การกระโดด ทำไมถึงมีประโยชน์สำหรับเด็ก? เด็กกระโดดแล้วดีอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับเด็กที่อยู่ในวัยของการเจริญเติบโต การเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกจึงสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย หรือพัฒนาการด้านจิตใจ วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก ๆ ด้วยวิธีการการกระโดด ที่เด็ก ๆ ทุกคนนั้นสามารถทำได้ และเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มาดูกันดีกว่าว่า การกระโดด ทำไมถึงมีประโยชน์สำหรับเด็ก? เด็กกระโดดแล้วดีอย่างไร?

 

ทำไมการกระโดดสำหรับเด็กจึงสำคัญ ?

ตามความจริงแล้วการกระโดดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับเด็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่อย่างคุณพ่อคุณแม่เองก็สำคัญเช่นเดียวกัน โดยการกระโดดนั้นคล้ายกับตอนที่ลูกน้อยของคุณวิ่ง และเป็นสิ่งที่พวกเขาชอบทำ เพราะเขานั้นจะรู้สึกว่าเขาได้รับอิสระที่จะไปพบเจอกับโลกภายนอกด้วยตัวของพวกเขาเอง นอกจากนี้พวกเขายังได้ออกกำลังกายโดยที่เขาก็ไม่รู้ตัวเช่นกัน เรามาดูกันดีกว่า ทำไมการกระโดดจึงสำคัญกับเด็ก

  1. การกระโดดนั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็กที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งการกระโดดนั้นจะทำให้พวกเขารู้สึกกระตือรือร้นและสนุกสนานไปพร้อมกันในทีเดียว
  2. ลูกน้อยของคุณจะได้รับการออกกำลังกายโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว
  3. การกระโดด ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้วิธีการควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเอง
  4. การกระโดดช่วยเสริมบุคลิกภาพของพวกเขาให้ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงการได้เพิ่มความยืดหยุ่นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเหมาะสำหรับวัยที่กำลังเจริญเติบโต

บทความที่น่าสนใจ : ช่วงไหนลูกเรียนรู้ได้เร็วที่สุด กี่ขวบกันนะลูกถึงจะเรียนรู้แบบก้าวกระโดด

 

 

เมื่อไหร่ที่ลูกน้อยของคุณจะเริ่มกระโดด ?

โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่อยู่ในวัยหัดเดินที่กำลังซน ปีนขึ้นปีนลงเฟอร์นิเจอร์ เดินขึ้นลงบันได เริ่มวิ่งโดยไม่สนใจคุณ นั่นแสดงว่าพวกเขาพร้อมที่จะกระโดดแล้ว ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 16-18 เดือน โดยการเริ่มกระโดดของพวกเขาจะเริ่มจากการกระโดดขึ้นลงอย่างเบา ๆ ด้วยสองเท้า กระโดดข้ามวัตถุ กระโดดไปด้านหน้า และกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวตามลำดับ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป โดยสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำมีดังต่อไปนี้

  • อย่าหงุดหงิดถ้าลูกของคุณไม่เริ่มกระโดด

หากลูกน้อยของคุณมีอายุจนถึง 3 ขวบหรือ 3 ขวบครึ่ง แล้วยังไม่มีการเริ่มกระโดด คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ลำดับการเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกายก็แตกต่างกันแกไปด้วยเช่นเดียวกัน

  • อย่าบังคับให้ลูกของคุณกระโดดก่อนถึงเวลา

การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนั้นต้องอาศัยความอดทนและการเรียนรู้จากสัญชาตญาณ การที่คุณบังคับให้ลูกกระโดดเร็วเกินไปอาจทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เพราะกระโดดคือการที่จะต้องทิ้งน้ำหนักลงมาที่เท้า ดังนั้นการที่เร่งให้พวกเขากระโดดเร็วเกินไปอาจไม่ใช่ผลที่ดีสำหรับเขา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก 3 ขวบ จากฮาวาร์ด พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างไร

 

