“อาจารย์ใหญ่” คือ ชื่อ ที่นักศีกษาแพทย์ ใช้เรียกผู้ที่เสียสละ บริจาคร่างกาย เพื่อการศีกษา สำหรับนักศึกษาแพทย์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก และ ไม่เคยผ่านการเรียน กับอาจารย์ใหญ่มาก่อน แต่รู้ไหมว่า ใคร ๆ ก็สามารถเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ได้ เพียงแค่ บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา เท่านั้น
สำหรับนักศึกษาแพทย์นั้น อาจารย์ใหญ่ ไม่ใช่แค่ร่างมนุษย์ ที่ไม่มีลมหายใจเท่านั้น แต่พวกเขาเหล่านั้น คือผู้ให้ ที่ยิ่งใหญ่ และ เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่อง เชิดชู วันนี้ เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “อาจารย์ใหญ่” ที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้
ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์ให้กับใครได้บ้าง ?
บางคนอาจจะคิด และสงสัยว่า หลังจากที่เราตายไปแล้ว จะสามารถทำอะไร ที่ยังพอจะสร้างประโยชน์ ให้กับชีวิตอีกหลายชีวิตที่ยังอยู่ สิ่งที่เราสามารถทำได้ ก็คือการบริจาคร่างกาย และการบริจาคอวัยวะ
ในปัจจุบัน การบริจาคร่างกาย ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ สำหรับสังคมไทย แต่เป็นการถูกมองว่าการบริจาคนั้น เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ จึงได้มีผู้บริจาคที่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการบริจาคร่างกาย สามารถบริจาคได้ ตามโรงพยาบาล หรือ ภาควิชาคณะแพทย์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ที่มีการเปิดรับ
วัตถุประสงค์ในการนำร่างกายของผู้บริจาคไปใช้หลักๆ ดังนี้
- เพื่อใช้ในการศึกษา ของนักศึกษาแพทย์
- เพื่อใช้ในการฝึกผ่าตัด สำหรับแพทย์เฉพาะทาง และงานวิจัยทางการแพทย์
- เพื่อเก็บเนื้อเยื้อบางส่วน สำหรับการรักษา ทางการแพทย์
- เพื่อให้เก็บโครงกระดูก เพื่อใช้ในการศึกษา
ใครที่สามารถบริจาคร่างกายได้บ้าง ?
การบริจาคร่างกายนั้น สามารถทำได้ทุกคน ตามความสมัครใจ แต่ได้มีกฎเกณฑ์การรับบริจาค และไม่ต้องตรวจสุขภาพ สถาบันรับบริจาค จึงกำหนดกฎเกณฑ์ เอาวไว้ ดังนี้
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว (หากยัง ต้องได้รับการยินยอมจากบิดา มารดา และครอบครัวก่อน)
- ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค โรคไต เป็นต้น
- ร่างกายของผู้บริจาค ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคดีความ ใดๆทั้งสิ้น
การเตรียมตัวก่อนบริจาคร่างกาย
ก่อนการบริจาค ผู้บริจาค จะต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้เรียบร้อย และควรจะแจ้งญาติ และจัดเตรียมผู้ที่จะสามารถดำเนินเรื่อง ภายหลังการเสียชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และความวุ่นวาย และเข้าใจตรงกัน ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน หากมีข้อสงสัย เกี่ยวกับการบริจาคร่างกาย ควรติดต่อสอบถามให้แน่ชัด เพื่อการดำเนินการที่ถูกต้องต่อไป
ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย
แต่ละสถาบัน และหน่วยงาน จะมีการส่งเอกสาร และแบบฟอร์ม ที่แตกต่างกันออกไป ส่วนเอกสาร ที่จะเตรียมไปใช้จะมีลักษณะ คล้ายกันทุกที่ ดังนี้
- บัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประชาชน
- รูปถ่าย 1 นิ้วหรือ 2 นิ้ว จำนวน 2ใ บ
*สถาบันบางสถาบัน ต้องทำการยื่นคำร้อง ด้วยแบบฟอร์ม ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จะไปบริจาค
จากนั้นกรอกข้อมูล ในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน ถูกต้อง นำไปส่งเจ้าหน้าที่ ทางหน่วยงาน จะมอบบัตรประจำตัวให้กับผู้บริจาค และควรเก็บไว้กับตัว เพื่อเป็นหลักฐานการบริจาค เมื่อแสดงความจำนง อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งให้ทางครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดทราบไว้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเมื่อผู้อุทิศร่างกายฯ ถึงแก่กรรม
ข้อจำกัดในการบริจาคร่างกาย
- ขณะเสียชีวิต หากอายุเกิน 80 ปี จะต้องมีน้ำหนักต่ำกว่า 40 กิโลกรัม
- ต้องเสียชีวิตไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก่อนถูกนำไปเก็บรักษาร่าง ไว้ในห้องเย็น
- ผู้บริจาคร่างกาย ต้องไม่เคยได้รับการผ่าตัด หรือมีร่องรอยความเสียหาย บริเวณศีรษะ และสมองมาก่อนเสียชีวิต
- ผู้บริจาคร่างกาย ต้องไม่เสียชีวิตจาก โรคมะเร็ง บริเวณศีรษะ และสมอง หรือ เสียชีวิตจากการติดเชื้อ รวมถึงโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ ไว้รัสลงตับ วัณโรค โรคไต โรคเบาหวาน หรืออุบัติเหตุ
- ผู้บริจาคร่างกาย ต้องไม่เกี่ยข้องกับคดีความ หรือ ต้องมีการผ่าพิสูจน์
- ร่างกายของผู้บริจาค ต้องไม่ผ่านกระบวนการเก็บรักษา ด้วยน้ำยามาก่อน
- ร่างกายผู้บริจาค ต้องมีสภาพที่สมบูรณ์ และเหมาะสม ไม่เน่าเปื่อย หรืออวัยวะขาดหายไป ไม่ครบ ไม่สมบูรณ์
บริจาคร่างกาย เป็นอีกหนึ่งการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ ร่างกายของเรา ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว จะถูกนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ ต่อยอดให้นิสิต นักศึกษา หรือบุลคากรทางการแพทย์ ได้นำไปฝึกฝน และศึกษาต่อ เพื่อนำวิชาความรู้ที่ได้ มาพัฒนา เป็นแพทย์ ผู้รักษาชีวิตของคนอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ถ้ารู้แบบนี้แล้ว คุณสนใจที่จะบริจาคแล้วหรือยัง ?
ที่มาข้อมูล : chulalongkornhospital , pobpad
บทความที่เกี่ยวข้อง :
การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจได้มากถึง 8 ชีวิต
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง มีวิธีการ ขั้นตอนยังไงบ้าง ?