เจ็บท้องเตือน vs เจ็บท้องคลอด เหมือนหรือต่าง สังเกตและรับมืออย่างไร

lead image

เจ็บท้องเตือน กับ เจ็บท้องคลอด ต่างกันอย่างไร เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน เจ็บเตือนกี่วันคลอด บทความนี้จะช่วยคุณแม่เตรียมตัวคลอดได้อย่างมั่นใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรก อาจสงสัยว่า เจ็บท้องเตือน กับ เจ็บท้องคลอด เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด บทความนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจเกี่ยวกับอาการเจ็บท้องเตือน พร้อมวิธีรับมือและข้อสังเกตสำคัญเพื่อให้เตรียมตัวคลอดได้อย่างมั่นใจ

 

เจ็บท้องเตือน คืออะไร

เจ็บท้องเตือน (Braxton Hicks Contractions) เป็นการบีบตัวของมดลูกที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ มักเกิดขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 และถี่ขึ้นเมื่อถึงวันใกล้คลอด เพราะช่วงใกล้คลอดมดลูกจะขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนตัวลงต่ำ จึงรู้สึกได้ว่ามดลูกแข็งตัวบ่อยครั้งขึ้น บางรายอาจคลำและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อนแข็งๆ บริเวณหน้าท้อง รวมทั้งอาจรู้สึกได้ถึงมดลูกที่บีบตัว แต่ยังไม่เป็นจังหวะที่แน่นอน อาจรู้สึกแน่นท้อง ปวดหน่วงๆ คล้ายปวดประจำเดือน โดยมักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 3 และจะถี่ขึ้นเมื่อใกล้วันคลอด


เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน มีอาการอย่างไร

การเจ็บท้องเตือนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์นั้นมักมีอาการคล้ายกับปวดประจำเดือน คือ ปวดหน่วงบริเวณหน้าท้องหรือท้องน้อย รู้สึกเหมือนท้องแข็งเป็นพักๆ อาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่ยังไม่เจ็บปวดถึงขั้นทนไม่ไหว แม้จะมีอาการท้องแข็งบ่อยขึ้น แต่ยังไม่มีมูกเลือดหรือน้ำเดิน อาจยังเป็นเพียงอาการเจ็บท้องเตือน หากอาการบีบตัวของมดลูกยังไม่สม่ำเสมอและไม่ได้เจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ ยังไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล แต่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ อาการเจ็บท้องเตือนที่พบบ่อย ได้แก่

  • อาการเจ็บท้องเป็นจังหวะแต่ไม่สม่ำเสมอ
  • ปวดแบบแน่นๆ ตึงๆ ที่หน้าท้อง
  • ไม่รุนแรง และมักบรรเทาได้เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เดิน หรือนั่งพัก
  • ไม่มีมูกเลือดหรือมีน้ำเดินร่วมด้วย

คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจสังเกตว่า อาการเจ็บท้องเตือนมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำเปล่าไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บท้องเตือน ได้แก่

  • อาการป่วยที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้
  • ลูกในท้องดิ้น
  • เมื่อคุณแม่ยกของหนัก หรือมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดปัสสาวะ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รับมืออาการเจ็บท้องเตือน

อาการเจ็บท้องเตือนอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวหรือกังวลใจ แต่อาการนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีง่ายๆ ต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้รู้สึกดีขึ้น

  • เปลี่ยนอิริยาบถ เช่น จากนั่งเป็นเดิน หรือจากยืนเป็นนอนพัก โดยทั่วไปเมื่ออาการเจ็บท้องเตือนจะดีขึ้นได้ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ดื่มน้ำมากๆ เพราะอาการขาดน้ำอาจทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น
  • อาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำอุ่น เป็นวิธีที่ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้อาการเจ็บท้องทุเลาลง
  • ฝึกหายใจลึกๆ เพื่อช่วยลดความตึงเครียด คุณแม่อาจนอนหรือนั่งในท่าที่สบาย หลับตา หายใจเข้า-ออก ช้าๆ เหมือนการทำสมาธิ หรือใช้การฝึกหายใจของคนท้อง ที่หายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกด้วยการเป่าลมออกจากปากช้าๆ ก็ได้ 

 

เจ็บท้องเตือน vs เจ็บท้องจริง แยกได้อย่างไร

อาการเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอดอาจคล้ายกัน แต่มีจุดสังเกตที่ช่วยให้คุณแม่แยกความแตกต่างได้ ดังนี้