กระโดดอย่างถูกต้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ท่ากระโดดเริ่มต้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเด็ก ๆ มีการกระโดดที่ผิดพลาด หรือผิดท่าทางก็อาจส่งผลทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บได้ ไม่ว่าจะเป็นเท้าลงพื้นอย่างผิดท่า หรือการควบคุมร่างกายตัวเองไม่อยู่และทำให้การลงพื้นผิดพลาดไป โดยท่ากระโดดที่ถูกต้องสำหรับการเริ่มต้นของเด็กควรเป็นดังต่อไปนี้

  • เมื่อกระโดดควรมองตรงไปข้างหน้า หรือขึ้นลงตามการกระโดด ไม่ควรก้มหน้า เพราะอาจทำให้เสียการควบคุม
  • ก่อนเริ่มกระโดดให้ย่อเข่าลง แขนแนบตามลำตัว และแกว่งแขนข้างลำตัวไปด้านหน้า
  • เหยียดขาตรง ขณะที่ร่างกายอยู่เหนือพื้น
  • การลงจากอากาศให้ลงพื้นด้วยปลายเท้า และงอเข่าเพื่อรองรับแรงกระแทก
  • เมื่อเท้าแตะพื้นไม่ควรก้าวเท้าต่อเกิน 1 ก้าว เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้มได้

ทั้งนี้สำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงแรกของการฝึกกระโดดไม่ควรฝึกบนพื้นที่ที่มีผิวขรุขระ หรือกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง แต่ควรเป็นการฝึกบนพื้นที่นุ่มอย่างเตียง โซฟานุ่ม แทรมโพลีน หรือพื้นที่มีการปูพื้นแบบนิ่มเอาไว้ เพื่อลดการบาดเจ็บ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การกระโดด มีประโยชน์สำหรับเด็กอย่างไรบ้าง?

แม้ว่าการกระโดดจะดุไม่ปลอดภัยสำหรับทารก แต่สำหรับเด็กที่มีอายุ 16 เดือนถึง 8 ปี ควรเริ่มมีการกระโดดได้แล้ว และการกระโดดของพวกเขาในวัยที่เหมาะสมก็ทำให้พวกเขาได้รับประโยชน์มากมาย เป็นหนึ่งในการออกกำลังกายที่ได้รับความสนุกสนานร่วมด้วย โดยการกระโดดมีประโยชน์สำหรับเด็ก ดังต่อไปนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หัวใจแข็งแรง

การกระโดดเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ การดีดตัวเองขึ้นจากพื้นส่งให้ตัวของพวกเขาลอยเหนือพื้น ซึ่งถือว่าเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่ช่วยทำให้หัวใจของเด็กแข็งแรง และช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั้งร่างกายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการที่คุณสนับสนุนให้พวกเขากระโดดในวัยที่เหมาะสมนั้นเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก

 

2. กล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง

การกระโดดเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทั้งหมดที่ใช้ในการกระโดดขึ้นและลง การกระโดดบนพื้นผิวที่เด้งได้ เช่น แทรมโพลีน หรือเสื่อในยิม จะช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อของลูกน้อยของคุณได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการกระโดดช่วยจึงช่วยทำให้พวกเขามีความยืดหยุ่นทางร่างกายและช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระและง่ายขึ้น

 

3. รักษาน้ำหนักที่เหมาะสม

ปัจจุบันการรับประทานอาหารของเด็ก ๆ นั้นแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการชอบบริโภคอาหารขยะ ฟาสต์ฟู้ด และอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลจำนวนมาก รวมถึงการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เด็ก ๆ มักนั่งอยู่หน้าจอทีวี หรือเล่นวิดีโอเกมทั้งวันโดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำหนักของพวกเขาได้ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน ดังนั้นการกระโดดเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมวิธีหนึ่งในการลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักของพวกเขาให้เป็นไปตามเกณฑ์ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมทำให้ร่างกายของพวกเขามีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ : เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

4. ระบบน้ำเหลืองที่แข็งแรงขึ้น

ในการจัดการเกี่ยวกับสารพิษในร่างกายของเรานั้นจะถูกจัดการด้วยระบบน้ำเหลือง โดยการกระโดดเป็นการกระตุ้นทำให้ระบบน้ำเหลืองทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดการสารพิษในร่างกายของลูกน้อยของคุณก็จะถูกกำจัดออกไป รวมถึงสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เพิ่มขึ้นด้วย

 

