กลิ่นทารกแรกเกิด มีกลิ่นหอมพิเศษ เพราะอะไรกันนะ
กลิ่นทารกแรกเกิด มีกลิ่นหอมพิเศษ เพราะอะไรกันนะ วิทยาศาสตร์มีคำตอบค่ะ แม่ ๆ มือใหม่คงยังไม่ทราบ แต่แม่ ๆ ที่ลูกเริ่มโตแล้วคงจะรู้กันดีว่า เด็กทารกจะมีกลิ่นเป็นของตัวเอง แต่เมื่อเริ่มโต กลิ่นที่ว่านี่ก็จะค่อย ๆ จางหายไปค่ะ
กลิ่นกายทารก ทำไมห๊อม หอม วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
จากงานวิจัยในปี 2013 มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูการตอบสนองของสมอง โดยสาว ๆ ทั้ง 30 คน เป็นกลุ่มที่จะมาทดลองในงานวิจัยครั้งนี้ โดบแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูก 15 คน ที่เหลือเป็นผู้หญิงที่ไม่เคยคลอดลูก ทั้ง 30 คนนี้จะดมเสื้อผ้าของเด็กวัย 2 วัน ที่ยังไม่ได้ซัก โดยผลลัพธ์ คือ สมองมีการตอบสนองเหมือนกับการได้กลิ่นหอมของอาหารหรือยา โดยสรุปว่า กลิ่นกายของเด็กทารกนั้น เทียบเท่ากับกลิ่นที่ทำให้มึนเมาได้
ทำไมเด็ก ๆ ถึงมีกลิ่นหอม
กลิ่นกายพิเศษของเด็กทารกนี้ มาจากไหน คุณแม่พอจะทราบกันไหมคะ ทั้งนี้ที่มาของกลิ่นกายทารกมาจากทฤษฎีหลัก ๆ 2 ทฤษฎีด้วยกันค่ะ นั่นคือ ทฤษฎีหนึ่ง กล่าวว่า กลิ่นนี้มาจากต่อมเหงื่อของเด็กทารก ซึ่งเด็ก ๆ จะมีกลิ่นนี้อยู่นานเพียงแค่ 6 สัปดาห์เท่านั้นค่ะ หลังจากนั้นระบบการเผาผลาญของเด็ก ๆ จะเปลี่ยนไปเมื่อเริ่มมีการดื่มนมแม่ได้ด้วยตัวเอง แทนการรับสารอาหารผ่านสายสะดือ
กับอีกหนึ่งทฤษฎีที่บอกว่า กลิ่นหอมนั้นมาจาก ไขมันในทารกแรกเกิด หรือ Vernix caseosa หลังจากที่ไขหลุดออกจากร่างกายและบริเวณหนังศีรษะแล้ว กลิ่นของมันอาจติดอยู่นานกว่านั้นค่ะ แต่ก็จะค่อย ๆ จางหายไปในที่สุด
กลิ่นนั้น มีพลังไฉน
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บอกว่ากลิ่นเป็นสิ่งที่ทรงพลังอย่างหนึ่งสำหรับสมองของเรา กลิ่นสามารถป้องกันเราไม่ให้กินอาหารที่เน่าเสีย หรือทำให้เราผูกพันธ์กับคนที่เรารักได้ ทารกก็เช่นกันค่ะ สมองของทารกจะมีปฏิกิริยากับกลิ่นของคุณแม่หรือกลิ่นของนมแม่ของตัวเอง (ไม่ใช่ของคุณแม่คนอื่นๆ) เมื่อเด็กๆ เจ็บป่วยหรือทุกข์ทรมาน ทางโรงพยาบาลจะวางเสื้อผ้าของคุณเอาไว้ในตู้เด็กๆ ที่คลอดก่อนกำหนด
งานวิจัยในปี 2001 แสดงให้เห็นว่าเด็กทารกจะคลานไปยังแผ่นที่มีนมแม่ของคุณแม่ตัวเองหกอยู่ และงานวิจัยในปี 2006 พบว่าคุณแม่จะไม่รังเกียจการดมกลิ่นอุจจาระของลูกๆ ตัวเอง เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ นั่นแหละที่เรียกว่าความรักของคุณแม่แหละค่ะ
