แชร์บอล ช่วยฝึกทักษะของลูกด้านใด พร้อมกฎและกติกาในการเล่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แชร์บอล เป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถเล่นบนพื้นที่จำกัดและเล่นได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง อีกทั้งกติกาการแข่งก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยจะเห็นได้ว่ากีฬาแชร์บอลนิยมเล่นและจัดแข่งขันกันในระดับโรงเรียน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย วันนี้เราจึงจะขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไปรู้จักกับกีฬา แชร์บอล ให้มากยิ่งขึ้น

 

อุปกรณ์สำหรับการเล่นแชร์บอล

1. เก้าอี้ไม่มีพนักพิง

2. ตะกร้าทรงสูง ขนาด 30 - 35 เซนติเมตร

3. ลูกบอล

4. นาฬิกาสำหรับจับเวลา

5. ป้ายคะแนน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. ใบบันทึกการแข่งขัน

7. นกหวีดหรือระฆัง สำหรับใช้เป็นสัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน

บทความที่น่าสนใจ : แบดมินตัน ดีต่อเด็กอย่างไร ? พร้อมเหตุผลที่พ่อแม่ควรให้ลูกเล่น !

 

ภาพจาก shutterstock.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการเล่นแชร์บอล

การเล่นแชร์บอลประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 7 คน โดยมีผู้เล่นสำรองอีกฝ่ายละ 5 คน การเล่นแชร์บอล ไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนเหมือนฟุตบอล หรือบาสเกตบอล และเนื่องจากสนามแชร์บอลค่อนข้างเล็ก ผู้เล่นในสนามจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ตลอดเวลา ยกเว้นสองตำแหน่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ผู้เล่นที่ถือตะกร้า และผู้เล่นที่ป้องกันตะกร้า

โดยผู้เล่นแต่ละคนในทีมจะมีชื่อเรียกตำแหน่ง และหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

1. ผู้ป้องกันตะกร้า มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลูกลงตะกร้า ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องรูปร่างสูง และมีทักษะการกระโดดที่ดี เพื่อจะทำให้ได้เปรียบในการป้องกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. กองหลังด้านซ้ายและขวา มีหน้าที่หลักในการป้องกันการทำประตูของอีกฝ่าย ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องรูปร่างสูง

3. กองกลาง จะต้องเป็นผู้เล่นที่มีความคล่องตัวสูง รวดเร็ว ว่องไว มีทักษะการรับ ส่งบอลที่ดี และต้องสามารถทำประตูระยะไกลได้ดี

4. กองหน้าด้านซ้าย และขวา มีหน้าที่ทำ ประตู รูปร่างได้ทั้งตัวเล็ก และตัวสูง แต่ต้องเป็นผู้เล่นที่มีทักษะการยิงประตูที่ แม่นยำ ยิงประตูระยะใกล้ และระยะไกลได้ดี

5. ผู้ถือตะกร้า มีหน้าที่ถือตะกร้าเพื่อรับบอลจากเพื่อนร่วมทีมโดยจะต้องยืนอยู่บนเก้าอี้ตลอดเวลา

 

ภาพจาก shutterstock.com

 

กติกาในการเล่นแชร์บอล

  • ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
  • ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลได้ในเวลา 3 วินาที
  • กติกาของผู้ถือตะกร้า
  • ผู้ถือตะกร้าต้องอยู่บนเก้าอี้พร้อมกับถือตะกร้า ตลอดเวลา
  • ผู้ถือตะกร้าสามารถเคลื่อนไหวตะกร้าได้ทุกลักษณะ
  • ผู้ถือตะกร้าต้องใช้ตะกร้ารับลูกบอล จากการยิงประตูเท่านั้น
  • ผู้เล่นสามารถ จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือ ขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวเหนือเอวขึ้นไป
  • ผู้เล่นสามารถครอบครองลูกบอลหรือกด ลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยน ลูกบอลขึ้นไปในอากาศได้ โดยใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาที
  • ในกรณีที่ผู้เล่นถูกป้องกันแบบประชิด ผู้เล่นจะต้องส่งบอลภายในเวลา 3 วินาที
  • ผู้เล่นสามารถถือลูกบอล และเคลื่อนไหวไปมาได้ ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
  • คะแนนที่ได้จากการยิงประตู มีค่า 2 คะแนน ส่วนคะแนนที่มาจากการยิงจุดโทษ มีค่า 1 คะแนน
  • ฝ่ายที่ทำคะแนนได้มากกว่าจนหมดเวลาการแข่งขัน จะเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขัน

บทความที่น่าสนใจ : บาสเกตบอล ดีต่อเด็กอย่างไร เล่นบาสช่วยเพิ่มความสูงได้จริงหรือไม่

 

เวลาการแข่งขัน

เวลาการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที เวลาการแข่งขันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมกับนักกีฬา โดยแต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที หากทีมใดที่มาแข่งขันช้ากว่ากำหนดเวลาการแข่งขัน 15 นาที จะถูกปรับแพ้ทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประโยชน์จากการเล่นแชร์บอล

  • ช่วยฝึกทักษะพื้นฐานของการเล่นกีฬา ที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายรวมกับความแม่นยำในการโยนบอล
  • ช่วยฝึกสมาธิให้เป็นคนคิดเร็วทำเร็ว เนื่องจากการเล่นกีฬาประเภทนี้จะมีเวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้นเมื่อลูกมาถึงมือ หากคิดช้าจะทำให้ต้องเปลี่ยนฝั่งครองบอลทันที
  • ทำให้เด็ก ๆ มีประสาทสัมผัสที่ดีขึ้น
  • ช่วยสร้างความสามัคคีให้แก่คนในทีม
  • ฝึกทักษะการวางแผน เนื่องจากต้องวางแผนการเล่นอย่างไร เพื่อให้ทีมชนะ และประสบความสำเร็จได้
  • ช่วยสร้างความสนุกให้กับเด็ก ๆ
  • ได้รู้จักแพ้ รู้จักชนะ

 

ภาพจาก shutterstock.com

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

เทควันโด กีฬาสุดฮิตดีต่อลูกอย่างไร? เรียนเทควันโดได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?

5 วิธีป้องกันลูกที่ชอบเล่นกีฬา ไม่ให้บาดเจ็บ วิธีรักษาดูอาการลูก

วิ่งผลัด ดีอย่างไร ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านไหนบ้าง ?

 

ที่มา :hilight.kapook,nanitalk

 

บทความโดย

watcharin