พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี 2 เดือน เติบโตแค่ไหน... เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ลูกรักก็เติบโตถึงวัย 6 ขวบ 2 เดือนแล้ว ช่วงวัยนี้ จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง เช็คเลย!

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน เป็นอย่างไร ลูกเติบโตสมวัยหรือไม่

ลูกน้อยตัวเล็ก ๆ ในวันก่อน วันนี้เติบโตขึ้นมากแล้ว เด็กในวัย 6 ขวบ 2 เดือน เริ่มเรียนรู้ชีวิตในวัยประถมศึกษา ตอนเด็ก ๆ บางคนมีนิสัยเขินอาย แต่โตขึ้นมาช่างพูดช่างเจรจา ชอบทำความรู้จักคนใหม่ ๆ อยากมีเพื่อนใหม่

พฤติกรรมและนิสัยของลูกก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เริ่มอยากมีอิสระ มีการแสดงความคิด ความฉลาด แสดงอารมณ์มากขึ้น และแน่นอนว่า ลูกจะอยากทำอะไรด้วยตัวเอง ปฏิเสธพ่อแม่ที่ยื่นมือมาให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะบอกถึงพัฒนาการสำคัญของเด็กในวัยนี้ แต่ถ้าลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่า หรือยังทำไม่ได้ ก็ควรให้เวลาลูกสักหน่อย เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่กังวลมาก ๆ แนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์

 

พัฒนาการด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

เด็กในวัย 6 ปี 2 เดือน สามารถใช้ทักษะพื้นฐานทางการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ทั้งการกระโดด ขว้างปา เตะ และจับ ทำให้เล่นกีฬาได้อย่างสบาย ๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหว

วัยนี้เด็กจะเริ่มฉายแววความชอบและความสามารถด้านกีฬา เช่น การเล่นฟุตบอล และการเล่นบาสเกตบอล ซึ่งกีฬาต่าง ๆ จะสอนทักษะทางด้านสังคม อย่างการเล่นเป็นทีมเวิร์ค ภาวะผู้นำ และระเบียบวินัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกจะต้องเรียนรู้ในโรงเรียน ทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในอนาคตอีกด้วย

นอกเหนือจากนั้น การทำกิจกรรม เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ยังดีต่อพัฒนาการทางสมอง ช่วยพัฒนาการทำงานของหน่วยความจำ และช่วยเสริมทักษะพัฒนากล้ามเนื้ออีกด้วย

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ส่วนสูง : 116.73 เซนติเมตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนัก : 21.17 กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ 2 เดือน

ส่วนสูง : 116.2 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20.7 กิโลกรัม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวที่เด็ก 6 ขวบ 2 เดือนสามารถทำได้

  • ใช้ทักษะทางร่างกายขั้นพื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็น การกระโดด ข้างปาลูกบอล เตะบอล หรือจับลูกบอล
  • ฝึกว่ายน้ำหรือเรียนว่ายน้ำได้แล้ว
  • อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำงานประสานกันได้ดีขึ้น ทรงตัวได้ดี
  • ยืนกระต่ายขาเดียวได้นานกว่า 9 นาที
  • ขว้างปาและจับลูกบอลเล็ก ๆ ได้คล่อง
  • จดจำ เข้าใจจังหวะ และท่วงทำนองของดนตรี สามารถโบกไม้โบกมือ หรือโยกตัวตามจังหวะได้

เคล็ดลับด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือพาลูกไปเล่นกีฬา
  • ในแต่ละวัน ลูกควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ในการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
  • ลูกต้องเรียนรู้ในการวอร์มร่างกาย ยืด เหยียด ก่อนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
  • สอนให้ลูกรู้เรื่องโภชนาการและสารอาหารสำคัญ ในระหว่างที่เดินตลาด หรือไปช้อปปิ้งตามซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • จำกัดเวลาในการเล่นมือถือ แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์ ไม่ให้เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากร่างกายลูกมีปัญหาด้านการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา หรือทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ ไม่เหมาะสมกับวัย
  • ลูกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้ เช่น ลูกยังใส่ถุงเท้า รองเท้า เองไม่ได้
  • เมื่อลูกสูญเสียทักษะบางอย่างที่ลูกเคยทำได้

