6 อาการทารกเท้าคด เท้าบิดด้านใน เท้าผิดรูป มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อทารกแรกเกิดอาจไม่ได้มีแค่ความน่ารักอย่างเดียว ผู้ปกครองควรสังเกตหาอาการผิดปกติอย่างอื่นด้วย โดยหนึ่งในกลุ่มอาการที่ต้องคอยสังเกต คือ อาการทารกเท้าคด ที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หลายอาการอาจหายได้เอง ในขณะที่บางอาการสามารถรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกมีเท้าผิดรูป

สำหรับกลุ่มอาการเท้าผิดรูปของทารกนั้นมีหลายอาการมาก และมีสาเหตุในการเกิดแตกต่างกันไป ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ต้องขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว สามารถยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้ทารกมีเท้าผิดรูปได้บ้าง เช่น จากพันธุกรรม, จากกระดูกผิดรูป, ระบบประสาท และสมองผิดปกติ หรือเกิดจากภาวะผิดปกติต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น

ด้วยปัจจัยที่รุนแรงมากน้อยไม่เท่ากัน เมื่อพบว่าทารกมีเท้าผิดรูป ดังนั้นอาจไม่ใช่กลุ่มอาการเล็กน้อยเสมอไป ผู้ปกครองจึงควรพาทารกไปพบแพทย์ทันทีจะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม

 

 

6 อาการทารกเท้าคด เท้าผิดรูป และวิธีการรักษา

ลักษณะของเท้าผิดรูปเป็นสิ่งที่พบได้ในทารกโดยทั่วไป ปกติแล้วอาการส่วนมากที่ไม่ได้หนัก จะหายไปได้เอง หากได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามยังมีบางกลุ่มอาการที่สามารถหายได้ จากการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น โดยอาการผิดปกติของนิ้วเท้า หรือเท้าผิดรูปโดยทั่วไป ที่พบได้บ่อย มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. นิ้วเท้าเก เท้าเอียง

อาการที่สังเกตได้ คือ นิ้วจะเก และงุ้ม พบได้ในช่วงแรกเกิด แต่โดยทั่วไป อาการจะค่อย ๆ น้อยลงเมื่อทารกโตขึ้น โดยแทบจะไม่ได้ส่งผลเสียใด ๆ เลย อาการนี้มักมาจากพันธุกรรม หากผู้ปกครองมีอาการนี้ ทารกก็อาจได้รับผลกระทบด้วย โดยทั่วไปทารกที่มีอาการนิ้วเท้าเก มักจะใช้ชีวิตได้ตามปกติในตอนโต อย่างไรก็ตามบางคนอาจมีปัญหาในการเดิน ซึ่งพบได้น้อย และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

 

2. นิ้วเท้าเกิน หรือน้อยกว่าปกติ

โดยทั่วไปแล้วนิ้วเท้าจะมี 5 นิ้ว แต่ทารกบางคนเกิดมาอาจมีมาก หรือน้อยกว่านั้น หากมีน้อยกว่าปกติ เช่น มี 4 นิ้วจะไม่ค่อยส่งผลอะไรมาก แต่ที่เป็นปัญหาคือ การมีมากกว่า 5 นิ้ว เพราะจะทำให้นิ้วเบียดเวลาใส่รองเท้า สามารถแก้ได้ด้วยการเลือกรองเท้าหัวกว้าง ๆ อย่างไรก็ตามกรณีนิ้วเท้าเกิน สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. โรคเท้าโค้ง

อาการสังเกตจากส่วนครึ่งหน้าของเท้าโค้งเข้า หากมีอาการไม่หนักมากจะสามารถดัดให้ตรงได้ และอาการจะดีขึ้นช่วงทารกอายุ 6 – 12 เดือน โดยไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ ตามมา แต่สำหรับทารกบางคนที่มีอาการหนักจะไม่สามารถดัดเท้าให้ตรงได้ ผู้ปกครองควรพาทารกไปพบแพทย์ ซึ่งโดยส่วนมากหากทำการรักษาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ จะเป็นการเข้าเฝือก หากปล่อยเอาไว้นานยิ่งโตมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะต้องผ่าตัดก็จะมากขึ้นด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. นิ้วเท้าติดกัน

เป็นปัญหาเมื่อนิ้วเท้าของทารกอยู่ชิดติดกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แม้จะดูเหมือนไม่มีปัญหา หรือผลกระทบอะไรมาก แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้ หากมีร่องเล็ก ๆ ระหว่างนิ้วเท้า จะทำให้เสี่ยงต่อการสะสมของเชื้อโรคได้ เพราะจะทำความสะอาดได้ยาก อาการนิ้วเท้าติดกันนี้ สามารถรักษาได้ด้วยการปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการผ่าตัดแยกนิ้วเท้าออกจากกัน

