ลูก 7 เดือน เดินได้เร็ว แม่ดีใจ หมอกลับยันให้รีบมาพบแพทย์ 

แม่ฝึกให้ลูกเดิน เชื่อว่าลูกจะเติบใหญ่ได้ดี แต่ความจริงแล้วอันตรายต่อเด็กมาก !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกวัย 7 เดือน เดินได้เร็ว แม่ร้องดีใจ บอกเพื่อนบ้าน คิดว่ามีพัฒนาการที่ดี และไวกว่าเด็กคนอื่น ๆ แต่ความจริงแล้ว หมอบอก ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แถวยังเป็นอันตรายต่อตัวเด็กอีกด้วย 

 

ลูก 7 เดือน เดินได้เร็ว เชื่อว่าจะฉลาด แท้จริงแล้วผิดปกติ

 

เด็ก7เดือนเดินได้เร็ว

 

หลายคนเอาแต่เปรียบเทียบ พัฒนาการของลูกกับคนอื่น แต่เรื่องแบบนี้มันไม่ควรเอามาเปรียบเทียบกัน เช่นเดียวกับเคสนี้ เพื่อนสนิทของเธอเพิ่งมีลูกครั้งแรก พ่อแม่ของเธออยู่ไกลกัน ทำให้ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกของเธอยังไม่ดีมากพอ และไม่กี่วันก่อน เธอก็เศร้า และบ่นว่า ลูกของเพื่อนบ้านเธอ เกิดพร้อมกันกับลูกของเธอ แต่กับเดินได้แล้ว ต่างกับลูกของเธอ ที่เธอพยายามปล่อยให้เด็กลองนั่ง ลองยืน แต่ลูกของเธอไม่เดินเลยสักครั้ง 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ซึ่งความจริงแล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก หากนำพัฒนาการของเด็กแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน ควรปล่อยให้ลูกน้อยนั้น มีพัฒนาการตามธรรมชาติ ไม่ต้องพยายามที่จะทำให้เด็กเดินเร็วเกินไป เมื่อลูกไม่พร้อมก็จะเกิดผลที่คาดเดาไม่ได้ อย่างเช่นกรณีเคสด้านล่างนี้ 

 

แม่ชาวจีนที่เพิ่งมีลูกชาย ทุกคนในครอบครัวเอ็นดู ลูกของเธอมาก เมื่อไม่กี่เดือนก่อน เธอได้อวดญาติ ๆ ทุกคนของเธอ ว่า เธอเพิ่งสอนให้ลูกเดินได้สำเร็จ เนื่องจากเธอเคยได้ยินมาว่า เด็กที่เดินเร็วจะฉลาด คล่องแคล่ว และเติบโตขึ้นมา จะมีความสามารถมากกว่าคนอื่น เธอจึงพยายามทำให้ลูกของเธอเดินให้ได้ ตั้งแต่อายุยังน้อย 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อลูกของเธอ อายุได้ 6 – 7 เดือน ลูกชายของเธอ เดินอย่างชำนาญ 5 – 6 ก้าว และมั่นคงมากเรื่อย ๆ เมื่อเห็นว่าคุณแม่ภูมิใจ ครอบครัวก็ร่วมแสดงความดีใจ ได้จัดงานเลี้ยงพบปะ เพื่ออวดว่าลูกเธอเดินได้แล้ว แต่แล้ว เมื่อแม่ยายได้พบกับเพื่อนเก่าที่เป็นหมอ ที่เกษียณอายุแล้ว เธอก็ได้บอกว่าลูกสะใภ้มีหลานแล้ว และสอนลูกชายให้เดินเร็ว ที่แม่ยายเล่า เพราะคิดว่าหมอจะชื่นชม แต่ความจริงแล้วกับตรงกันข้าม 

 