แม้ว่ากลิ่นกายอันแสนพิเศษของเด็กทารกจะจางหายไป คุณแม่ส่วนใหญ่บอกว่ายังจดจำกลิ่นของลูกตัวเองได้เสมอ คุณแม่ส่วนหนึ่งถึงกับบอกว่าแม้เด็กๆ จะอยู่ในช่วงวัยเตาะแตะแล้ว เธอก็ยังได้กลิ่นนั้นอยู่ค่ะ และถึงแม้ว่าลูกจะผ่านวัยทารกมาหลายปีแล้วก็ตาม ตราบใดที่เขายังเข้าบ้านมาด้วยกลิ่นเหงื่อ กลิ่นโคลนที่คลุกมาตลอดวัน คุณแม่ก็ยังจะมีความทรงจำดีๆ เกี่ยวกับกลิ่นของลูกรักที่ไม่จางหายไปง่ายๆ หรอก ใช่ไหมละคะ
ที่มา Whattoexpect
ทำไมแม่ชอบ หมั่นเขี้ยวลูก
สำหรับอาการหมั่นเขี้ยวลูก อยากหอม อยากฟัด อยากขบกัดเบา ๆ เป็นกลไกตามหลักวิทยาศาสาสตร์ ไม่ใช่แค่ว่า ลูกน่ารักหรอกนะ
นักจิตวิทยาเผยว่า เวลาที่พ่อแม่เห็นลูก หรือแม้แต่คนรอบตัว ที่เห็นเจ้าตัวน้อยแล้วอยากหยิก อยากกัด เป็นสภาวะ dimorphous expressions ที่ทำให้ร่างกายเราแสดงออกและกำลังพยายามควบคุม ปรับสมดุลของอารมณ์ตนเอง
เพราะมนุษย์นั้นมีอารมณ์ที่หลากหลาย การมองเห็นทารกหรือเด็กน้อย ทำให้เรารู้สึกถึงความน่ารักที่เลเวลอัพ หรือ ความน่ารักในระดับที่มากกว่าปกติ
แล้วทำไม เราอยากฟัดหรือขบกัดล่ะ?
นั่นก็เพราะร่างกายต้องปรับสมดุลอารมณ์ตัวเองให้เข้าที่ จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมแบบตรงข้าม จึงทำให้อยากหยอกล้อ หยิก ขบ กัด แต่ถ้ายั้งอารมณ์อยู่ ก็จะเป็นแค่การหอมแก้ม กอด หรือฟัดเบา ๆ
จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมพ่อแม่ หรือแม้แต่คนที่เห็นลูก ชอบที่จะดมกลิ่นทารก เพราะว่าหอมกลิ่นลูกแรกเกิด พอลูกเริ่มโต จ้ำม่ำ ก็ยิ่งอยากหอมแก้ม อยากฟัดพุง แต่อย่าทำรุนแรงนักนะคะ เพราะทารกมีผิวพรรณที่บอบบาง นอกจากนี้ เมื่อแม่ป่วย ต้องห้ามเด็ดขาดที่จะจูบหรือหอมลูก ระวังลูกจะป่วยไปด้วยนะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
source หรือ บทความอ้างอิง : whattoexpect.com
บทความที่น่าสนใจ :
ผู้ใหญ่เป็นพาหะเชื้อไวรัส RSV สู่ทารก เอ็นดูอยู่ห่าง ๆ ปลอดภัยกับเด็กมากกว่า
การดูแลทารกแรกเกิดเมื่อกลับบ้าน ในสัปดาห์แรก แม่มือใหม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง?
สัญญาณอันตรายของทารกหลังคลอด แบบนี้ต้องไปหาหมอด่วนที่สุด
เรื่องที่คุณยังไม่รู้! ทำไมถึงรู้สึกมีความ หมั่นเขี้ยว เจ้าตัวเล็ก