 

5. เท้ากระดก บิดออกข้าง

อาการโดยทั่วไปสังเกตจากลักษณะของหลังเท้าจะวางแนบไปกับกระดูกบริเวณหน้าแข้ง พบได้มากในทารกที่เป็นครรภ์แรกของคุณแม่ มีการสันนิษฐานว่าการที่ทารกครรภ์แรกมีอาการแบบนี้ เพราะในมดลูกของคุณแม่ไม่เคยขยายตัวมาก่อน ไม่เคยมีทารกในครรภ์มาก่อน ทำให้มดลูกไม่สามารถขยายได้เท่าที่ควร ส่งผลให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ที่เริ่มโตขึ้น จะพยายามใช้เท้าดันมดลูกจนทำให้มีอาการเท้ากระดกตามมานั่นเอง อาการเหล่านี้อาจดูน่าตกใจ แต่สามารถหายได้เองเมื่อทารกมีอายุ 1 – 2 เดือน หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา

 

6. เท้าบิดเข้าใน

เกิดจากความผิดปกติขิงกระดูก ซึ่งต้องรับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาจุดกระดูกที่ทำให้เกิดอาการนี้ อาการเท้าบิดเข้าด้านในจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และมักพบในเด็กอายุ 2 – 4 ปี แม้เท้าจะผิดรูป แต่ลูกน้อยจะไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่การเดินจะไม่เหมือนกับคนทั่วไป ส่วนมากแล้วอาการนี้สามารถหายได้เอง โดยให้แพทย์แนะนำการดูแลระหว่างนั้นได้ แต่หากทำการรักษาดูแลไปช่วงที่ลูกอายุ 7 -8 ปีแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจเป็นกลุ่มอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

 

นอกจากกลุ่มอาการที่เราได้กล่าวมานั้น ยังมีโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อรูปเท้าด้วย เช่น โรคเท้าปุก ที่เท้าจะผิดรูปค่อนข้างรุนแรง และต้องรีบรักษา เพราะอาการอาจรุนแรงมากขึ้นจนทำให้ทารกเดินไม่ได้ การสังเกตอาการ และลักษณะของเท้า และนิ้วเท้าของทารกแรกเกิดเป็นประจำ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากพบความผิดปกติ ก็ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

วิดีโอจาก : Thai PBS

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มอาการเท้าผิดรูปอาจสัมพันธ์กับระบบประสาทได้

หนึ่งในสาเหตุของการเกิดความผิดปกติของเท้า ส่วนหนึ่งอาจมาจากการทำงานของระบบประสาท และสมองที่เกิดความผิดพลาด ซึ่งนับว่าอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะโรคสมองพิการ ที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่คลอดยาก โดยจะทำให้เท้ามีลักษณะเหมือนเขย่ง พัฒนาการเดินช้า พร้อมกับอาการด้านอื่น ๆ เช่น ตัวเกร็ง หรือชัก เป็นต้น หากพบอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาเกี่ยวกับระบบประสาท และสมองเป็นอันดับแรก เพราะส่วนของเท้าที่ผิดรูป สามารถตามรักษาให้หายได้ในภายหลัง

 

การรักษากลุ่มอาการเท้าผิดรูปในทารกนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรทำตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ เพราะสามารถทำได้ง่ายกว่าการไปรักษาในตอนโต ที่กระดูกมีความแข็งแรง และคงรูปชัดเจนไปแล้ว แม้ว่าจะมีกลุ่มอาการที่สามารถหายได้เอง แต่ผู้ปกครองไม่ควรลืมว่ายังมีอาการที่เกิดจากประสาท และสมอง หรือกระดูกผิดปกติ ที่ควรต้องได้รับการตรวจ และรับคำแนะนำในการรักษาทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกแรกเกิดตาแดง สังเกตอาการอย่างไร อันตรายมาก รับมืออย่างไร ?

สิ่งของอันตรายที่ต้อง เก็บให้พ้นมือเด็ก ป้องกันลูกหยิบของเข้าปาก

วิธีดูแลจมูกทารกแรกเกิด ลูกงอแง อาจเกิดจากรูจมูกอุดตัน

ที่มา : bangkokinternationalhospital, phyathai

บทความโดย

Sutthilak Keawon