กัญชา กับประโยชน์ที่ควรรู้ เลือกใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์

มาทำความรู้จักกับกัญชากันเถอะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กัญชา เป็นพืชสมุนไพร ที่ใคร ๆ ก็คงรู้จักในประเภทของหมวดยาเสพติด แต่เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกกัญชา-กัญชง ออกจากยาเสพติด โดยเผยว่าชิ้นส่วนไหนปลูกได้ไม่จัดเป็นยาเสพติด ใช้ได้ทั้งสครับผิว ชาชงดื่ม แชมพู สบู่ อาหาร และขนมต่าง ๆ โดยวันนี้ เรามีประโยชน์ของกัญชามาฝากกัน ว่าจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ได้บ้าง

 

 

กัญชา อดีตเป็นยาเสพติด

ในปัจจุบันประเทศไทย ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับกัญชา กัญชาจึงยังคงถูกตีตราว่าเป็นสิ่งเสพติด และหลายคนยังคิดว่า ผิดกฎหมายในไทย ในต่างประเทศ การซื้อ ขายกัญชา เป็นสิ่งถูกกฎหมาย และหลาย ๆ ประเทศ มีเสรีในการ ผลิต ซื้อขาย หรือจะใช้ในทางการแพทย์ ในที่นี้ยังคงต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมายของประเทศนั้น ๆ

 

กัญชา เคยเป็นสิ่งเสพติดที่ให้โทษต่อร่างกาย แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ทุกคนเข้าใจ เนื่องจากอีกด้านของกัญชา มีประโยชน์ไม่น้อยเลย เพียงแค่ต้องนำมาใช้ให้ถูกวิธี หากเราใช้ในปริมาณที่พอดี จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และยังมีผลกระทบต่อสมอง น้อยกว่าเหล้า สุรา หรือสารเสพติดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมารักษา หรือบำบัดโรคได้อีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ใช้เป็นยานอนหลับ หรือ ตัวช่วยที่ทำให้อารมณ์ดี รวมไปถึงโรคร้ายแรง อย่างโรคมะเร็งต่าง ๆ ถือว่าเป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณมากมายจริงๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

กัญชากับตำราแพทย์แผนไทย

ในขณะที่ต่างประเทศ บางประเทศได้เปิดให้กัญชาเสรีได้อย่างเต็มที่ ส่วนประเทศไทยนั้น ก็ได้มีการกำหนดให้ใช้กัญชา ในการรักษาทางการแพทย์ ปี 2564 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ อนุญาตให้ใช้ตำรับกัญชาแผนไทย ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 5 กัญชาปรุงผสมอยู่ เพื่อให้เสพ เพื่อรักษาโรค หรือ เพื่อการศึกษาวิจัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากข้อมูลในตำรา ยากัญชาแผนไทย (พระโอสถพระนารายณ์ และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์) ได้พบว่ามีตำราแผนไทย ที่สามารถนำมาประยุคใช้กับกัญชา ซึ่งรวบรวมมาจากพระคัมภีร์ หลายฉบับในอดีต หมายความว่า กัญชาได้ถูกใช้เป็นส่วนผสมตัวยา เพื่อรักษาและบำบัดอาการป่วยต่าง ๆ มานานหลายร้อยปีแล้ว สถาบันแพทย์แผนไทย ได้ยกตัวอย่างสูตรตำรายา เช่น

 

  • ตำรับศุขไสยาศน์ ช่วยให้นอนหลับสบาย แก้ปวด เจริญอาหาร ซึ่งนำมาใช้ทดแทน หรือเสริมกับยาแผนปัจจุบัน ในกลุ่มยานอนหลับ ยาคลายเครียด
  • ตำรับทำลายพระสุเมรุ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการแข็งเกร็ง จากอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
  • ตำรับน้ำมันสนั่นไตรภพ ช่วยเรื่องท้องมาน ท้องบวม คลายลมในท้อง ท้องอืดจากโรคมะเร็งตับ ใช้ทาบริเวณท้อง
  • ตำรับทัพยาธิคุณ ช่วยเรื่องโรคเบาหวาน ลดน้ำตาล

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ผู้เริ่มใช้ควรรู้ และใครรบ้างที่ไม่ควรใช้กัญชา

ผู้เริ่มใช้ควรศึกษา และเข้าใจข้อมูลของกัญชา ก่อนใช้รักษา ว่าสารสกัดกัญชา ไม่ใช่ทางเลือกแรก ๆ ของการรักษา ควรใช้เป็นการรักษาเสริม จากการรักษามาตรฐานทั่วไป ไม่ใช่การหยุดรักษาแบบมาตรฐาน แล้วใช้กัญชารักษาเพียงอย่างเดียว จะส่งผลเสียมากกว่าประโยชน์ ที่ควรจะได้จากการรักษา ควรรับรู้ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ และในทางกลับกัน ควรรับรู้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้กัญชาด้วยเช่นกัน

 

เมื่อเริ่มใช้สารสกัดกัญชา ในการรักษา ผู้ป่วยควรเริ่มจาก ปริมาณที่น้อยที่สุด หากใช้ร่วมกับการักษามาตรฐาน แล้วยังไม่เห็นผล ค่อย ๆ ปรับเพิ่มทีละนิด ที่สำคัญควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด คอยสังเกตอาการ หากเกิดผลข้างเคียง หรือผิดปกติ ให้รีบนำผู้ป่วยพบแพทย์ทันที เมื่อต้องการจะใช้สารสกัดกัญชา ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งเมื่อรับยารักษา เพราะสารสกัดกัญชา ส่งผลต่อยาบางชนิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ใช่ว่าทุกคนจะสามารถใช้กัญชารักษา และบำบัดได้ ยังมีกลุ่มคนบางประเภทที่ไม่ควรใช้ยากัญชา ได้แก่กลุ่มคนต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะทำร้ายตนเอง
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ไบโพล่า โรคจิตเภท
  • ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการทานยา ต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

 

เมื่อเราทราบข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวังในการใช้กัญชา ถึงแม้ว่าประโยชน์ของกัญชานั้นจะมากมายก็จริง แต่ในประเทศไทย ก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากมายนัก ดังนั้นผู้ที่ต้องการปลูก หรือซื้อ-ขาย เพื่อใช้ในรักษา ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน และติดตามข่าวสาร หากมีข้อสงสัย หรือต้องการยื่นเอกสารขออนุญาต สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือเบอร์โทร 1556 กด 3

 

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

บทความที่เกี่ยวข้อง :

รู้ก่อนปลอดภัยก่อน!! อาหารจากกัญชา ให้โทษหรือมีประโยชน์กันแน่

เหลือเชื่อ ลูกหายจากโรคมะเร็ง เพราะกัญชาจากแม่!

น่าเป็นห่วงไหม เมื่อเเม่ท้องใช้กัญชาเยอะขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee