ทำไมเดือนตุลาคมจึงเป็นเดือนแห่งการ รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม และทำไมต้องเป็นริบบิ้นสีชมพู

รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม ในเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี จะเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลก (รวมถึงประเทศไทย) เพื่อให้ทุกคนตระหนักในเรื่องของภัยจาก “มะเร็งเต้านม”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมเดือนตุลาคมจึงเป็นเดือนแห่งการ รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม และทำไมต้องเป็นริบบิ้นสีชมพู

 

รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม ในเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี จะเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลก (รวมถึงประเทศไทย) ออกมารณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่องของภัยจาก “มะเร็งเต้านม” ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยได้มีแคมเปญที่ชื่อว่า “Breast Cancer Awareness Month” (BCAM) หรือ “National Breast Cancer Awareness Month” (NBCAM) จัดขึ้นโดยองค์กรการกุศลด้านมะเร็งเต้านม

 

โดยได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม และในตลอดเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี จะมีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของมะเร็งเต้านม และมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อระดมทุนหารายได้ในการทำวิจัย และวินิจฉัยหาวิธีรับมือกับโรคนี้ โดยโครงการนี้ได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) โดยความร่วมมือระหว่าง American Cancer Society และแผนกเภสัชกรรมของ Imperial Chemical Industries (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ AstraZeneca ผู้ผลิตยาต้านมะเร็งเต้านมหลายชนิด) ด้วยจุดมุ่งหมายของที่ต้องการการส่งเสริมการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมซึ่งมีคร่าชีวิตมนุษย์ทั้งชายและหญิง

 

รณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ใช่แล้ว… ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ถึงแม้จะเป็นจำนวณตัวเลขผู้ป่วยที่น้อยกว่าผู้หญิงแต่ก็ไม่อาจมองข้ามได้ จนในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ได้มีการตั้งสัปดาห์ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในผู้ชาย โดยให้เป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม ดังนั้นเรื่องของมะเร็งเต้านมจึงไม่ใช่เรื่องของผู้หญิงเท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รณรงค์ต้าน ภัยมะเร็ง เต้านม

เพราะเหตุใดจึงใช้ “ริบบิ้น” เป็นสัญลักษณ์

ริบบิ้น ถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ในการสร้างความตื่นรู้ และการสนับสนุน ถูกนำมาใช้ในช่วงกลางทศวรรษ 1900 ในเพลงเดินทัพของทหารสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า “ Tie a Yellow Ribbon” สร้างแรงบันดาลใจให้ภรรยาของตัวประกันที่ถูกจับในอิหร่านตั้งแต่ปีค.ศ.1979-1981 (พ.ศ.2522-2524) ให้ใช้ริบบิ้นสีเหลืองเพื่อแสดงการสนับสนุนตัวประกันและเพื่อเตือนผู้อื่นถึงการรับใช้ชาติของตน ต่อมาสัญลักษณ์นี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเตือนความจำของชายและหญิงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประเทศในต่างแดน ในเวลาต่อมานักเคลื่อนไหวด้านโรคเอดส์ได้นำสัญลักษณ์นี้ไปใช้โดยได้เปลี่ยนสีริบบิ้นจากสีเหลืองเป็นสีแดง จากนั้นสารพัดแคมเปญเพื่อสุขภาพที่เป็นกิจกรรมเพื่อการกุศลก็ใช้สัญลักษณ์นี้ และได้รับความนิยมอย่างมากในสหรรัฐอเมริกาจนนิตยสาร New York Times เรียกปี 1992 ว่า “ปีแห่งริบบิ้น” (The Year of the Ribbon) ซึ่งริบบิ้นแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกันไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ริบบิ้นสีชมพู สัญลักณ์ของการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม

ความเป็นมาของ “ริบบิ้นสีชมพู”

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจากสุภาพสตรีวัย 68 ที่ชื่อชาร์ล็อต ฮาร์ลีย์ (Charlotte Haley) ผู้ซึ่งมีพี่สาว, ลูกสาว, และหลานสาวป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้ออกมาแจกริบบิ้นสีพีชพร้อมการ์ดหนึ่งใบที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของมะเร็งเต้านมว่า “งบประมาณประจำปีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติอยู่ที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่นำไปใช้ในการป้องกันมะเร็ง มาช่วยกันปลุกสมาชิกสภานิติบัญญัติและอเมริกาของเราด้วยการสวมริบบิ้นนี้” เธอแจกจ่ายการ์ดและริบบิ้นไปมากกว่าพันชิ้น

 

รณรงค์ ต้าน ภัย มะเร็งเต้านม

 

อีกทั้งได้รับความสนใจจากสื่อโดยเฉพาะบรรณาธิการบริหารนิตยสารสุขภาพหัวหนึ่งซึ่งกำลังมีโปรเจคเกี่ยวกับการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และได้เชิญชวนเธอมาร่วมงานกันแต่ชาร์ล็อตตอบปฏิเสธด้วยเหตุผลที่เธอรู้สึกว่ามันเป็นการเพื่อการค้าจนเกินไปไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เธอต้องการ และด้วยเหตุผลทางกฎหมายบางอย่างที่ไม่อาจทำให้นำริบบิ้นสีพีชไปใช้ต่อได้ ทางนิตยสารและองค์กรอื่นๆ ที่อยากออกมารณรงค์เรื่องนี้จึงตัดสินใจเลือกใช้สีชมพูแทน เพราะสีชมพูนั้นถูกนำมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ของผู้หญิงในฝั่งตะวันตกมาช้านานแล้ว และโรคมะเร็งเต้านมก็ได้คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก

 

รณรงค์ ต้านภัย มะเร็งเต้านม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในปี 1991 มูลนิธิซูซานจี. โกเมนได้มอบริบบิ้นสีชมพูให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขันในนครนิวยอร์กเพื่อผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมและในปี 1993 เอเวอร์ลิน ลอเดอร์ (Evelyn Lauder) รองประธานอาวุโสของ บริษัท Estée Lauder ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมและสร้างริบบิ้นสีชมพูเป็นสัญลักษณ์ และในปัจจุบันก็ยังมีอีกมากมายที่ออกมาร่วมรณรงค์โดยมีริบบิ้นสีชมพูเป็นสัญลักษณ์

 

 

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

ที่มา : today.line.me

บทความอื่นๆ ที่น่สนใจ : 

เช็คด่วนก่อนจะสาย! 5 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่หญิงไทยต้องรู้

10 ความในใจ จากปากคนเป็นมะเร็งเต้านม

สู้สุดใจ! เมื่อผู้ประกาศสาวหัวใจแกร่ง เผชิญ โรคมะเร็งเต้านม

 

บทความโดย

@GIM