พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 7 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 7 เดือน เป็นช่วงจังหวะที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการของตนเอง ชอบที่จะกระโดดโลดเต้นในสนามเด็กเล่น ทั้งยังเป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่เสมอ อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก เพราะว่าเด็กแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการที่ต่างกัน
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน
ลูกน้อยของคุณชอบวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่น โหนเครื่องเล่น กระโดดไปมา รวมถึงเตะลูกบอลในลานกว้าง ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่ควรให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น การขี่สกูตเตอร์ ขี่จักรยาน หรือเล่นตีลังกายิมนาสติก นอกจากนี้ ยังมีทักษะดังต่อไปนี้
- การทรงตัวได้ด้วยขาเดียวอย่างน้อย 2-3 วินาที
- สามารถข้ามสิ่งกีดขวางได้
- สามารถปีนป่ายได้
- ต่อบล็อกได้อย่างน้อย 10 บล็อก
- สามารถเดินถอยหลังได้เพียงไม่กี่ก้าว
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ปล่อยให้ลูกได้ฝึกฝนทักษะความสามาราถของตนเองอย่างอิสระ แต่อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยของลูกด้วยการให้ลูกสวมหมวกกันน็อคและชุดอุปกรณ์กันกระแทกขณะที่ปั่นจักรยานหรือสกู๊ตเตอร์ หากพาลูกไปเล่นช่วงเย็นๆ ก็อย่าลืมทายากันยุงให้ลูกน้อยด้วยนะคะ
- พยายามหาเกมที่เสริมสร้างทักษะทางด้านร่างกายให้กับลูกน้อย เช่น การเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว เพื่อฝึกการทรงตัวให้กับเด็กค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ไม่สามารถต่อบล็อกได้มากกว่า 8 บล็อก
- ไม่สามารถถือดินสอหรือสีได้
- ไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าหรือถอดเสื้อผ้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ และล้างมือได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน
ในวัยนี้ เด็กมักจะชอบพูด ชอบถาม และมักจะมีคำถามประหลาดใจมาให้พ่อแม่อยู่เสมอจนบางครั้งคุณแอบคิดไม่ได้ว่าลูกไปเอาความคิดแบบนี้มาจากไหน ทั้งยังชอบที่จะมอบความสนุกสนานบันเทิงให้กับคนในบ้านด้วยการร้องเพลงและเต้นไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการ ดังนี้
- สร้างคำในแบบของตัวเอง
- รู้จักซ้ายขวา
- รู้จักวิธีการทำงานของสิ่งของ เช่น เปิดขวดน้ำได้
- มีเข้าใจเกี่ยวกับช่วงของเวลา เช้า สาย บ่าย เย็น
- สามารถเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
- สามารถจดจำชื่อของตัวเอง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่ได้
- เข้าใจคำสั่งของพ่อแม่ เช่น แปรงฟันก่อนนอน
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ลูกกำลังเรียนรู้คำสั่งมากขึ้น ดังนั้นเวลาที่คุณแม่ขอให้ลูกช่วย หรือสั่งให้ลูกทำอะไรควรบอกให้ชัดเจน
- เมื่อลูกทำความดี หรือทำตามที่สั่ง พ่อแม่ควรพูดขอบคุณหรือชื่นชมเพื่อให้ลูกรู้สุกภูมิใจในตัวเอง
- ให้ลูกได้เล่นของเล่นง่ายๆ ที่เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- ให้ลูกได้ลองเล่นของเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้นบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มีรู้สึกท้าทายมากขึ้น
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- มีความกลัวหรือเขินอายมากๆ หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว
- ไม่สามารถอยู่นิ่ง หรือจดจ่อกับสิ่งของได้นานกว่า 5 นาที
- ไม่สามารถพูดชื่อ-นามสกุลตัวเองได้
- ไม่แสดงอารมณ์ หรือมักซึมเศร้าอยู่บ่อยๆ
- มีท่าทางเหม่อลอย พูดไม่รู้เรื่อง
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน
เด็กจะได้เรียนรู้พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมจากการได้เล่นกับเพื่อน ๆ ได้รู้จักการแบ่งปัน การรอคอย และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการ ดังนี้
- รู้จักกฎระเบียบกติกาที่ใช้ร่วมกัน
- สามารถแสดงอารมณ์ทางลบทางด้านวาจาแทนการใช้ร่างกาย
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- หากคุณเห็นว่าลูกเกิดการขัดแย้งกับเพื่อนก็อย่าเพิ่งที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน แล้วพ่อแม่ค่อยเข้าไปเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
- กระตุ้นให้ลูกแสดงออกทางความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นด้านลบหรือด้านบวก
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- มีความวิตกกังวล แปลกแยกจากเพื่อนๆ
- ไม่ต้องการเล่นกับเด็กคนอื่น
- ไม่มีการสบตาหรือไม่มีการพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่น
พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน
เด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน จะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 100.3 – 107.9 ซม. และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 15.4 – 17.9 กก. ซึ่งโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเด็กและการเรียนรู้ของเด็ก คุณควรให้ลูกได้ลองอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารที่แตกต่างกันออกไป โดยสารอาหารที่ลูกควรได้รับต่อวัน ดังนี้
สารอาหารทีต้องการ | จำนวนที่ต้องการ | แหล่งของสารอาหาร |
แคลเซียม | 1000 มก. | นม 3 แก้ว |
วิตามินดี | 600-1000 IU (หน่วยสากล) | แดดยามเช้าประมาณ 1 ชม. |
เหล็ก | 10 มก. | ธัญพืชโฮลเกรน 1 ถ้วย หรือถั่ว 1 กำมือ |
วิตามินซี | 25 มก. | ส้มหรือบล็อกโคลี่ครึ่งถ้วย หรือสตอว์เบอร์รี่ 3 ลูก |
วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 4 ขวบ 7 เดือน
- วัคซีนที่จำเป็น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
- วัคซีนเสริม
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
- วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
- วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- น้ำหนักของลูกมีการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน
- มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
- มีผื่นไม่หาย หรือมีอาการเจ็บปวดบริเวณผิวหนัง
- มีไข้สูงไม่ลดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก – 3 ขวบ จากฮาวาร์ด พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างไร
ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก เด็กแรกเกิด–4 เดือน วิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย
วิธีเลือกหนังสือให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย ลูกอายุเท่านี้อ่านหนังสือแบบไหนดี