ท่าทารกในการคลอด หลากหลายวิธีการคลอดสำหรับแม่และทารกในครรภ์

ช่วงใกล้คลอดคุณหมอจะนัดตรวจกระชั้นมากขึ้นคืออาทิตย์ละครั้งเพื่อดูความพร้อมของปากมดลูกรวมไปถึงท่าคลอดของทารก คุณหมอจะใช้วิธีการคลำหน้าท้องของคุณแม่รวมไปถึงการตรวจภายในโดยใช้นิ้วแหย่ว่าท่าทารกนั้นอยู่ในท่าใด ติดตามอ่านท่าทารกในการคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่าทารกในการคลอด

ช่วงก่อนคลอดคุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ของคุณแม่  การตรวจหน้าท้องเพื่อคลำดูว่า  ส่วนนำของทารกมาเป็นส่วนไหน  หลังของทารกอยู่ด้านใด  พอปากมดลูกเปิด คุณหมอก็จะตรวจภายในโดยวิธีการใช้นิ้วแหย่เข้าไป เพื่อดูว่ากะโหลกศีรษะเป็นหน้า หรือเป็นก้น  เป็นต้น  เพื่อให้แน่ใจว่า ท่าทารกในการคลอดน่าจะอยู่ในท่าใด

1. ท่าศีรษะ

1. ท่าทารกในการคลอดส่วนมากจะอยู่ในท่าศีรษะและก้มหน้าลง

2. เป็นท่าที่สบายตามปกติของทารกทั่วไป  ช่วยให้การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดสามารถคลอดได้ง่าย

3. แต่ถ้าคลอดออกมาโดยทารกเงยหน้าหรือใบหน้าอยู่ด้านบน  อันมีสาเหตุจากอุ้งเชิงกรานแคบหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำให้ศีรษะของทารกหมุนคว่ำลงไม่ได้ จึงคลอดออกมาทั้ง ๆ ที่เงยหน้า ทำให้คลอดยากกว่าและไม่สามารถใช้เครื่องดูดสุญญากาศได้ เพราะอาจจะโดนหน้าโดนตาทารกน้อย  คีมคีบอาจช่วยได้บ้างแต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  กรณีนี้ต้องอาศัยแรงเบ่งของคุณแม่แล้วค่ะ

4. แต่ถ้าอุ้งเชิงกรานแคบและทารกค่อนข้างตัวใหญ่ คือ  มากกว่า 3,000 กรัม คุณหมอมักจะให้ผ่าคลอดซึ่งอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอในขณะนั้น

บทความแนะนำ  เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

2. ท่าก้น

1. ท่าทารกในการคลอดท่าก้น  พบว่า ทารกคลอดท่าก้นในกรณีที่มดลูกของคุณแม่มีเนื้องอก  มีรกเกาะต่ำ  ทารกศีรษะโตมาก หรือมีอะไรอย่างอื่นที่ขวางทางอยู่

2. ท่าคลอดทารกท่าก้นนี้  หากเป็นท้องแรกคุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอด  หากเป็นท้องหลัง ๆ คุณแม่อาจจะคลอดเองได้

3. นอกจากท่าก้น ยังมีท่าทารกในการคลอด คือ ท่าเท้า  โดยทารกเอาเท้าเป็นส่วนนำออกมาก่อน  ท่าคลอดทารก  ท่าเข่า คือ  ทารกเอาเข่าออกมาก่อน  ท่าทารกในการคลอด  ท่าขัดสมาธิ คือ  ทารกขัดสมาธิ  ท่าเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นท้องแรก หรือท้องหลังก็ตามคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยขอแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

3. ท่าขวางหรือท่าเอียง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ท่าทารกในการคลอด ท่าขวางมดลูก พบว่า  มักมีสาเหตุมาจากมดลูกมีอะไรสักอย่างมาขวางไม่ให้ทารกหมุนตัว  เช่น  รกเกาะต่ำ มีเนื้องอกในมดลูกมาขวาง  หรือทารกเองมีเนื้องอก  กรณีนี้มักจะพบในคุณแม่ทั้งตั้งครรภ์ท้องหลัง ๆ  เพราะมดลูกถูกยืดมาก่อนจากครรภ์ครั้งแรกแล้ว

