ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

ใครบอกว่าเด็กไม่กัดฟัน เด็กก็กัดฟันเหมือนกันนะ มาดูกันดีกว่ามีวสาเหตุมาจากอะไร แล้วพ่อแม่อย่างเราทำอะไรได้บ้าง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกนอนกัดฟัน เป็นเรื่องปกติของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คุณจะเริ่มได้ยินพวกเขากัดฟันในช่วงการนอนหลับช่วงกลางวัน หรือในการนอนหลับช่วงกลางคืน ซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของฟัน หรือฟันที่กำลังจะขึ้นหรือหลุดในช่วงของวัยหัดเดินนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า ทำไมเด็กจะต้องเคี้ยวฟันตัวเอง และถ้าหาก ลูกนอนกัดฟัน ควรทำอย่างไรดี?

 

การบดฟัน หรือนอนกัดฟันคืออะไร

การนอนกัดฟัน ถูกพบได้บ่อย ๆ ในเด็ก มักเกิดขึ้นเมื่อฟันกรามด้านบนและฟันกรามด้านล่างขบเข้าหากัน เนื่องจากฟันขยับเข้าหากัน การนอนกัดฟันนั้นไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจส่งผลทำให้เกิดอาการแย่ลงได้ ซึ่งปกติแล้วการนอนกัดฟันนั้นจะเกิดในช่วงของเวลานอนตอนกลางคืน ซึ่งกล้ามเนื้อกรามจะหดตัว หากมีการเกร็งกรามมากเกินไป ก็อาจทำให้ฟันสึกได้ แล้วผู้ที่นอนกัดฟันนั้นมักจะไม่รู้ตัวว่าตนเองนั้นนอนกัดฟันที่ส่งเสียงดังจนคนรอบข้างได้ยิน

บทความที่น่าสนใจ : เด็กฟันผุ เยอะมาก เกือบทั้งปากเลย ทำยังไงดี ทำยังไงให้หาย

 

การนอนกัดฟันเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

แพทย์ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการนอนบดฟันที่เกิดขึ้นว่าสามารถเกิดขึ้นในเด็กได้ประมาณ 14-17 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก หรือทันทีที่ฟันบนและฟันล่างเริ่มโผล่พ้นขึ้นมาจากเหงือก แต่เด็กส่วนใหญ่แล้วจะหยุดนอนกัดฟันเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ หรือในช่วงของการเริ่มต้นของการขึ้นของฟันแท้ แต่เด็กประมาณ 1 ใน 3 จะยังคงกัดฟันต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้มีการคาดว่าประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี มีการนอนกัดฟัน และเมื่ออายุเกิน 60 ปี จะมีอัตราการนอนกัดฟันลดลงเหลือเพียงน้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

เด็กนอนกัดฟัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุที่ลูกนอนกัดฟันคืออะไร?

สาเหตุที่แท้จริงของการนอนกัดฟันในเด็กนั้นไม่แน่ชัด ทั้งนี้ทันตแพทย์ยังไม่มีการปักใจเชื่อว่าการที่เด็กนอนกัดฟันนั้นมาจากสาเหตุใดกันแน่ โดยมีการสันนิษฐานตามลักษณะ และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • เด็กบางคนอาจบดฟันเพราะฟันบนและฟันล่างไม่อยู่ในแนวเดียวกัน
  • ทำเพื่อตอบสนองต่อความเจ็บปวด เช่น อาการปวดหู หรือการงอกของฟัน
  • เด็กบางคนอาจทำเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งคล้ายกับการที่เรามักจะถูบริเวณผิวหนังที่มีการเจ็บปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • สาเหตุจากความเครียด ความตึงเครียด หรือความโกรธ
  • เด็กที่มีอาการป่วยชนิดอื่นร่วมด้วย หรือเด็กที่ทานยาบางชนิดที่ส่งผลทำให้นอนกัดฟัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกนอนกัดฟัน ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

การนอนกัดฟันในเด็กในหลายกรณีมักตรวจไม่พบผลร้าย หรืออาการข้างเคียงร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย รวมถึงการส่งเสียงดังขณะกัดฟันและอาจทำให้คนในครอบครัวเกิดความรำคาญ ทั้งนี้การที่ลูกนอนกัดฟันจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาดังต่อไปนี้

 

  • ผลกระทบระยะสั้น เด็กนอนกัดฟัน

ผลกระทบระยะสั้นของการนอนกัดฟันในเด็กมักเป็นอาการปวดศีรษะ หรือปวดรอบหู เนื่องจากแรงกดทับจากการขบฟันและบดฟันในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เกิดการสึกหรอของสารเคลือบฟันจากการบด อาจทำให้เวลาเคี้ยวของเด็ก ๆ นั้นเกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้ฟันไวต่อความร้อน และความเย็นมากยิ่งขึ้น หากการกัดฟันของลูกน้อยของคุณนั้นเกิดจากการทานยา หรือการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนหรือลดการสั่งยา และอาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษา ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

  • ผลกระทบระยะยาว เด็กนอนกัดฟัน

หากลูกน้องของคุณยังคงนอนกัดฟันต่อไปเรื่อย ๆ จนพวกเขาเติบโตขึ้น อาจส่งผลระยะยาวต่อเด็กได้ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฟันหากเด็กกัดฟัน หรือบดฟันเป็นเวลานานนั้นไม่เพียงแค่สารเคลือบฟันจะสึกหรอเท่านั้น แต่ฟันของลูกน้อยของคุณอาจบิ่น แบน หรือเกิดรอยร้าว จนเกิดการแตกหักได้ ซึ่งถ้าหากมีการกรอฟันบ่อยครั้งจากการบดเคี้ยวฟันนั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ Temporomandibular joint Disorder (TMD) ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการปวดกรามมากขึ้น และทำให้เด็กเคี้ยวหรืออ้าปากได้ยากมากขึ้นด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร

 

เด็กนอนกัดฟัน

 

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกนอนกัดฟัน หรือไม่

การที่คุณจะทราบว่าลูกน้อยของคุณนั้นนอนกัดฟันหรือไม่อาจเป็นเรื่องยาก เพราะพวกเขามักไม่ทราบว่าตนเองกัดฟันหรือไม่ เพราะว่าอาการนอนกัดฟันนั้นจะเกิดขึ้นขณะที่พวกเขานอนหลับ และไม่รู้ตัวนั่นเอง โดยคุณสามารถสังเกตได้ ดังต่อไปนี้

  • นอนร่วมห้องกับเขา การนอนร่วมห้องเดียวกันนั้นทำให้คุณทราบได้ทันทีว่าพวกเขานอนกัดฟันหรือไม่ เพราะการขบกันของฟันจะทำให้เกิดเสียง ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่ไม่ดังมาก จนไปถึงเสียงดังจนทำให้คุณนั้นตื่นจากนอนหลับก็เป็นได้
  • การบอกกล่าวของเด็กๆ การที่ลูกน้อยของคุณนอนกัดฟันนั้นนอกจากส่งผลต่อฟันแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ปวดศีรษะบ่อย ปวดกราม หรือเวลาเคี้ยวแล้วรู้สึกเจ็บ เป็นต้น
  • ารมณ์ของพวกเขา ในช่วงระหว่างวันหากลูกคุณแสดงอาการโกรธ หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างนั้นอาจส่งผลทำให้ร่างกายของพวกเขานั้นจดจำความรู้สึกและแสดงออกทางพฤติกรรมในช่วงที่พวกเขานอนหลับ ซึ่งนั่นคือการกัดฟันนั่นเอง

ทั้งนี้หากคุณทราบว่าลูกน้อยของคุณมีอาการกัดฟัน ไม่ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ก็ควรพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพฟันและช่องปากกับทันตแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

 

การรักษาอาการนอนกัดฟันของเด็ก ทำได้อย่างไร?

เด็กส่วนใหญ่โตเร็วเกินกว่าที่พวกเขาจะนอนกัดฟัน แต่การสังเกตของผู้ปกครอง และการไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอนั้นก็สามารถช่วยรักษาอาการนอนกัดฟันได้เช่นกัน ในกรณีที่การนอนกัดฟัน หรือการบดฟันของลูกน้อยของคุณในเวลากลางคืนนั้นส่งผลทำให้ใบหน้า และกรามของพวกเขาเจ็บปวด หรือทำให้ฟันเกิดความเสียหาย ทันตแพทย์อาจจะให้เด็ก ๆ สวมเฝือกสบฟัน หรือฟันยางที่เหมือนกับของนักกีฬาสวมใส่เวลานอน เพื่อลดการกระทบกันของฟัน และอาจทำให้พวกเขาเลิกนอนบดฟันได้ในที่สุด หรืออาจจะต้องใส่จนกว่าฟันน้ำนมของพวกเขาจะหลุดหมด แต่อย่างไรก็ตามยังมีเด็กบางคนที่อาจจะต้องใส่จนกว่าความเครียดของพวกเขาจะลดลง

 

เด็กนอนกัดฟัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สามารถป้องกันการนอนกัดฟันได้หรือไม่?

เนื่องจากการนอนกัดฟันนั้นเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของเด็กต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการ ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่หากการกัดฟันของลูกน้อยของคุณเกิดจากอารมณ์ ความโกรธ หรือความเครียดนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยคุณสามารถเริ่มพูดคุยกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาในแต่ละวัน และช่วยจัดการความเครียดให้กับพวกเขาได้ หรือมีการทำกิจกรรมร่วมกันก่อนนอน เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ให้กับเด็ก ๆ ก่อนที่จะเข้านอนเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจและนอนหลับได้เป็นอย่างดี และไม่นอนกัดฟันได้เช่นกัน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หากเด็ก ๆ บ้านไหนที่กำลังนอนกัดฟันอยู่ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่ทราบว่าลูกน้อยของคุณนอนกัดฟันหรือไม่ก็ลองไปสังเกตกันดูนะคะ เพราะนอกจากการนอนกัดฟันนั้นจะส่งผลต่อฟันของลูกน้อยของคุณทำให้สึกหรอแล้วยังส่งผลกระทบระยะยาวที่ไม่ดีต่อสุขภาพช่องปากของพวกเขาอีกด้วย ทั้งนี้คุณควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันตแพทย์ย่างน้องปีละ 1-2 ครั้งนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

5 ยาสีฟันเด็ก ที่ดีที่สุด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ

ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

อาหารที่เด็กกินแล้วเสี่ยงฟันผุ ! คุณแม่ควรพึงระวัง เพื่อไม่ให้เด็กสูญเสียฟัน !

ที่มา : kidshealth, Webmd, nollfamilydentistry, colgate

บทความโดย

Siriluck Chanakit