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ลูกน้อยวัย 6 ปี 2 เดือน มีการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว ได้พัฒนาทักษะทางจิตใจ และเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ในทุกวัน สำหรับความสามารถทางการเรียนรู้ของลูก ยังได้เปลี่ยนจากการสังเกตในวัยเยาว์ เป็นการมีประสบการณ์ เพราะลูกได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เจ้าหนูน้อยจะพูดคุย ช่างซักช่างถามมากขึ้นกว่าตอนเป็นเด็ก ลูกจะสังเกตบรรยากาศรอบตัวเสมอ และมักจะถามโพล่งออกมาบ่อย ๆ เมื่อมองเห็นบางอย่าง ได้ยินบางเรื่อง หรือมีประสบการณ์ในบางสิ่ง ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรอดทนในการตอบคำถามของลูกน้อยที่พรั่งพรูออกมาอย่างใจเย็น และคอยบอกตัวเองเอาไว้ว่า คำถามของลูก เป็นวิธีที่ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของโลกใบนี้

อีกพัฒนาการสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะประหลาดใจคือ ลูกน้อยจะอยากแก้ไขปัญหาคนเดียว ลองทำอะไรคนเดียว ทำกิจกรรมคนเดียว เพราะลูกได้เรียนรู้และฝึกทักษะต่าง ๆ ในโรงเรียน ซึ่งลูกต้องแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพียงลำพังโดยไม่มีพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • เรียนรู้การตั้งคำถามที่สำคัญ ๆ
  • มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
  • รับรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ได้ดียิ่งขึ้น
  • แสดงความสนใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ สังเกตสิ่งรอบตัวมากขึ้น
  • สามารถรับมือกับงานที่ซับซ้อนมากขึ้น หรือทำการบ้านที่ยากขึ้นได้ดี
  • เพลิดเพลินกับความท้าทายในเกมต่าง ๆ และปริศนาคำทาย

เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรใจเย็น ๆ และตอบคำถามของลูก แม้ว่าลูกจะถามทุกอย่าง แทบทุกชั่วโมง
  • ฝึกให้ลูกทำโจทย์คณิตศาสตร์ หรือชวนลูกนับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นการฝึกการนับเลข
  • หามุมเงียบ ๆ ให้ลูกได้ทำการบ้าน
  • อย่าบังคับให้ลูกเรียนมากเกินไป
  • ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นอย่างสร้างสรรค์
  • พาลูกไปดูสถานที่ที่น่าสนใจอย่างพิพิธภัณฑ์ หรือพาลูกไปทำกิจกรรมสนุก ๆ นอกห้องเรียน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ลูกปฏิเสธที่จะช่วยเหลือตัวเองอย่างง่าย ๆ เช่น การแต่งตัวเอง
  • หากลูกยังจำชื่อของตัวเองไม่ได้
  • ถ้าลูกไม่ชอบพูดคุยกับคนอื่น ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร
  • นับเลข 1-10 ไม่ได้
  • ลูกยังพูดคำยาว ๆ ไม่ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ลูกในวัย 6 ขวบ 2 เดือน ชอบที่จะสร้างเพื่อนใหม่ และเริ่มเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์มากขึ้น รู้จักวิธีดูแลความสัมพันธ์ของตัวเองและเพื่อน ๆ ทั้งยังรู้เรื่องคุณค่าของการแบ่งปันและการแสดงความขอบคุณ ลูกยังชอบที่จะแบ่งปันของเล่นให้กับเพื่อนเล่น หรือแบ่งขนมให้กับคนในครอบครัวอีกด้วย นอกจากนี้ ลูกยังแสดงความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจนขึ้น ดีใจ เศร้า เสียใจ ก็แสดงออกมาได้ทันที โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องเดา

พัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมเด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • ชอบที่จะแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกออกมา
  • กระตือรือร้นในการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ
  • เข้าใจถึงคุณค่าของการเป็นทีมเวิร์ค หรือทำงานเป็นทีม
  • สนใจเรื่องมิตรภาพและความสัมพันธ์
  • เมื่อพบเจอคนแปลกหน้า อาจมีอาการลังเลหรือกลัวเล็กน้อย

เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • ถามลูกทุกวันว่าวันนี้เป็นอย่างไร เพื่อเช็คดูว่าลูกรู้สึกอะไรอยู่
  • กระตุ้นให้ลูกแสดงความรู้สึกออกมาทางคำพูด
  • อธิบายให้ลูกเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งกัน
  • สอนเรื่องความเคารพ การแสดงความขอบคุณ และกตัญญู
  • ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูก และชมเชยเวลาที่ลูกทำดี
  • บอกให้ลูกรู้จักระวังตัวกับคนแปลกหน้า และบอกพ่อแม่เวลาที่มีคนมาสัมผัสร่างกาย แล้วทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ
  • เป็นต้นแบบที่ดีเรื่องมารยาท เพื่อสอนให้ลูกรู้จักคำว่า มารยาท

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • เมื่อลูกไม่อยากอยู่ห่างพ่อแม่เลย
  • ลูกปฏิเสธที่จะเล่นหรือพูดคุยกับเพื่อนในวัยเดียวกัน
  • ไม่อยากแบ่งปันอะไรให้ใครเลย
  • ถ้าลูกขี้อายมาก ๆ หรือแสดงอาการก้าวร้าวออกมา

 

พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

เด็กในวัยนี้จะสามารถสื่อสารความต้องการออกมาได้แล้ว มีความมั่นใจในการพูดคุย ใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ และเรียบเรียงประโยคได้ดี คำบางคำที่เคยออกเสียงไม่ได้ ก็จะพูดได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังแสดงออกถึงความสนใจ และความกระหายใคร่รู้ในเรื่องการเรียน การอ่านและการเขียน

พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร เด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • มีทักษะในการใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ ที่แสดงออกถึงสิ่งที่ตัวเองสนใจ ใช้คำสะท้อนความคิด แสดงความรู้สึก และอธิบายลงลึกในรายละเอียดบางอย่างได้
  • ออกเสียงตามวรรณยุกต์ได้แล้ว พูดคำต่าง ๆ ชัดขึ้นอีกด้วย
  • เรียบเรียงประโยคได้ดี
  • เข้าใจเรื่องการใช้คำ
  • ชอบถามถึงความหมายของคำใหม่ ๆ หรือประโยคที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • พูดกับลูกให้ช้าลง
  • เปิดเพลงให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษา
  • เปลี่ยนคำถามในทุกวัน เพื่อให้ลูกฝึกอธิบาย ใช้คำศัพท์ และสร้างประโยค การกระตุ้นให้ลูกพูดด้วยการตั้งคำถาม ยังช่วยให้พ่อแม่ได้รู้เรื่องลูกมากขึ้นอีกด้วย
  • สอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูกเสมอเมื่อมีโอกาส และอย่าลืมอธิบายถึงความหมายของคำนั้น
  • ตั้งคำถามบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษา

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือ
  • จดจำเรื่องทิศทางง่าย ๆ ไม่ได้ เดินตามป้ายบอกทางไม่ถูก
  • พูดตะกุกตะกักหรือพูดติดอ่าง
  • ถามซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ทั้งที่พ่อแม่บอกไปแล้วหลายครั้ง
  • จดจำสิ่งที่บอกไปไม่ได้เลย ทั้งที่พูดด้วยคำง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ

 

สุขภาพและสารอาหาร

ลูกในวัย 6 ปี 2 เดือน จะรู้ว่าตัวเองชอบกินอะไร ไม่ชอบกินอะไร ถ้าพ่อแม่บังคับให้ลูกกิน ลูกก็จะต่อต้านอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับตอนเป็นเด็ก ๆ แต่พ่อแม่ก็ห้ามละเลยที่จะทำอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อให้ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างสมวัย แข็งแรง ซึ่งปริมาณแคลอรี่ ที่ควรได้รับต่อวัน อยู่ราว ๆ 1,200 ถึง 2,000 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกทำในแต่ละวันว่ามากน้อยอย่างไร

สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ลูกควรดื่มนม และได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสม ผัก ผลไม้ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกต้องบริโภคให้ได้ทุกวัน ร่างกายจะได้รับวิตามินที่หลากหลาย ทั้งยังช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูกน้อยอีกด้วย

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่

เด็กผู้ชายต้องการ 1,766 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,657 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 2 เดือน

  • พ่อแม่ควรหมุนเวียนเมนูใหม่ ๆ ให้ลูกได้ลิ้มลอง จะช่วยให้เด็กไม่เบื่ออาหาร
  • ควรมีเวลารับประทานอาหารที่แน่นอน
  • ลูกควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรให้ลูกทานอาหารมากเกินไป
  • ในบ้านไม่ควรมีขนม ของหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน มากเกินไป
  • ถ้าอยากให้ลูกเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีเสียก่อน

อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว

ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562

 

ที่มา : sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

10 แอพเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม

จะรู้ได้ยังไงว่าโรงเรียนนี้ดี? คำแนะนำช่วยเลือกโรงเรียนให้ลูก

 

บทความโดย

Tulya