2. หากท่าทารกในการคลอดอยู่ในท่าขวาง  คุณหมอมักจะทำการผ่าตัดทุกราย เพราะยากที่คุณแม่จะคลอดเองได้

3. จากสถิติพบว่า หากเป็นเด็กที่คลอดครบกำหนด จะคลอดในท่าศีรษะร้อยละ 95 และจะอยู่ในท่าก้นประมาณร้อยละ 3 ส่วนท่าขวางจะพบน้อยมากคือ ร้อยละ 1

4. หาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด  จะคลอดในท่าผิดปกติเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ คลอดท่าศีรษะร้อยละ 80 คลอดท่าก้นประมาณร้อยละ 10 ส่วนคลอดในท่าขวางจะพบประมาณร้อยละ 1

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลากหลายวิธีการคลอดสำหรับแม่และทารกในครรภ์

1. การคลอดแบบธรรมชาติ

 

– กรณีคลอดแบบธรมชาติสำหรับคุณแม่และทารกที่มีสุขภาพข็งแรง  ทากรอยู่ในท่าคลอดที่เหมาะสม คือ ท่าศีรษะ การคลอดแบบธรรมชาติเป็นวิธีการคลอดที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย  โดยคุณหมอจะตรวจดูช่วงใกล้ถึงกำหนดคลอด ว่าทารกอยู่ในท่าศีรษะลงสู่อุ้งเชิงกรานหรือไม่

– การคลอดแบบธรรมชาตินั้นคุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์อย่างมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความอดทนสูงจริง ๆ ค่ะ  คุณหมออาจฉีดยาแก้ปวดเข้าทางเส้นเลือด หรือฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้คุณแม่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การผ่าคลอด

 

– สำหรับคุณแม่บางคน  คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอด  เช่น  คุณแม่มีโรคประจำตัว  มีลูกเมื่ออายุมากแล้ว หรือศีรษะของทารกไม่อยู่ในอุ้งเชิงกราน  แต่อยู่ในท่าก้น  ท่าขวาง เป็นต้น  ในเวลาที่ครบกำหนดคลอด  แต่การผ่าตัดจะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติถึง 2 เท่าและจะเจ็บแผลนานกว่า  คุณหมอมักจะแนะนำให้ผ่าตัดคลอดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

– ปัจจุบันเพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดอย่างได้ผลคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการผ่าตัด แต่การดมยาสลบ คุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่เห็นหน้าลูกทันทีที่คลอดออกมา เพราะคุณแม่จะหลับไม่รู้ตัวและจะฟื้นอีกทีหลังคลอด

– คุณแม่ส่วนใหญ่จึงไม่เลือกวิธีดมยาสลบ เพราะยาสลบจะมีผลต่อทารก  เช่น  ลูกคลอดออกมาแล้วไม่ร้อง  ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบตามแม่ไปด้วย

– สาวนการฉีดยาเข้าไขสันหลัง หรือการบล็อกหลังนั้น  ลูกน้อยจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด  เพราะไม่ได้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพียงแต่ทำให้ส่วนล่างของคุณแม่ชา  ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด  แต่คุณแม่จะรับรู้เหตุการณ์ระหว่างคลอดทุกอย่าง  พร้อมทั้งได้ยินเสียงลูก  เห็นหน้าลูกทันทีที่ลูกคลอดออกมา

– การผ่าคลอดจะมีอาการเจ็บแผลนานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ

3. การคลอดในน้ำ

– การคลอดในน้ำเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดแต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก

– การคลอดในน้ำต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่  ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการคลอดในน้ำจะไม่ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจลูก

– แต่แท้ที่จริงแล้วการคลอดในน้ำไม่น่ากังวลอย่างที่หลาย ๆ คนคิด  หากคุณแม่มีความพร้อมและมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงคุณหมอก็พร้อมจะให้การดูแลเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– การคลอดในน้ำไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหรือฉีดยาระงับปวดใด ๆ  และเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว ก็สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย รวมถึงคุณแม่ก็จะรู้สึกเบาสบายไม่เจ็บปวดมากนัก

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ  เตรียมคลอดให้ปลอดภัย  พ.ญ.ภักษร  เมธากูล ผู้เขียน

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

7 สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องคลอดยาก

อุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม