดท้องประจำเดือนมาก จนอาจเป็นลม
  • มีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ปวดท้องเวลาขับถ่าย
  • ถ่ายเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดเสียดอยู่ภายในท้อง
  • ปวดหลังจนร้าวไปที่ขา

ช็อกโกแลตซีสต์รักษาได้อย่างไร?

การรักษาช็อกโกแลตซีสต์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยอาจรักษาได้ 2 วิธี ดังนี้

1. การรักษาโดยการใช้ยา

  • ยาแก้ปวดที่ไม่มีสเตียรอยด์ หรือ ยาเอ็นเสด (Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs : NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ระหว่างการมีรอบเดือน ตัวยาที่นิยมนำมาใช้ เช่น ไอบรูโปรเฟน ยาพรอกเซน เป็นต้น
  • ยาฮอร์โมนเพศหญิง (Hormone Therapy) เป็นยาที่ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมาก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฮอร์โมน เพราะจะเป็นการช่วยเพิ่ม หรือ ช่วยลดฮอร์โมนในรอบเดือน ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก โดยยาจะช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์ให้ช้าลง และป้องกันการฝังตัวใหม่ของเยื่อบุมดลูก ซึ่งผู้ป่วยต้องใช้เวลารักษา ประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ผู้ที่ใช้ยานี้จะต้องไม่มีการวางแผนการตั้งครรภ์อยู่

 

2. การผ่าตัด

หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด เพื่อเอาเซลล์เยื่อบุมดลูกออกจากรังไข่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง เพราะเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาพักฟื้นน้อย และยังไม่สามารถมีบุตรได้ในอนาคต และในกรณีที่อาการรุนแรง แพทย์อาจต้องพิจารณาให้ผ่าตัดมดลูก หรือ นำรังไข่ออกทั้งหมด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน และต้องใช้ฮอร์โมนเข้ามาช่วยทดแทน ซึ่งตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย ได้แก่ ยาคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ ยากลุ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestin Therapy ยากลุ่มฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง (Gonadotropin Releasing Hormone: GnRH) ยาตานาซอล (Danazol) เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การป้องกันช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ ไม่สามารถป้องกันได้อย่างแน่นอน เพราะยังไม่มีสาเหตุและที่มาอย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เช่น ห่วงคุมกำเนิด ยาเม็ด หรือ แผ่นแปะ อาจเป็นตัวช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์

 

ช็อกโกแลตซีสต์อาจไม่ได้ส่งผลร้างแรงต่อร่างกาย และไม่ได้ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ แต่อาจทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เพราะซีสต์ไปขวางไม่ให้เกิดการฝังตัวที่มดลูกได้ ดังนั้นคุณผู้หญิงที่มีอาการเสี่ยง ที่จะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

 

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม ตรวจเจอซีสต์ตอนท้อง ผ่าพร้อมลูกได้หรือเปล่า

ปวดท้องประจำเดือน เป็น ๆ หาย ๆ ใครว่าไม่อันตราย!

สัญญาณเตือนโรคอันตราย บอกได้จากประจำเดือน แม่ต้องสังเกต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee