ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย ลูกล้ม ปัญหาเล็ก ๆ ที่ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้กับพ่อแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว พัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกในทุก ๆ ด้าน นับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านสมอง และพัฒนาการร่างกาย ควรจะต้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม แต่หากคุณสังเกตว่า ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติสำหรับเด็กหรือไม่ หรือเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณอันตรายในด้านไหนบ้างนะ

 

 

ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย ลูกล้ม เกิดจากอะไร?

โดยปกติ เรามักจะได้ยินว่าเด็กซนคือเด็กฉลาด ดังนั้น เด็กในวัยเรียนรู้ ไม่ล้มก็คงจะแปลก ซึ่งเด็กจะมีการพัฒนาจากการคลาน หัดนั่ง และจะเริ่มเป็นหัดเดิน และหัดวิ่งในที่สุด การล้ม นับว่าเป็นการเรียนรู้ความผิดพลาดของการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การที่ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่หากมีการล้มที่บ่อยครั้งจนผิดสังเกต หรือมีลักษณะอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย อาการล้ม อาจจะกลายเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยให้กับคุณพ่อคุณแม่ ถึงความผิดปกติของร่างกายของลูกน้อย ว่าอาจจะเกิดความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดก็ได้ เช่น การขาดการฝึกฝน ภาวะการเจ็บป่วย ความรู้สึกต่อต้าน รวมถึงการถูกสปอยของพ่อแม่ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกหัดเดิน จะเริ่มฝึกตอนไหน ยังไงดี

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุปสรรคในการพัฒนาการเดินของลูก มีอะไรบ้าง?

  • ความกลัว และหวาดระแวง จากอุบัติเหตุ

ความกลัว และหวาดระแวง จากอุบัติเหตุการล้มก่อนหน้านี้ ทำให้เด็กรู้สึกกลัว และเป็นกังวล ทำให้ไม่อยากที่จะฝึกเดินอีกต่อไป เพราะไม่อยากเจ็บ หรือประสบเหตุดังเดิมอีก ดังนั้นตัวพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง จำเป็นจะต้องคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็กหัดเดิน เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงเกิดขึ้นได้

 

  • อุปสรรคจากสภาพจิตใจของตัวเด็กเอง

เด็กบางคนรู้สึกถึงการต่อต้านคุณพ่อคุณแม่ ที่พยายามบีบบังคับให้เขาหัดเดิน ไม่ว่าตัวเขาเองพร้อม หรือไม่พร้อมก็ตาม จนเด็กเกิดความเครียด และรู้สึกต่อต้านเมื่อจะต้องหัดเดิน ทำให้เด็กไม่มีความกระตือรือร้น และต้องการฝึกฝน ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการเดินของตัวเด็กเอง

 

  • ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย จากอุปสรรคทางด้านสุขภาพ

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญ ที่นับว่าเป็นสัญญาณอันตราย หากลูกของคุณหัดเดินแล้วล้มอยู่บ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอของร่างกาย อาการเจ็บป่วยไม่สบาย รวมถึงการขาดสารอาหาร ที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อ กระดูก ส่งผลให้เด็กไม่สามารถทรงตัว หรือพยุงตัวให้ยืน หรือเดินได้ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • อุปสรรคของพื้นที่ในการฝึกเดิน

ควรจัดพื้นที่ จัดบ้าน เพื่อให้เด็กสามารถฝึกเดินได้อย่างปลอดภัย และไม่มีอุปสรรคขัดขวางในการหัดเดิน และควรปล่อยให้เด็ก ฝึกเดินด้วยเท้าเปล่าก่อนในช่วงแรก เพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้การถ่ายเทน้ำหนักตัว การเหยียบเท้าลงพื้นได้เต็มเท้า เพราะการใส่รองเท้า อาจจะหนักเกินไปสำหรับการหัดเดินในช่วงแรก ๆ รวมถึงการใส่ถุงเท้า ก็จะทำให้ลื่นไถลได้ง่าย

 

  • อุปสรรคที่เกิดจากความกังวลของพ่อแม่ (สปอย)

อีกหนึ่งอุปสรรคที่น่าเป็นกังวลมากที่สุด คือการสปอยลูกหลาน มากจนเกินไป ทำให้เด็กไม่สามารถ หรือไม่มีโอกาสฝึกฝน และพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้เท่าที่ควร เช่น อุ้มกันมากจนเกินไป หรือกั้นเด็กให้อยู่แต่ในคอกกั้น เพราะกังวลเรื่องอุบัติเหตุ มากจนเกินเหตุ เป็นต้น

ทั้งนี้จะรวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถหัดเดิน หรือแม้กระทั่งรถเข็น หากให้เด็กใช้เวลากับสิ่งเหล่านี้มากจนเกินไป ก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งอุปสรรค ที่คอยขัดขวางพัฒนาการของลูกน้อย ด้วยเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • อุปสรรคทางด้านโครงสร้างร่างกาย

ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่อ้วนมากจนเกินไป หรือมีแขนขายาวเก้งก้าง ขาโก่ง เข่าโค้ง เข่าชนกัน ปลายเท้าปิดออกนอก หรือปิดเข้าใน นิ้วเท้าคดเป็นต้น รวมทั้งโครงสร้างที่เกิดจากสุขภาพภายในร่างกาย เช่น ปัญหาข้อหลวม เอ็นข้อหย่อน ปวดตามข้อ ฟกช้ำดำเขียว ข้อเคล็ดบ่อย ซึ่งพบมากขึ้นในเด็กทารก จนถึงเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 8 ปี ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงการขาดการฝึกฝน ออกกำลังกายของกล้ามเนื้อต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

 

 

10 อาการของความผิดปกติ ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก

  1. เท้าปุก (Club Foot)
  2. เท้า / ข้อเท้า / ข้อเข่า และข้อต่อทั่วไปอ่อนปวกเปียก
  3. เท้าผิดรูปที่โครงสร้างส่วนกลางเท้า (Mid – Foot)
  4. ต้นขาและขาบิดคด (Twisted Legs) ขาโก่ง เข่าโค้ง (Bow Legs) ร่วมกับปลายเท้าบิดเข้าด้านใน
  5. เข่าชนกัน (Knocked Knee) มักร่วมกับ เท้าแป (Flat Feet) และข้อต่อทั่วร่างกายอ่อนปวกเปียก (Hyper Mobile Joint) มักพบในเด็กที่ยืนเดินได้แล้ว
  6. อุ้งเท้าแบนราบ / เท้าแป
  7. นิ้วเท้าผิดปกติ เช่น หัวแม่เท้าชี้เข้าข้างใน, หัวแม่เท้าชี้ออกนอกโดยมีปุ่มชี้เข้าข้างใน, หัวแม่เท้าชี้ออกนอกโดยมีปุ่มที่โคนนิ้วใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเจ็บ
  8. นิ้วเท้าคดงอ / นิ้วเกยกัน
  9. เท้าขนาดไม่เท่ากัน ขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน
  10. เท้าที่ขาดความรู้สึก (Anesthetic Foot)

 

หากคุณพ่อคุณแม่ พบว่าลูกของคุณมีพัฒนาการการเดินที่ช้า หรือมีอาการล้มบ่อยครั้งจนผิดปกติ หรือมีความกลัวที่จะเดิน ให้สันนิษฐานว่าเกิดความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยทันที และพาลูกน้อยของคุณ ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที มิเช่นนั้น อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถพัฒนา หรือเติบโตมาได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทารก เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของทารกน้อย

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มีกิจกรรมอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร

รีวิว 5 อาหารสำหรับเด็ก ยี่ห้อไหนสารอาหารครบถ้วน ราคาสบายกระเป๋า เช็กเลย

ที่มา : Facebook: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, synphaet

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Arunsri Karnmana