เจ็บท้องเตือน vs เจ็บท้องจริง แยกได้อย่างไร

  • ความถี่ในการบีบตัวของมดลูก
  • เจ็บท้องเตือน: ความถี่ไม่สม่ำเสมอ และไม่เจ็บถี่ขึ้นเรื่อยๆ
  • เจ็บท้องคลอด: ความถี่สม่ำเสมอ ทุกๆ 30-70 วินาที และบีบตัวแรงขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ 
  • อาการเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
  • เจ็บเตือน: ความถี่ไม่สม่ำเสมอ และไม่เจ็บถี่ขึ้นเรื่อยๆ
  • เจ็บท้องคลอด: ความถี่สม่ำเสมอ ทุกๆ 30-70 วินาที และบีบตัวแรงขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ 
  • ปวดมากแค่ไหน
  • เจ็บเตือน: ปวดหน่วงๆ เบาๆ พอทนได้
  • เจ็บท้องคลอด: ปวดมาก รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวมากขึ้นเรื่อยๆ 
  • เจ็บบริเวณไหน
  • เจ็บท้องเตือน: อาการมักไม่ถึงกับเจ็บปวด เพียงแค่รู้สึกหน่วงๆ ตึงๆ บริเวณหน้าท้อง
  • เจ็บท้องคลอด: รู้สึกปวดหน่วงเริ่มตั้งแต่หลังช่วงล่าง และเคลื่อนมาบริเวณหน้าท้อง หรืออาจเริ่มจากหน้าท้องและลามไปบริเวณหลังช่วงล่าง
  • อาการอื่นๆ
  • เจ็บเตือน: ไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน
  • เจ็บท้องคลอด: อาจมีมูก ซึ่งเป็นเมือกที่ปิดปากมดลูกไว้ระหว่างตั้งครรภ์หลุดออกมา หรืออาจมีน้ำคร่ำแตกหรือมีเลือดออก 
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด

อาการเจ็บท้องเตือนมักเกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ดังนั้น ระยะเวลาห่างระหว่างอาการเจ็บท้องเตือน ไปจนถึงอาการเจ็บท้องคลอดจริงๆ จึงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ อาการเจ็บท้องเตือนโดยทั่วไปจะเริ่มเจ็บถี่ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เป็นต้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งอาการเจ็บท้องคลอดที่แตกต่างจากการเจ็บท้องเตือน ได้แก่ มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดเล็ก ๆ บริเวณปากมดลูกแตก ส่งผลให้มีมูกปนเลือดไหลออกมา ถุงน้ำคร่ำแตกหรือน้ำเดิน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญ โดยน้ำคร่ำจะไหลออกมาเป็นของเหลวใส ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจไหลออกมามากหรือค่อยๆ ซึม หากเกิดอาการน้ำเดิน มีโอกาสสูงถึง 80% ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

เจ็บท้องเตือนแบบนี้ ต้องรีบพบแพทย์

บางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะท้องแรก อาจไม่แน่ใจระหว่างเจ็บท้องเตือนกับเจ็บท้องคลอด หากไม่แน่ใจว่าอาการที่รู้สึกเป็นสัญญาณของการเจ็บท้องคลอดจริงหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อคลายความกังวลใจ นอกจากนี้ อาการเจ็บท้องเตือน ที่ร่วมกับอาการต่างๆ ต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติ ที่ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก  

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำคร่ำไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง หรือมีน้ำเดิน (อาจเป็นน้ำไหลออกมามากหรือซึมทีละน้อย)
  • มีอาการเจ็บท้องเป็นระยะ ๆ ทุก 5 นาทีติดต่อกันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  • ปวดท้องจนเดินแทบไม่ไหว
  • สังเกตว่าลูกดิ้นน้อยลงอย่างชัดเจน หรือรู้สึกการเคลื่อนไหวของลูกน้อยกว่า 10 ครั้งใน 2 ชั่วโมง
  • มีสัญญาณของการเจ็บท้องคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์

 

อาการเจ็บท้องเตือนเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์แทบทุกคนต้องเผชิญ การเข้าใจและแยกความแตกต่างระหว่างเจ็บเตือนกับเจ็บจริง จะช่วยลดความกังวลของว่าที่คุณแม่ พร้อมทั้งทำให้คุณแม่ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลก คุณแม่จะพร้อมรับมือกับทุกช่วงเวลาของการคลอดด้วยความมั่นใจ สามารถฝ่าฟันความยากลำบากและความเจ็บปวดต่างๆ เพื่อได้อุ้มลูกน้อยไว้ในอ้อมแขนเป็นครั้งแรก

ที่มา: โรงพยาบาลนครธน, WebMD  

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผ่าคลอดได้กี่คน ลูกถึงจะปลอดภัย? เหตุผลที่ไม่ควรผ่าคลอดหลายครั้ง

คลอดธรรมชาติ บล็อคหลัง คืออะไร? เจ็บมั้ย มีข้อดี ข้อเสีย ยังไงบ้าง

แม่เครียดตอนท้อง ลูกคลอดออกมาจะเลี้ยงยากไหม?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team