ลูกเป็นแผลในปาก เกิดจากอะไร? ลูกปากเปื่อย ปากเป็นแผล ร้อนใน ทำยังไง

ทารกน้อยมีแผลในปากเต็มไปหมด ทำอย่างไรดี? ลูกเป็นแผลในปาก ลูกเป็นร้อนใน หรือเป็นโรคร้ายกว่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเป็นแผลในปาก อย่าคิดแค่ว่า ลูกเป็นแผลในปาก ร้อนใน เพราะจริง ๆ แล้ว ที่ลูกกำลังทรมาน อาจเกิดจากโรคร้ายแรงกว่านั้น สังเกตให้ดี ลูกร้อนใน มีไข้ ลูกเป็นแผลที่ลิ้นไหม แผลในปากลูกดูรุนแรงผิดปกติหรือไม่ มาดูโรคอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ส่งสัญญาณโรคร้ายจากแค่แผลในปาก

 

เด็กเป็นร้อนใน ลูกปากเปื่อย 

ลูกกำลังทรมาน เป็นแผลในปาก ร้อนใน ลูกปากเปื่อย ไข้ขึ้น โรคที่ทำให้เกิดแผลในช่องปากในเด็กที่พบบ่อยๆนั้นมีอยู่ 4 โรค คือ

  • ลูกเป็นแผลในปากจากโรคมือ เท้า ปาก
  • ลูกเป็นแผลในปากจากโรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)
  • ลูกเป็นแผลในปาก โรคแผลในช่องปากเนื่องจากเชื้อไวรัสเริม (Herpetic gingivostomatitis)
  • แผลร้อนใน (Apthous)

คุณแม่เรามีวิธีการดูว่า ลิ้นลูกเป็นแผลหรือลูกปากเป็นแผล กันยังไง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้เลย เลื่อนลงได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้องลูกไข้สูง มีแผลในปาก กินข้าวไม่ได้ ระวัง เฮอร์แปงใจน่า ไม่มียารักษา

 

 4 โรค ร้อนในที่เหงือก ปากเป็นหนอง คือ

คุณแม่ท่านหนึ่งสงสัยว่า ลูกเป็นแผลในปากมีไข้ ลูกน้อยวัย 7 เดือนเป็นแผลในปากเต็มไปหมดและมีไข้มานาน 2-3 วัน น่าจะเกิดจากอะไรได้บ้างและต้องรักษาอย่างไร วันนี้หมอจึงมาเล่าให้ฟังกันนะคะว่า สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดแผลในปากทารกที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง

 

1. ลูกเป็นแผลในปากจากโรคมือ เท้า ปาก เด็กเป็นแผลในปาก

เกิดจากการติดเชื้อกลุ่ม Enterovirus เช่น coxsackievirus และ enterovirus 71 ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เป็นแผลในปาก อาการอื่น ๆ หากลูกเป็นโรคมือ เท้า ปาก คือ มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว การติดต่อเกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ และน้ำจากตุ่มใสของผู้ป่วย หรืออาจติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ โรคนี้จึงพบบ่อยในเด็กวัยทารกจนถึง 5 ปี การรักษาจะรักษาตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ หยดยาชาลดอาการเจ็บแผลในปากจะช่วยให้ลูกเจ็บแผลน้อยลง กินอาหารได้ดีขึ้น อาการของโรคมือเท้าปากมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน

ข้อควรระวัง :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเป็นกลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อย มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต
  • หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที เพราะอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์รุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

 

2. ทารกปากเปื่อย โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)

โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus เช่น คอกแซคกีไวรัส และเอคโคไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย ผู้ป่วยจะมีแผลในปากที่บริเวณเพดานปาก ลิ้นไก่ ด้านหลังของคอหอย เพดานอ่อน ขอบทอนซิล ทอนซิล โดยไม่มีมีผื่นสีแดง หรือตุ่มน้ำ ที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า (ซึ่งแตกต่างจาก โรคมือ เท้า ปาก) มีไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ เบื่ออาหาร กินได้น้อย การติดต่อเกิดจากการคลุกคลีกับผู้ป่วย แล้วสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ต่าง ๆ และการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ และพบบ่อยในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี คล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก การรักษาจะรักษาตามอาการ เช่นเดียวกับมือเท้าปาก ผู้ป่วยควรทานแต่อาหารอ่อน ๆ ไม่ควรทานอาหารร้อนจัดเพราะอาจกระตุ้นให้เจ็บแผลในปาก (อาจดื่มนมเย็น หรือไอศครีมได้)

ข้อควรระวัง : หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะไม่ออก แผลในปากน้อยและมีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอเพราะมีอาการขาดน้ำจนเกิดอันตรายได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคเฮอร์แปงไจน่า ตุ่มแผลในปากเด็ก ติดง่าย ระบาดหนักในฤดูฝน พ่อแม่ต้องระวัง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. แผลในปากเด็ก โรคแผลในช่องปากเนื่องจากเชื้อไวรัสเริม (Herpetic gingivostomatitis)

โรคแผลในช่องปากเนื่องจากเชื้อไวรัสเริม (Herpetic gingivostomatitis) เกิดการติดเชื้อไวรัสชื่อ เฮอร์ปี ซิมเพล็กไวรัส (Herpes Simplex Virus, HSV) ลักษณะอาการคือผู้ป่วยจะมีแผลในปากหรือตุ่มน้ำบริเวณริมฝีปาก เหงือก เยื่อบุช่องปาก ลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม มีไข้ ร้องกวน เหงือกบวมอักเสบ กินอาหารลำบากเพราะเจ็บแผล ต่อมน้ำเหลืองที่คอและใต้คางโตร่วมด้วย การติดเชื้อไวรัสเริมแบบปฐมภูมิมักเกิดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี การรักษาสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิต้านทานปกติแข็งแรงและอาการไม่รุนแรงก็สามารถรักษาตามอาการเช่นเดียวกับมือเท้าปากและเฮอร์แปงไจน่า ร่วมกับทำความสะอาดในช่องปากเพื่อมิให้แบคทีเรียในปากติดเชื้อซ้ำ บ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยน้ำเกลือ ทานน้ำเย็น นมเย็น ไอศกรีม เพื่อช่วยให้ทานน้ำและอาหารได้ดีขึ้น

คุณหมอจะพิจารณาให้ทานยาต้านไวรัสเริมในหากมีภูมิต้านทานต่ำหรือมีอาการรุนแรงกว่าปกติ หากมีการเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนคุณหมออาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

ข้อควรระวัง : หากไม่สามารถดื่มน้ำหรือนมหรือกินอาหารได้เพราะเจ็บแผลในปากมาก อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำเป็นอันตรายได้ ก็ควรจะพาผู้ป่วยไปพบคุณหมอโดยเร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ลูกเป็นแผลในปาก แผลร้อนใน (Apthous)

แผลร้อนในธรรมดา มักเป็นแผลในช่องปากเพียงไม่กี่ตำแหน่ง พบในเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเล็กวัยทารก แผลร้อนในธรรมดามักจะไม่มีไข้ ไม่มีผื่นตามร่างกาย และไม่มีอาการเจ็บคอ จึงแตกต่างจากแผลในปากจาก 3 สาเหตุข้างต้นนี้อย่างเห็นได้ชัด

ข้อควรระวัง : หากทารกมีแผลร้อนในบ่อย ๆ หรือมีแผลในช่องปากหลายตำแหน่งพร้อม ๆ กัน มีไข้ มีผื่น หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อพิจารณาตรวจหาสาเหตุ เพราะอาจไม่ใช่แผลร้อนในธรรมดาค่ะ

 

 

จะเห็นได้ว่าว่าโรคที่ทำให้เกิดแผลในปากทั้ง 4 โรคนี้จะมีสาเหตุและลักษณะอาการที่แตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการลูกเป็นแผลในปาก ร้อนใน อย่างใกล้ชิดอาจจะสามารถแยกโรคเหล่านี้ออกจากกันได้ในเบื้องต้น แต่หากไม่แน่ใจก็ควรพาลูกน้อยไปปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

Source : fairview

บทความที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?

แพ้น้ำลาย ผื่นรอบปากทารกวัยเล่นน้ำลาย เป็นผื่นที่ปาก จากการระคายเคือง

ปากนกกระจอก เกิดขึ้นในเด็ก แผลมุมปาก ต้องรักษาอย่างไรถึงจะหาย