ให้นมลูกและเล่นมือถือไปด้วยได้ไหม เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงขณะให้นม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้นมลูกเป็นวิธีตามธรรมชาติของแม่ ในการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อลูก เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม นอกจากลูกน้อยจะได้โภชนาการที่ดีแล้ว การให้นมลูกยังช่วยให้คุณแม่ผูกพันกับลูกยิ่งขึ้น โดยคุณแม่ต้องใส่ใจลูก และเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ห่าง ๆ ขณะให้นม เมื่อคุณแม่คุ้นเคยกับการให้นมลูกแล้ว และลูกรู้วิธีดูดนมอย่างถูกต้อง คุณแม่อาจสามารถให้นมลูกได้ในขณะที่ใช้โทรศัพท์ โดยใช้เพื่อฆ่าเวลา หรือเพื่อติดต่อกับเพื่อนสนิท แม้ว่าจะค่อนข้างเข้าใจได้ แต่มีเหตุผลบางอย่าง ที่ทำให้การเล่นมือถือในขณะให้นมลูกไม่ใช่ทางเลือกที่ดี มาดูกันว่า ให้นมลูกและเล่นมือถือไปด้วยได้ไหม ทำไมสองกิจกรรมนี้ถึงไม่ควรทำพร้อมกัน

 

ทำไมไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือขณะให้นมลูก

เราไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ว่า โทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา เราไม่สามารถจินตนาการชีวิตของเราได้ โดยปราศจากโทรศัพท์มือถือ แต่การติดโทรศัพท์มือถืออาจทำให้คุณพลาดช่วงเวลาที่สำคัญอื่น ๆ เช่น การได้อยู่กับลูกอย่างเต็มที่ในขณะที่ให้นมลูก และนี่คือเหตุผลที่คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะให้นมลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง “โรคติดโทรศัพท์มือถือ” ส่งผลต่อความสัมพันธ์ขนาดไหน

 

 

1. ขัดขวางการสบตา

การสบตาระหว่างแม่กับลูก ในขณะที่ให้นมลูกในช่วง 6 เดือนแรก เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่ การเล่นโทรศัพท์ขณะให้นม อาจทำให้คุณแม่พลาดการสบตากับลูกน้อย การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า การสบตาระหว่างแม่และลูกทำให้อารมณ์และสมองของลูก มีความสอดคล้องกัน สิ่งนี้ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้และการสื่อสารในอนาคตสำหรับลูกน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. อาจทำให้ลูกดิ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจ

เมื่อคุณแม่เสียสมาธิไปกับโทรศัพท์ขณะให้นมลูก ลูกสามารถรู้สึกถึงความสนใจของคุณแม่ที่เปลี่ยนไปได้ และลูกจะเริ่มส่งเสียงหรือแม้แต่ดึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเข้าหาตัวเอง ตอนนี้มันอาจจะดูน่ารัก แต่สิ่งนี้จะทำให้ลูกมีอารมณ์อ่อนไหวมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

การศึกษาที่เรียกว่า 'การทดลองหน้านิ่ง' แสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ สังเกตเห็นเมื่อพ่อแม่มีสีหน้าที่นิ่งเฉย การศึกษาพบว่าเด็กมักจะดิ้นและตีแขนเพื่อให้พ่อแม่สนใจ ลูกต้องการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่รอบตัว และนี้จะทำให้ฮอร์โมนความเครียดเด็กทำงาน

 

3. เบี่ยงเบนความสนใจของแม่

การให้นมลูกและการเล่นมือถือในเวลาเดียวกัน อาจทำให้คุณแม่พลาดสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูกน้อยได้ เนื่องจากจะใช้สมาธิจดจ่อกับมือถือ เช่น การสังเกตว่าลูกดูดนมอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้รับน้ำนมจากเต้ามากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณแม่เล่นมือถืออาจทำให้พลาดไปได้ และอาจไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำ ว่าลูกได้รับน้ำนมจากเต้าเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากตาของคุณแม่จะไปอยู่ที่อื่น ในการให้นมลูก เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ในการดื่มด่ำกับความรู้สึกของการเป็นแม่ที่ให้นมลูก เมื่อลูกโตขึ้นคุณแม่จะไม่มีช่วงเวลานี้อีก

 

4. เสี่ยงต่อการได้รับรังสี

โทรศัพท์มือถือปล่อยรังสีออกมา และลูกน้อยที่ตัวเล็กมากอาจดูดซับรังสีเหล่านี้ได้ รังสีไมโครเวฟส่วนใหญ่ต่อเนื่อง แต่รังสีจากโทรศัพท์มือถือมักไม่คงที่ อย่างไรก็ตาม รังสีจากโทรศัพท์ยังสามารถทำลายโครงสร้างดีเอ็นเอของเด็ก เซลล์สมอง และอาจ ก่อให้เกิดมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้น เช็กให้แน่ใจว่าโทรศัพท์มือถืออยู่ห่างจากลูก ไม่เพียงแต่ระหว่างให้นมลูกเท่านั้น รวมถึงตลอดเวลาด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ไม่สังเกตท่าดูดนมลูก

เด็กจะมีพฤติกรรมบางอย่างเมื่อดูดนม และเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่จะต้องสังเกตพฤติกรรมการดูดนมของลูก เพื่อให้ลูกน้อยได้รับปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุดที่คุณแม่สามารถให้ได้ เมื่อให้ความสนใจ คุณแม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อย เช่น หากลูกมีปัญหาในการดูดนม ลูกไม่พอใจกับท่าดูดนม หรือหากลูกต้องการเรอระหว่างดูดนม

บางครั้งคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกหลับในขณะที่กินนมแม่ ในกรณีนี้ คุณแม่จะต้องเป่าผมเบา ๆ หรือขยับนิ้วเท้าเล็ก ๆ ของลูกเพื่อปลุก สิ่งเหล่านี้คุณแม่จะไม่เห็น หากคุณแม่มัวยุ่งอยู่กับการเล่นโทรศัพท์

 

แนะนำกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างให้นมลูก

ความรักที่อบอุ่นและอ่อนโยนทำให้เด็กแรกเกิดความรู้สึกปลอดภัย และสร้างความผูกพัน ทั้งยังสามารถสร้างสายสัมพันธ์ ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กแรกเกิด เช่น เมื่อคุณแม่ให้ลูกดู ฟัง และรู้สึก สิ่งนี้ทำให้สมองของเด็กทำงาน และทำให้สมองของลูกพัฒนา

 

1. สัมผัสและกอด

สัมผัสและกอดลูกเป็นประจำ ตั้งแต่แรกเกิดลูกสามารถสัมผัสได้ แม้กระทั่งสัมผัสที่อ่อนโยนที่สุด ลองลูบเด็กแรกเกิดเบา ๆ เวลาที่คุณแม่เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ หรือเวลาให้นมกับลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง 7 ข้อดีของการกอดลูก ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งฉลาด ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งเป็นคนเก่ง

 

 

2. ตอบสนองต่อการร้องไห้

ตอบสนองต่อการร้องไห้ คุณแม่อาจไม่สามารถบอกได้เสมอว่า ทำไมเด็กแรกเกิดถึงร้องไห้ แต่การตอบสนองต่อลูกที่ร้องไห้ เท่ากับว่าคุณแม่บอกให้ลูกได้รับรู้ว่าแม่อยู่เคียงข้างลูกเสมอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การอุ้มลูก

การอุ้มลูกน้อยของคุณแม่ ให้คุณแม่ลองโยก หรืออุ้มลูกแบบแนบชิดตัวคุณแม่ ให้อุ้มลูกในท่าวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนที่หลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม

 

4. ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย

ให้คุณแม่รองรับศีรษะและคอของลูกเมื่อคุณแม่อุ้มลูกน้อย หรือลองห่อตัวลูกน้อย ซึ่งช่วยสร้างความรู้ให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของแม่ ทำให้ลูกรู้สึกไว้ใจ และรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นค่ะ

 

5. พูดคุยกับลูก

พูดคุยกับลูกให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ ด้วยน้ำเสียงที่ผ่อนคลายและมั่นใจ คุณแม่สามารถพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำ หรือบอกเล่าเรื่องราว สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กแรกเกิดเรียนรู้ที่จะจดจำเสียงของคุณแม่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาไปในตัวด้วย

 

6. ร้องเพลง

ลูกน้อยอาจจะชอบเสียงเพลง และดนตรีที่มีจังหวะขึ้นลง เพลงที่ผ่อนคลายอาจช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกรู้สึกสงบขึ้นด้วย ลูกของคุณแม่จะไม่ว่าอะไร ถึงแม้คุณแม่จะลืมทำนอง หรือเนื้อร้องของเพลงก็ตาม

 

7. สบตาลูกน้อย

มองตาของลูกน้อยในขณะที่คุณแม่พูด ร้องเพลง และแสดงสีหน้า สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กแรกเกิดเรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างคำพูด และความรู้สึก

 

ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่ควรใช้โทรศัพท์มือถืออย่างจำกัด หลีกเลี่ยงการใช้มือถือขณะที่ให้นมลูก เพราะคุณแม่อาจเสียใจภายหลัง หากพลาดความสุขที่ได้ใกล้ชิดกับลูก การให้นมลูกเป็นขั้นตอนที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ ดังนั้นอย่าลืมที่จะทำให้เป็นเรื่องราวที่น่าจดจำ งดใช้มือถือขณะให้นมลูก จดจ่อกับความต้องการของลูก และสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ให้นมลูกนอกบ้าน รวมเทคนิคเตรียมตัว และการเลือกสถานที่

การให้นมลูก ปริมาณน้ำนม และความถี่ในการให้นม ฉบับคู่มือแม่มือใหม่

ชุดชั้นในให้นมลูก ยี่ห้อไหนดี สวมใส่สบาย ให้นมสะดวก ควรค่าแก่การซื้อมาใช้!

ที่มา : parenting.firstcry, raisingchildren

บทความโดย

Kanjana Thammachai