ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องปลดล็อกพืชกัญชาพ้นบัญชียาเสพติด นอกจากนี้กฎหมายยังระบุว่า ห้ามจำหน่ายให้สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กัญชาจะไม่มีสถานะเป็นพืชเสพติดอีกต่อไป ความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีไว้ในครอบครอง จำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพพืชกัญชา ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต้องยกเลิก การใช้กัญชา รวมถึงการสูบก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายยาเสพติด ผู้ที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าแล้วแบบนี้ แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม จะเป็นอันตรายหรือไม่ จะส่งผลเสียหรือผลดีต่อลูกน้อยมากกว่ากัน เราหาข้อมูลมาให้แล้วค่ะ
แม่ท้องกับกัญชา แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม
การใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้ เพราะสารเคมีในกัญชา (โดยเฉพาะ tetrahydrocannabinol หรือ THC) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผู้ใช้กัญชารู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนเมา จะส่งผ่านระบบในร่างกายของคุณแม่ไปยังทารก และอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารก แม้ว่ายังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจว่ากัญชาจะส่งผลต่อคุณและทารกในระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร แต่ขอแนะนำว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้กัญชาในทุกกรณีค่ะ
งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้กัญชาในขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในทารกแรกเกิด รวมถึงน้ำหนักแรกเกิดที่ลดลง และพัฒนาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ นอกจากนี้การหายใจรับควันกัญชาก็อาจส่งผลเสียต่อคุณแม่และลูกน้อยได้เช่นกัน ควันกัญชามือสองประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นพิษ และก่อให้เกิดมะเร็งหลายชนิดที่พบในควันบุหรี่ (THC) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางจิตซึ่งอาจส่งผ่านไปยังทารกผ่านการสูบบุหรี่มือสองได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ก่อนปลอดภัยก่อน!! อาหารจากกัญชา ให้โทษหรือมีประโยชน์กันแน่
https://www.youtube.com/watch?v=D376jLWytuo
วิดีโอจาก : CH7HD News
ใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทารกหลังคลอดหรือไม่ ?
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของกัญชาต่อพัฒนาการของสมอง แต่การศึกษาแนะนำว่าการใช้กัญชาโดยคุณแม่ตั้งครรภ์อาจเชื่อมโยงกับปัญหาด้านความสนใจ ความจำ ทักษะการแก้ปัญหา และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ได้ในภายหลัง
ผลกระทบของกัญชาต่อทารกในครรภ์
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ทารกน้ำหนักน้อย
- อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด
- ภาวะตายคลอด
- พัฒนาการทางระบบประสาท และสมองไม่สมบูรณ์
ผลกระทบต่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
- ปอดจะไม่แข็งแรงเพราะควันจากกัญชา
- คุณแม่อาจจะเวียนหัว จนลื่นล้ม เกิดอุบัติเหตุได้
- ระดับออกซิเจนลดลง
การใช้กัญชาระหว่างให้นมลูก
แม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาระหว่างให้นมบุตร รายงานจากรัฐโคโลราโด (สหรัฐอเมริกา) เปิดเผยว่า 4% ของมารดาที่อายุน้อยกว่าหรือแก่กว่า 30 ปีเป็นผู้ใช้กัญชา จากประชากรกลุ่มนี้ 18% ใช้กัญชาระหว่างให้นมลูก เนื่องจากการออกกฎหมายการใช้กัญชาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และทางการแพทย์ สัดส่วนของผู้หญิงที่ให้นมบุตรที่ใช้กัญชาจึงเพิ่มขึ้นอย่างกังวลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าผู้หญิงบริโภคกัญชาแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการวินิจฉัยโรคการใช้กัญชา (CUD) ที่ไม่ลดลงในระหว่างการให้นม
สาร THC จึงส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ได้อย่างง่ายดาย รายงานการมีอยู่ของสาร THC ในนมแม่เผยแพร่โดย Pérez-Reyes et al ซึ่งตรวจพบความเข้มข้นของสาร THC ของนมในสตรีที่สูบกัญชาระหว่างให้นมลูก สูงถึง 7.5 เท่าของความเข้มข้นของ THC ในพลาสมา
การใช้กัญชามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ?
ผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้กัญชาของผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารเคมีจากกัญชาสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้ทางน้ำนมแม่ สาร THC ถูกเก็บไว้ในไขมันในร่างกาย และถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป หมายความว่า ทารกยังคงได้รับสาร THC ถึงแม้จะหยุดใช้กัญชาแล้วก็ตาม ดังนั้น บุคคลที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาทั้งหมด
การใช้สารเสพติดเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของทั้งแม่และเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม กัญชายังสามารถใช้ในการบำบัดได้อีกด้วย ที่จริงแล้ว กัญชาทางการแพทย์สามารถใช้ได้กับการลดอาการปวดหลังผ่าตัด จนถึงตอนนี้ การใช้กัญชาทางการแพทย์นี้ถูกกฎหมายในบางประเทศเท่านั้น เช่น แคนาดา เบลเยียม ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สเปน และบางรัฐของอเมริกาเหนือ การใช้งานนี้ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
ยังมีรายงานอีกว่า กัญชาอาจส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณน้ำนมแม่ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ากัญชาสามารถยับยั้งการหลั่งน้ำนมได้ โดยการยับยั้งการผลิตโปรแลคติน และส่งผลโดยตรงต่อต่อมน้ำนมแม่ ซึ่งมีความเสี่ยงในการผลิตน้ำนม
ผลข้างเคียงของกัญชาต่อทารก
ผลกระทบของการบริโภคกัญชาระหว่างให้นมบุตรต่อสุขภาพ และพัฒนาการของทารก สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าทารกแรกเกิดอาจได้รับกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นผลกระทบที่สังเกตพบในทารกระหว่างให้นมลูกจะเป็นผลรวมมาตั้งแต่ในครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น กัญชามักถูกผสมกับยาสูบ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาสูบต่อทารกด้วย
สาร THC สามารถสะสมในน้ำนมแม่ได้ในระดับความเข้มข้นสูง และทารกที่ได้รับกัญชาผ่านทางน้ำนมแม่จะขับสาร THC ออกทางปัสสาวะในช่วง 2 ถึง 3 สัปดาห์ กัญชาสามารถทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า
การใช้กัญชาโดยมารดาที่ให้นมบุตรต่อพัฒนาการของลูก ในการศึกษาครั้งแรก ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในแง่ของการหย่านม การเจริญเติบโต และการพัฒนาจิตใจหรือการเคลื่อนไหวตามอายุ แต่การศึกษาครั้งที่สองพบว่าการได้รับกัญชาผ่านน้ำนมของแม่ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของการเคลื่อนไหวในทารกที่ลดลงเมื่ออายุได้ 1 ขวบ ทารกที่ได้รับกัญชานานกว่าครึ่งวันในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือเดือนแรกของการให้นมบุตรมีคะแนนดัชนีพัฒนาการทางจิตเฉลี่ยต่ำกว่าทารกที่ไม่ได้รับกัญชา
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากสามารถเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทารกหลังคลอด และตัวคุณแม่เองด้วยนะคะ หากต้องการใช้กัญชาจริง ๆ เนื่องจากต้องการรักษาทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุดนะคะ เพราะการใช้กัญชาในคุณแม่ท้อง และคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นส่งผลเสียต่อเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้ง ควันบุหรี่อาจทำร้ายลูกน้อยของคุณ !
น่าเป็นห่วงไหม เมื่อแม่ท้องใช้กัญชาเยอะขึ้น
ที่มา : cdc , frontiersin , ncbi , news.ch7