เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าคุณแม่เจอฝ้าที่สาวที่ปากลูกน้อย ไม่ว่าจะทำความสะอาดยังไง ฝ้าสีขาวพวกนั้นก็ไม่หายไปสักที อย่าวางใจไปนะคะ นั่นอาจเป็นเชื้อราในปากลูกน้อยก็ได้ ต้องรีบพบแพทย์ค่ะ บทความนี้จะพาไปดู เชื้อราในปากทารก อาการ วิธีการสังเกต และการรักษา

 

เชื้อราในปากทารก คืออะไร?

เชื้อราในช่องปากทารก เป็นหนึ่งในชนิดเชื้อราที่ชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) โดยปกติแล้ว เชื้อชนิดนี้จะอาศัยอยู่ที่บริเวณผิวหนังของมนุษย์ เช่น คอ ลิ้น ปาก กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก ต่อมทอนซิล เพดานปาก ช่องคลอด และลำไส้ เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วเชื้อรานี้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจเกิดการลุกลาม หรือ แพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น หัวใจ ไต กระแสเลือด สมอง เป็นต้น

 

เชื้อราแคนดิดาบางชนิด อาจมีความแข็งแรงและทนทาน ทำให้ยากต่อการรักษา ซึ่งจะสังเกตได้ด้วยฝ้าสีขาวข้น มักพบได้บ่อยในวัยทารก และเชื้อรานี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก หรือ ลำคอของทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน และอาจมีผลต่อผู้สูงอายุได้ในบางราย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเชื้อราในปากทารก

อาการเชื้อราในปากทารก อาจแสดงอาการแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยผู้ที่เป็นอาจยังไม่รู้สึกถึงอาการ หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้น เนื่องจากเชื้อราในปากใช้เวลาหลายวัน กว่าจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาการต่าง ๆ สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • มีคราบสีขาวเกิดขึ้นที่บริเวณต่าง ๆ เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก ต่อมทอนซิล เพดานปาก เป็นต้น
  • คราบสีขาวที่ปรากฏจะมีลักษณะคล้ายกับฝ้าในปาก
  • อาจมีแผลในช่องปาก หรือ มีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย
  • อาจมีอาการปากแห้งร่วมด้วย
  • อาจมีอาการปากแตก หรือ เป็นรอยที่มุมปาก

 

ทารกที่มีเชื้อราในช่องปาก จะทำให้เกิดปัญหาในการดูดนม ทำให้ทารกเกิดอาการหงุดหงิดง่าย และยังอาจส่งผลไปถึงคุณแม่ที่ให้นมด้วย โดยแม่อาจติดเชื้อราจากลูก และทำให้เป็นเชื้อราที่หัวนมได้ ซึ่งอาจพบอาการไม่พึงประสงค์ได้ ดังนี้

  • มีอาการเจ็บ และ คัน บริเวณหัวนม
  • เกิดความผิดปกติที่บริเวณหัวนม เช่น หัวนมแห้ง หัวนมแตก หรือ มีผื่นแดง
  • อาจพบขุยได้ที่บริเวณลานนม
  • มีอาการเจ็บตอนที่ให้นมลูก
  • มีอาการเจ็บ ปวดร้าวไปจนถึงหน้าอก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตอาการและรักษาเชื้อราในปากทารก

วิธีสังเกตสามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบช่องปากทารก โดยทารกจะมีฝ้าสีขาว อาจเป็นแผ่นหนา จนทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ร้องงอแง ไม่ยอมกินนม จนอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ ถ้าคุณแม่เห็นว่าลูกมีฝ้าสีขาว ๆ ลองให้ลูกดูดน้ำต้มสุก หรือ ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น เช็ดทำความสะอาดเบา ๆ ฝ้าเหล่านั้นก็อาจหลุดหายไปได้ ซึ่งจะไม่ส่งผลอันตรายต่อเด็ก แต่หากลองทำเบื้องต้นแล้วฝ้ายังไม่หายไป ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจต่อไป

 

วิธีสังเกตว่าควรพาลูกไปพบแพทย์

เมื่อพบฝ้าขาวในปากลูกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม หรือ ส่วนต่าง ๆ ในปาก หรือ เช็ดทำความสะอาดแล้วฝ้าเหล่านั้นก็ยังไม่หายไป คุณแม่ควรพาลูกไปหาหมอทันที เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจ วินิจฉัย และให้ยารักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากของลูกให้ดี เพราะหากรับการรักษาแล้ว แต่ไม่ดูแลความสะอาด ลูกก็อาจกลับมาเป็นเชื้อราในปากได้อีก แต่หากทายาแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือ เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น มีไข้ ไม่ยอมดูดนม คุณแม่ก็ควรพาไปพบแพทย์อีกครั้ง เพราะลูกอาจเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เริม หรือ แบคทีเรีย เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันเชื้อราในปากทารก

  • เชื้อราในช่องปาก สามารถพบได้บ่อยในทารก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการทำความสะอาดขวดนมและจุกนม ให้สะอาดด้วยน้ำร้อน จะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราได้
  • แปรงฟัน แปรงลิ้น แปรงเหงือก ให้ลูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • พาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
  • หมั่นล้างมือให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความสะอาดของเล่นลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรค และลูกนำของเล่นเข้าปาก

 

อาการแทรกซ้อนโรคเชื้อราในปากลูก

หากเป็นเด็กปกติทั่วไป อาจไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ แต่หากเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ จำเป็นต้องรักษาด้วยการให้อาหารทางสายเลือด เชื้อราเหล่านี้ อาจเข้าสู่กระแสเลือด จนนำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้

 

วิธีดูแลช่องปากให้ลูก

คุณแม่ควรดูแลความสะอาดในช่องปากของลูกน้อยเป็นประจำ โดยสามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นที่สะอาด เช็ดเบา ๆ หลังลูกดื่มนม เพื่อเป็นการทำความสะอาดได้ ฝ้าเหล่านั้นก็จะไม่ปรากฏให้เห็น ซึ่งการทำความสะอาดในลักษณะนี้ จะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อย

 

สำหรับลูกน้อยที่ดื่มนมแม่ โอกาสการเกิดเชื้อรามีน้อย เนื่องจากน้ำนมแม่จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานที่สามารถกำจัดเชื้อราได้ แต่คุณแม่ก็ควรดูแล ทำความสะอาดช่องปากให้ลูกอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย

 

เชื้อราในปากทารก อาจไม่ได้ส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ คุณแม่ควรทำการดูแลและรักษาเบื้องต้น หากทำแล้วอาการของลูกน้อยยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และหาสาเหตุของอาการต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาข้อมูล AMPRO Health

บทความที่น่าสนใจ

เมื่อมี ตุ่มขาวในปากทารก ต้องทำอย่างไร ตุ่มขาวในปาก คืออะไร

วิธีทำความสะอาดลิ้นลูก แบบง่ายๆ พร้อมวีดีโอสาธิต

พ่อแม่เลิกกังวล ลูกลิ้นขาว ลิ้นเป็นฝ้า บ่งบอกอะไรได้บ้าง

บทความโดย

Waristha Chaithongdee