แพทย์แนะนำให้ คุณยาย พาหลานไปพบแพทย์ทันที เพราะการเรียนรู้ที่เดินเร็วเกินไปนั้น อาจส่งผลเสี่ยต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาร่างกาย และส่วนสูงในภายหลัง เพื่อนของแม่ยายยังบอกอีกว่า เมื่อถึงเวลาลูกก็จะสามารถเดินได้เอง โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องบังคับ ถ้าหากฝึกให้ลูกเดินเร็วมากเกินไป เมื่อลูกไม่พร้อม กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ของลูกที่ยังอ่อนนั้น จะไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ ไม่สามารถรักษาสมดุล ทำให้ข้อต่อ และกระดูกของขาพิการได้ง่าย 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

และผลที่ตามมา ที่พบได้บ่อยที่สุด สำหรับเด็กที่ถูกพ่อแม่บังคับ ให้เดินเร็วเกินไป คือ กระดูกขาจะเสียรูปง่าย กลายเป็นเด็กขาโก่ง เท้าแบน ในการเคลื่อนไหว จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี เดินคดไม่ตรง นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ส่วนสูงของเด็กไม่พัฒนาถึงขีดสุด 

 

เมื่อแม่ยายได้ยิน ก็ตกใจมาก รีบไปบอกลูกสะใภ้ ให้พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ ที่โรงพยาบาลได้ทำการตรวจ และบอกว่า ลูกชายของเธอ มีสัญญาณของความเสียหายของกระดูก และขาของเขาก็งอเล็กน้อย อาจจะเป็นเพราะ การที่เขาเดินเร็ว เดินตั้งแต่อายุยังน้อย ร่างกายของเขายังไม่พร้อม แต่โชคดีที่ได้ตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ การที่เข้าพบแพทย์ และเข้าตรวจได้ทันเวลา จะช่วยทำให้สภาพของเด็ก สามารถแก้ไขได้ 

 

ควรปล่อยลูกให้มีพัฒนาการธรรมชาติตามที่หมอบอก ในเวลาประมาณ 10 – 18 เดือน เด็กจะเริ่มหัดเดิน เป็นเวลาปกติและสมบูรณ์ ไม่จำเป็น ต้อง 5 เดือนต้องหมุนตัว หรือ 7 เดือน ต้องเดินได้ เพราะมันไม่ได้ถูกตามหลักมาตรฐาน ตราบใดที่ครั้งนี้มีอาการผิดปกติร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพื่อความแน่ใจ

 

เดินเร็วก่อนถึงอายุที่สมควรอันตราย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กเริ่มเดินเร็ว ส่งผลต่อกระดูก 

ส่วนใหญ่แล้ว เด็กจะเริ่ม หัดเดินประมาณ 8 เดือน จะเริ่มยืนขึ้น และบางครั้ง เริ่มพยายามที่จะก้าวขาออก ซึ่งตัวเด็กเอง จะรู้ว่าควรยืน และเดินเมื่อไหร่ การยืนและเดินในช่วงเวลา อายุที่เหมาะสม จะไม่ทำให้กระดูกโก่ง ไม่ทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นมีปัญหา เมื่อเด็กพร้อมที่จะยืนหรือเดิน คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตได้เอง ในเวลานั้นก็ค่อย ๆ เริ่มฝึก และคอยสนับสนุนจะดีกว่า การที่คุณพ่อคุณแม่บังคับ หรือฝึกมากเกินไป ก็จะยิ่งทำให้กระดูก หรือส่วนต่าง ๆ ในร่างกายแย่ลง เมื่อลูกพร้อม กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น รวมถึงทำให้รูปร่างของเท้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นอีกด้วย เนื่องจาก การลงน้ำหนักที่เท้าทำให้เริ่มมีอุ้งเท้าขึ้นมา 

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

การเคลื่อนไหว : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ลูกเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นสัญญาณของอันตรายหรือไม่? เกิดจากอะไร

วิธีฝึกลูกเดิน พัฒนาการทารก เดินได้ตอนไหน สอนลูกเดิน หัดลูกเดินอย่างไร ฝึกให้ลูกเดินได้เร็วๆ

 

ที่มา :webtretho

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong