ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับใครที่กำลังวางแผนมีเจ้าตัวเล็กต้องฟังทางนี้ การเข้ารับ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ นั้นถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างมาก เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันนะคะ เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไร หลายคนอาจสงสัยในข้อนี้ และจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปรับการตรวจสุขภาพค่ะ

 

โรคทางพันธุกรรมคืออะไร

พญ.วีณา ครุฑสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก กล่าวว่า โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของยีนหรือโครโมโซม เป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้แต่เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้น  โรคทางพันธุกรรมเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากฝั่งพ่อหรือแม่พบได้ 3-5% ของประชากรทั่วไป โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยและมักทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจอยู่เสมอ คือ โรคธาลัสซีเมีย และโรคดาวน์ซินโดรม

 

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำอย่างมากเลยค่ะ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ไว้วางใจคู่ครองของเรานะคะ  แต่การตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นพาหะต่าง ๆ ที่อาจจะแอบแฝงอยู่ในร่างกาย  แม้คุณและคู่สมรสจะไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงก็ตาม การตรวจสุขภาพก่อน ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก ๆ ก็เพื่อป้องกันการติดโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส  และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูก ซึ่งมีพ่อแม่บางคนอาจจะเป็นพาหะนำโรคโดยที่ไม่รู้ตัว

 

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจสุขภาพ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

1. ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย นอน 6-8 ชั่วโมง เนื่องจากการนอนไม่พออาจส่งผลต่อความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. งดการสูบบุหรี่ก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูง

3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อการตรวจ

4. หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพ ควรนำเอกสารติดตัวมาด้วย เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์

5. งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ ทั้งนี้ สามารถจิบน้ำเปล่าได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. ยาประจำตัว สามารถทานก่อนตรวจสุขภาพได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ

7. เมื่อตรวจสุขภาพเรียบร้อยแล้ว สามารถทานอาหารได้ทันทีและไม่ทำให้ร่างกายอิดโรย

8. หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ และควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายและสะดวกต่อการเจาะเลือด

9. โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้หญิง ซึ่งจะเป็นการตรวจสารเพื่อบ่งชี้มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ แนะนำให้เว้นช่วงตรวจก่อน และหลังมีประจำเดือนประมาณ 7 วันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10. หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ

11. สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาความเสี่ยงเฉพาะโรค ควรปรึกษาศูนย์ตรวจสุขภาพก่อน เพื่อรับทราบเงื่อนไขการเตรียมตัวอย่างครบถ้วนก่อนเข้ารับการตรวจ

12. หากโปรแกรมสุขภาพมีการตรวจปัสสาวะ ควรปัสสาวะทิ้งเล็กน้อยก่อน แล้วจึงเก็บปัสสาวะตรงช่วงกลางตามปริมาณที่กำหนด

 

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์  มีขั้นตอนดังนี้

1. ซักประวัติ

ถือเป็นการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป็นการสอบถามทั่วไป หรือไม่ก็สอบถามถึงปัญหาในปัจจุบัน ได้แก่  ประวัติการคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ๆ  ประวัติการตรวจมะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติเกี่ยวกับรอบประจำเดือน ประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่

 

 

2. การตรวจร่างกายทั่วไป

เป็นการตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งคู่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยคุณหมอจะตรวจดูว่ามีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ  การตรวจเช่นนี้จะตรวจทั่วไป คือ

  • การวัดส่วนสูง
  • ชั่งน้ำหนัก
  • วัดความดันโลหิต
  • ตรวจระบบหายใจ
  • ตรวจระบบหัวใจ
  • ตรวจเต้านม
  • ตรวจหน้าท้อง
  • ตรวจภายใน (กรณีมีความจำเป็น)
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก

หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด   ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : การตรวจสุขภาพ ผู้หญิงในไทยจะก้าวไปอีกขั้น กับชุดตรวจเลือดที่ตรวจได้เองที่บ้าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ตรวจกรุปเลือด ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

  • ให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุปใด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
  • ตรวจความเข้ากันของเลือด Hemoglobin Tying เพื่อหาความผิดปกติของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ว่ามีความผิดปกติของโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือเปล่า เพราะว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม และเป็นโรคที่ตรวจเจอบ่อยมาก หากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ก็จะส่งผลกระทบเรื่องสุขภาพของลูกไปด้วยค่ะ
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากพบว่ามีเชื้อแสดงว่าคุณเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด ถ้าหากไม่มีการป้องกันให้ดีอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อได้
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อยสามเดือน เพราะหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ หากพบเชื้อจะได้ป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย  และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่ลูก

 

4. การตรวจภายใน

การตรวจภายใน ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ โดยเน้นการตรวจเพื่อดูว่า มดลูกและรังไข่ปกติดีอยู่หรือเปล่า รวมทั้งตรวจช่องคลอด เพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น อาจมีการอักเสบ มีเนื้องอกของมดลูกหรือรังไข่ มีพังผืดหรือมีถุงน้ำในรังไข่ เป็นต้น

 

 

5. การตรวจพิเศษอื่น ๆ

ในกรณีนี้ จะถือเป็นกรณีพิเศษ หากคุณหมอตรวจพบความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย จำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น  ตรวจอัลตราซาวนด์  หรือการตรวจส่องกล้อง  เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณหมอ

 

ราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์โรงพยาบาลในกรุงเทพ

โรงพยาบาล

ชาย

หญิง

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

6,300

6,800

โรงพยาบาลพญาไท

3,000

3,500

โรงพยาบาลไทยนครินทร์

2,200

2,700

โรงพยาบาลนนทเวช

3,000

3,500

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

3,200

3,500

โรงพยาบาลพระราม 9

3,000

3,500

โรงพยาบาลสินแพทย์

2,400

2,700

โรงพยาบาลศิครินทร์

2,000

2,300

โรงพยาบาลลาดพร้าว

2,200

2,500

โรงพยาบาลธนบุรี 2

4,092

4,477

โรงพยาบาลสุขุมวิท

2,880

3,280

โรงพยาบาลเทพธารินทร์

2,910

3,610

โรงพยาบาลเจ้าพระยา

2,600

3,100

โรงพยาบาลวิภาราม

2,500

2,800

โรงพยาบาลนครธน

3,000

3,500

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

2,600

2,990

 

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของว่าที่คุณพ่อคุณแม่ และยังทำให้ทราบว่าคุณมีโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ส่งต่อไปยังลูกต่อไป คุณหมอคือผู้ที่จะให้คำแนะนำได้ดีที่สุดกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

NIFTY TEST ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

อยากมีลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร รวมอาหารควรทานและควรงดมีอะไรบ้าง?

ที่มา : 1, 2