วิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอ เทคนิคสำคัญช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ให้นมที่ประสบปัญหาปวดอกปวดใจ คือ ท่อน้ำนมอุดตัน มาดูกันว่า ทำไมท่อน้ำนมจึงอุดตันได้ พร้อมทั้งมี วิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอ ทีนี้จะได้ยิ้มกันทั้งแม่และลูกแม่ให้นมที่ประสบปัญหาปวดอกปวดใจ คือ ท่อน้ำนมอุดตัน มาดูกันว่า ทำไมท่อน้ำนมจึงอุดตันได้ พร้อมทั้งมีวิธีนวดเต้าแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน ทีนี้จะได้ยิ้มกันทั้งแม่และลูก

 

สาเหตุของท่อน้ำนมอุดตัน ทำให้น้ำนมไม่พอ

  • ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า อาจเกิดจากไม่ได้ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย หรือจำกัดเวลาในการดูดนมของลูก
  • คุณแม่ปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนาน
  • คุณแม่มีปริมาณน้ำนมมากเกินไป และไม่ได้ระบายน้ำนมออก หรือระบายออกไม่สมดุลกับปริมาณน้ำนมที่ผลิต
  • ใส่เสื้อชั้นในที่คับแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำนมไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  • ใส่เสื้อชั้นในที่หลวม ไม่กระชับ ทำให้เต้านมหย่อนคล้อย กดทับท่อส่งน้ำนม
  • รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันมาก หรืออาหารที่มีความมันมากจนเกินไป
  • คุณแม่มีอาการเครียด ความเครียดจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้น้ำนมไหลลดลง

 

 

วิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอ เทคนิคนวดเต้าสยบปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจากท่อส่งน้ำนมบางส่วนอุดตัน ทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวก และมีน้ำนมคั่งค้างอยู่ภายในเต้านม ทำให้เต้านมบางบริเวณมีลักษณะแข็ง เป็นแผ่นหนา หรือเป็นก้อนอยู่ภายในเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั่วทั้งเต้านม ผิวหนังที่บริเวณเหนือก้อน กดเจ็บ และอาจจะบวมแดงโดยไม่มีไข้ ลักษณะหัวนมและลานหัวนมผิดรูป บางครั้งอาจมีเส้นเลือดที่ผิวหนังของเต้านมปูด และอาจพบจุดสีขาวบริเวณหัวนม (White dot) ตามมาดูวิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอกัน

การนวดเต้านมเพื่อแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน คือ วิธีการนวดเต้านม แบบ TBML และบีบน้ำนมด้วยมือ  พญ.ชนิกานต์ ทิพาโรจนกิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ให้คำแนะนำ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การนวดเต้านมแบบ TBML และบีบน้ำนมด้วยมือ เป็นเทคนิคสำหรับคุณแม่ที่ให้นมสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ด้วยตนเอง ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • การนวดเต้าเน้นเป็นการนวดที่นุ่มนวล ไม่เจ็บ โดยใช้การลูบไล้อย่างแผ่วเบา ไปในทิศทางระบบท่อต่อมน้ำเหลือง ซึ่งในทางกายภาพระบบต่อมน้ำเหลืองจะมีตัวต่อมฝังในร่างกายส่วนต่าง ๆ และจะมีท่อนำน้ำเหลืองกระจายออกมา ท่อต่อมน้ำเหลืองส่วนใหญ่อยู่บริเวณผิวหนัง ไม่ได้อยู่ลึก ผู้นวดจึงไม่ต้องกดน้ำหนักลงไปลึก
  • การที่คุณแม่มีอาการเต้านมคัด ของเหลวที่อยู่ในเต้านมไม่ได้มีเพียงน้ำนมเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยสารคัดหลั่งภายในเต้านมด้วย
  • การนวดตามหลักการของ lymphatic system คือ ไล่ระบายให้สารคัดหลั่งกลับสู่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ได้ง่าย สะดวกขึ้น อาการคัดตึงเต้านม อาการเป็นก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน และความเจ็บปวดจะลดลง
  • ใช้การประคบเย็นภายหลังการนวดเพื่อช่วยลดบวม

 

การนวดเต้านมมีส่วนช่วยกระตุ้นน้ำนมเหลือง

น้ำนมเหลือง (Colostrum) เป็นน้ำนมในระยะที่มีสารอาหารสูงสุดในทุกระยะของน้ำนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนสำคัญที่ชื่อ “แลคโตเฟอร์ริน” ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมี MFGM (Milk Fat Globule Membrane) และ DHA ที่มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของทารก รวมถึงสารอาหารสำคัญอีกหลายร้อยชนิดที่ช่วยเสริมพัฒนาการรอบด้านของทารก

น้ำนมเหลืองมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างมากในเรื่องของการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสในทารกแรกเกิด จึงเปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำนมชนิดนี้ร่างกายของคุณแม่จะมีอย่างเต็มที่มากที่สุดช่วง 1-3 วันหลังคลอดเท่านั้น

การกระตุ้นน้ำนมแม่ทันทีหลังคลอดและคอยนวดเต้านมอย่างถูกวิธีถือเป็นการกระตุ้นปริมาณน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของทารกในช่วงแรกเกิด และช่วยเพิ่มโอกาสให้ทารกน้อยได้รับน้ำนมเหลืองจากคุณแม่ อย่างไรก็ตามการนวดเต้านมเป็นเพียงการกระตุ้นน้ำนมขั้นพื้นฐาน หากคุณแม่มีปัญหาในการให้นมควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการนวดเต้านม และการให้นมทารก

  • การค่อย ๆ เต้านม ให้น้ำนมออกไปด้วยระหว่างการให้นมทารก เป็นอีกหนึ่งเทคนิคง่าย ๆ เพื่อทำให้มีน้ำนมออกมามากขึ้น ส่งผลดีต่อการให้น้ำนมเหลืองช่วงหลังคลอดได้ในปริมาณที่มากกว่าเดิมเช่นกัน
  • ในช่วงแรกหลังคลอดไปจนถึงสัปดาห์แรกควรให้ทารกเข้าเต้า 8 – 12 ครั้ง/วัน ทารกอายุประมาณ 1 สัปดาห์ – 1 เดือน ควรเข้าเต้า 6 – 8 ครั้ง/วัน และอายุ 1 – 2 เดือนจะเหลือเพียง 7 ครั้ง/วันเท่านั้น
  • ท่าอุ้มให้นมลูกที่ถูกวิธี คือ แม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน คุณแม่พยายามนอนให้ศีรษะสูงเล็กน้อย หลังตรง ให้ปากลูกอยู่ตรงเต้าพอดี มือด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ อีกมือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเข้าเต้า เมื่อลูกดูดได้ดีก็ขยับออกได้
  • การให้ลูกดูดนมออกหรือการบีบน้ำนมออกบ่อยจากเต้า เป็นหลักการสำคัญในการจะเพิ่มการสร้างน้ำนม สำหรับการนวดเต้านม เป็นหนึ่งในขบวนการเสริมในกรณีเต้านมคัดหรืออุดตัน ส่งผลต่อการกระตุ้นให้น้ำนมมีทางเดินออก และความรู้สึกผ่อนคลายจะมีผลให้น้ำนมไหลดี
  • การนวดเต้านมเพื่อบรรเทาอาการปวดจากท่อน้ำนมอุดตัน และเพื่อทำให้น้ำนมไหลสะดวกมากขึ้น คุณแม่สามารถนำวิธีการที่แนะนำไปทดลองใช้ได้ ที่สำคัญการดูดกระตุ้นของลูกน้อยยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรทำควบคู่กันไป ทั้งนวดเต้าและให้เจ้าตัวน้อยดูดนมด้วย

 

นอกจากการนวดเพื่อกระตุ้นน้ำนม แก้ปัญหาให้นมยาก คุณแม่มีน้ำนมน้อย ในช่วงน้ำนมเหลืองหลังคลอด 1 – 3 วันสำคัญมาก หากคุณแม่มีปัญหาในการให้นมที่ไม่สามารถจัดการได้ ควรรีบบอกกับแพทย์ทันที รวมไปถึงการเลือกใช้สูตรนมใด ๆ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน ถึงความเหมาะสม ความปลอดภัย และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้จักกับ PHP (โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน) ที่ช่วยให้สบายท้อง

วิธีกระตุ้นน้ำนม ให้มีน้ำนมเยอะ ๆ สำหรับแม่มือใหม่กลัวน้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน

รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ที่มา :enfababy , wicbreastfeeding

บทความโดย

Sutthilak Keawon