5. สุขภาพจิตที่ดี

เวลาที่ลูกน้อยของคุณกระโดด นอกจากสุขภาพร่างกายของพวกเขาจะแข็งแรงแล้ว ยังช่วยส่งเสริมทำให้สุขภาพจิตของพวกเขาดีขึ้นอีกด้วย เพราะการกระโดดช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น และออกซิเจนที่ได้รับเข้าไปจำนวนมากจะถูกสูบฉีดเข้าสมองของเด็ก ๆ ทำให้พวกเขารู้สึกตื่นตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นทำทำให้สมองปล่อยสารเอ็นเดอร์ฟินออกมาทำให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น

 

6. ส่งเสริมการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การกระโดดนอกจากจะช่วยให้ลูกของคุณได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ลูกของคุณเข้าสังคมเก่งขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากการกระโดดโลดเต้นเพียงคนเดียว การกระโดดก็สามารถเป็นกิจกรรมที่เล่นได้หลายบุคคล ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะแบ่งปันสนามเด็กเล่น เครื่องเล่น และเหมาะสำหรับเด็กชอบเก็บตัว ชอบเลี่ยงกิจกรรม เกม หรือกีฬาที่เสริมสร้างทักษะทางสังคมอื่น ๆ ให้มีความกล้ามากยิ่งขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ส่งเสริมการกระโดดของลูกได้อย่างไรบ้าง ?

สำหรับเด็กบางบ้านนั้นไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของพัฒนาการ แต่ที่ลูกของคุณไม่กล้าที่จะกระโดด หรือเริ่มต้นกระโดดด้วยตนเองอาจมีสาเหตุมาจากความกลัว หากคุณมั่นใจว่าพวกเขาอยู่ในวัยที่จะสามารถเริ่มกระโดดได้แล้ว และเห็นถึงความกลัวของลูกคุณสามารถช่วยกระตุ้นให้พวกเขากระโดดได้ ดังต่อไปนี้

  • เสริมความแข็งแรงให้กับขาของพวกเขาในวัยหัดเดิน ให้พวกเขาเริ่มเดินด้วยนิ้วเท้า
  • ช่วยพยุงพวกเขาโดยการถือมือ 2 ข้างยกขึ้นขณะที่พวกเขากำลังจะกระโดด
  • จัดพื้นผิวที่จะกระโดดให้มีความอ่อนนุ่ม และเหมาะสำหรับการกระโดดขึ้นลง จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
  • เริ่มให้พวกเขาก้าวข้ามและกระโดดข้ามเทปที่แปะอยู่บนพื้น
  • กระโดดไปพร้อมกับพวกเขา
  • เริ่มกระโดดลงขั้นบันได อาจทำให้พวกเขาเข้าใจในการกระโดดมากยิ่งขึ้น แต่ต้องระวังเรื่องของอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
  • เล่นกบกระโดด หรือกระต่ายกระโดด
  • กระโดดจากวงกลมหนึ่งไปอีกวงกลมหนึ่ง
  • กระโดดเชือก หรือกระโดดยาง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การกระโดด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดใช่ไหม เพราะเด็กบางคนพวกเขาก็เริ่มการกระโดดได้ด้วยตัวเอง โดยที่คุณหรือแม้แต่ตัวพวกเขาเองก็ยังไม่รู้ตัว แต่สำหรับเด็ก ๆ บ้านไหนที่ยังไม่ได้เริ่มก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ขอเพียงอย่างเดียวคืออย่าบังคับให้พวกเขากระโดดก่อนวันที่เหมาะสมเด็ดขาด เพราะพวกเขาอาจมีปัญหาด้านร่างกายตามมาได้นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กวิ่ง ได้ตอนไหน ? เมื่อไหร่ที่เด็กเริ่มวิ่งได้เหมือนผู้ใหญ่ ?

เด็ก ๆ เล่นบอล แล้วดียังไง ฟุตบอลช่วยเสริมทักษะด้านไหนได้บ้าง

พัฒนาการลูกดี ต้องมีวินัยเชิงบวก

ที่มา : fitnesskid, blastentertainment, avondale.uptownjungle, healthbeginswithmom, babysparks, mamastory

บทความโดย

Siriluck Chanakit