10 ลักษณะที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวไม่โต ขาดโปรตีน พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงเป็นกังวลกันอยู่ใช่ไหม? ว่าทำไมลูกน้อยถึงโตช้า ตัวโตไม่ทันเพื่อน เป็นเพราะอะไร วันนี้ทางเราเลยเอา  10 ลักษณะที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวไม่โต ตัวโตไม่ทันเพื่อน มาให้ได้ดูกัน คุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังสงสัยว่าลูกจะมีลักษณะโตช้าหรือเปล่า มาดูกันเลย ว่าจะมีลักษณะแบบไหนบ้าง

 

10 ลักษณะที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวไม่โต เป็นเพราะอะไร

เราทุกคนต่างตระหนักกันดีอยู่แล้วว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนที่เติบโตในอัตราที่เท่ากัน บางคนเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เด็กบางคนอาจจะเติบโตช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันอาจดูเหมือนต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ส่วนสูงหรือน้ำหนัก เพราะเมื่อเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตของเด็ก หลาย ๆ อย่างย่อมมีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งนั้น การเติบโตที่ช้าหรือเร็วกว่าอาจเป็นกรรมพันธุ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น เด็กบางคนอาจเตี้ยหรือผอมเพราะพ่อแม่เตี้ยหรือผอม ทั้งนี้ นิสัยการกินก็ยังส่งผลต่อการเติบโตเช่นกัน เด็กที่รับประทานอาหารได้ไม่ดีหรือขาดสารอาหารจะเติบโตช้าลง

สิ่งใดก็ตามที่จำกัดการเจริญเติบโตตามปกติของเด็กถือเป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโต สำหรับผู้ปกครองสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจความผิดปกติของการเจริญเติบโตเหล่านี้โดยการวัดการเติบโตของลูกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้รู้ว่ามีอะไรผิดปกติกับพวกเขาและสามารถดำเนินการป้องกันได้ทันที ทั้งการเจริญเติบโตช้าและเร็วขึ้นนั้นไม่ดีสำหรับเด็ก และหากคุณไม่ทราบสาเหตุเบื้องหลัง คุณจะพบว่าเป็นการยากที่จะแก้ไข ต่อไปนี้คือปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด 10 ประการที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กมากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก

 

1. ลูกขาดสารอาหาร หรือขาดโภชนาการที่ดี

พ่อแม่หลาย ๆ คนอาจจะตามใจลูกอยู่โดยที่ลูกอยากกินอะไรก็ให้กิน แต่บางครั้งสารอาหารที่ลูกได้รับอาจจะไม่ครบถ้วนหรือน้อยจนเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบได้โดยตรงต่อน้ำหนักตัวของลูก นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นเด็กโตหรือวัยรุ่นอาจจะเกิดจากการรับประทานแคลอรีที่ไม่เพียงพอ หรืออาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น  anorexia nervosa ( โรคความผิดปกติของการกิน ) เป็นต้น

 

2. ลูกได้รับแคลอรีที่ไม่เพียงพอ

ที่พบได้บ่อย ๆ สำหรับปัญหาเรื่องน้ำหนักของลูกน้อยไม่ยอมขึ้น หรือตัวไม่โตเหมือนเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ลูกนั้นได้รับแคลอรีที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกของเราไม่สนใจที่จะกินอาหารจากสาเหตุหลายประการ หรือผู้ปกครองไม่เข้าใจว่าเด็กต้องการแคลอรีเท่าไรต่อวัน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยหัดเดินที่กระฉับกระเฉงและปกติดี แต่ไม่สนใจที่จะกินหรือกินน้อย ส่วนทารกในวัย 2 – 3 เดือนแรก ที่น้ำหนักไม่ขึ้นหรือขึ้นมาน้อยอาจจะเป็นเพราะว่าน้ำนมของแม่นั้นไม่เพียงพอ หรือสูตรนมผงไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะกับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ลูกอาเจียนบ่อยจนเกินไป

การอาเจียนบ่อยจนเกินไปบางครั้งอาจจะทำให้เด็กไม่สามารถที่จะเก็บกักสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเอาไว้ได้ เนื่องจากถ้ามีการอาเจียนมากจนเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดได้จากโรคกรดไหลย้อนรุนแรง หรือปัญหาทางระบบประสาทบางอย่างซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติอื่น ๆ ได้หลากหลายที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร

ทารกส่วนใหญ่ที่มีอาการของกรดไหลย้อนที่ไม่รุนแรง อาจมีแนวโน้มที่อาการจะดีขึ้นและหายไปเองได้ซึ่งไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต แต่โดยทั่วไปทารกที่มีอาการอาเจียนมากจนเกินไป อาจเกิดได้จากช่องทางออกของกระเพาะอาหารที่ตีบลง ซึ่งเรียกว่า (Pyloric Stenosis) ซึ่งถือเป็นความพิการแต่กำเนิด และต้องมีการประเมินพิเศษซึ่งรวมถึงอัลตราซาวนด์ช่องท้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ลูกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นในโครโมโซม ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้ และก่อให้เกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ซึ่งความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้เช่นกัน

5. ลูกมีปัญหาทางช่องปาก หรือระบบประสาท

เมื่อลูกมีปัญหาทางช่องปาก หรือระบบประสาท อาจจะทำให้ลูกรับประทานอาหารได้ไม่ดี ปัญหาดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการกลืนซึ่งอาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น สมองพิการ หรือเพดานโหว่ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ทำการวินิจฉัยเพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม

 

6. ลูกมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

เมื่อลูกมีความผิดปกติของทางเดินอาหารจะส่งผลต่อเยื่อบุลำไส้ หรือมีความเจ็บปวดด้วยโรคในกลุ่ม โรคลำไส้อักเสบที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมักที่จะมีอาการปวดท้อง หรือท้องร่วง เช่น Crohn’s disease ( โรคโครห์น ) เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7. ลูกความผิดปกติของตับอ่อน

ลูกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับอ่อนจะไม่สามารถย่อยอาหารได้ง่ายเหมือนกันเด็กทั่วไป ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักตัวของลูกน้อยไม่ขึ้นได้เช่นกัน ในสถานการณ์นี้เด็กอาจจะมีอุจจาระขนาดใหญ่ เป็นฟอง และมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเมื่อลูกมีอาการเช่นนี้ควรได้รักการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อที่จะรับการรักษาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมต่อไป

 

8. ลูกมีปัญหาของต่อมไทรอยด์ และเมตาบอลิซึม

มีปัญหาของต่อมไทรอยด์และเมตาบอลิซึม ในบางสถานการณ์ร่างกายของเด็กอาจมีการเผาผลาญแคลอรีที่มากจนเกินไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณส่วนหน้าของคอ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในเรื่องของการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่จะช่วยในเรื่องการควบคุมระบบเมตาบอลิซึม หรือการเผาผลาญพลังงานของร่างกายนั้นเอง

 

9. ลูกมีความผิดปกติของไต

เมื่อลูกมีความผิดปกติของภาวะไตวาย หรือความผิดปกติอื่น ๆ ของไต จะมีส่วนที่ส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก และส่วนสูงของลูกด้วย แต่เป็นสาเหตุที่พบได้ยาก หรือไม่บ่อย

 

10. ลูกมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เด็กที่มีอาการป่วยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดอาจจะมีอาการ เบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อย และมีอาการอาเจียนบ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะเขียว และผลข้างเคียงของยาในการรักษาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง

 

ตารางการเติบโตของลูก

ตารางอัตราการเพิ่มความสูงของเด็กชายและเด็กหญิงในแต่ละวัย

อายุ ความสูง
แรกเกิด – 1 ปี ประมาณ 25 เซนติเมตร/ปี
1 – 2 ปี ประมาณ 12 เซนติเมตร/ปี
2 – 3 ปี ประมาณ 7 เซนติเมตร/ปี
4 ปี – ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น ประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร/ปี
เด็กหญิง > 8 ปี ประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร/ปี
เด็กชาย > 9 ปี ประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร/ปี

 

ตารางการวัดว่าเด็กมีน้ำหนักปกติหรือไม่

อายุ น้ำหนัก
แรกเกิด ประมาณ 3 กิโลกรัม
4-5 เดือน ประมาณ 4-5 กิโลกรัม
1 ปี ประมาณ 9 กิโลกรัม
2 ปี ประมาณ 12 กิโลกรัม
2-5 ปี ประมาณ 2.3-2.5 กิโลกรัม/ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คำแนะนำเรื่องอาหารเมื่อลูกมีน้ำหนักน้อยหรือโตช้า

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารกับการเจริญเติบโต การเลือกกินที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญต่อารเจริญเติบโตของลูกน้อย แถมยังช่วยให้ลูก ๆ ของเรามีสุขที่ดีอีกด้วย ลักษณะอาหารที่ควรให้เด็ก ๆ ได้ทานคือ

  • ควรให้เด็กรับประทานให้ครบ 5 หมู่ คือข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้ อย่างสมดุล
  • ควรให้ลูกรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
  • ให้ลูกดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอต่อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  • ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมากจนเกินไป
  • ควรจำกัดอาหารพวกน้ำอัดลม และของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ

 

2. ไม่ให้นมลูกมากจนเกินไป

เมื่อลูกอายุเกิน 1 ปี ควรให้ลูกรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น คุณควรที่จะลดปริมาณลงเหลือวันละ 3 -4 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น

 

3. ให้ลูกงดอาหารหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อ

ให้ลูกงดอาหารหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อ เพราะเมื่อลูกอายุเกิน 1 ปี ควรให้ลูกรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ มากจนเกินไปเพราะจะทำให้ลูกอิ่มและรับประทานอาหารได้น้อยลง หากว่าจะให้ลูกทานหรือลูกร้อนทานจริง ๆ คุณควรให้ลูกกินหลังอาหารจะดีกว่า

 

4. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้บ่อย ไม่ซ้ำกันนานเกินไป

ปรับเปลี่ยนลักษณะเมนูอาหารให้แตกต่าง ไม่ควรรับประทานเมนูซ้ำๆ บ่อยๆ เด็กอาจเบื่อ ทำให้ปฏิเสธอาหารได้

 

5. ให้ลูกนอนให้เพียงพอ

ควรให้ลูกนอนหลับพักผ่อนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง การที่ลูกนอนดึกหรือนอนไม่เพียงพอจะทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่และในช่วงเวลาการนอนตั้งแต่เวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายมีการหลั่ง growth hormone ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กนมแม่น้ำหนักน้อย ลูกเป็นเด็กนมแม่ล้วน แต่น้ำหนักน้อยจนตกเกณ์ แก้ไขยังไงดี

แม่ให้นมต้องกินเพิ่มมากแค่ไหน โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร ควรกินอะไรบ้าง

กินน้อยหรือมากเกินไปลูกไม่โต วิกฤติหนักเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : health.clevelandclinic , bumrungrad , samitivejhospitals

บทความโดย

Kittipong Phakklang