เช็คอาการ !! ลูกในท้องดิ้นแรง ลูกแข็งแรงหรือเป็นอะไร?

ลูกในท้องดิ้นแรง ลูกแข็งแรงหรือเป็นอะไร? การดิ้นของลูกในท้องแสดงถึงความปกติและความแข็งแรง มาดูกันดีกว่าที่ลูกดิ้นแรกนั้นเป็นเพราะอะไรกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกในท้องดิ้นแรง เป็นข้อที่คุณแม่มือใหม่ต่างกก็สงสัยว่าที่ลูกในท้องดิ้นแรงนั้นเป็นเพราะว่าพวกเขาแข็งแรง หรือว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับพวกเขาหรือเปล่า มาลองดูกันดีกว่าค่ะว่า ลูกในท้องดิ้นแรง นั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ลูกป่วยหรือเปล่า หรือว่าเขาแค่ต้องการจะบอกอะไร

 

ทารกในครรภ์จะเริ่มดิ้นตอนไหน? 

การดิ้นของทารก, ลูกดิ้นแรง, ลูกดิ้นช้า, ลูกไม่ดิ้น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ให้ความรู้เรื่องการดิ้นของทารกในครรภ์ไว้ว่า   การดิ้นของทารกน้อย  โดยทั่วไปแล้วทารกน้อยจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์  แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง จะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์  การเคลื่อนไหวของทารกที่ต่อเนื่องมากกว่า 20 วินาที จากการศึกษาพบว่า

1. อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

2. ทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นประมาณ 575 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

3. หลังจากนั้นทารกจะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 282 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

บทความที่น่าสนใจ : วิธี นับลูกดิ้น แจกทริค นับอย่างไรถึงจะถูกต้อง และปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การหลับ  การตื่น ของทารกในครรภ์

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ให้ความรู้เรื่อง  การหลับ  การตื่นของทารกในครรภ์ ดังนี้  ทารกในครรภ์จะมีช่วงหลับและช่วงตื่นไม่ตรงกับคุณแม่ ช่วงระยะเวลาการนอนหลับของทารกต่อ 1 รอบนาน 20 นาทีถึง 75 นาที  นอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังมีการดิ้นในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน  พบว่า  ทารกจะดิ้นมากระหว่างเวลา 21.00 – 01.00 น. เวลาที่ทารกดิ้น คือเวลาที่ทารกตื่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกในท้องดิ้นแรง ดิ้นช้า หรือไม่ดิ้นบอกอะไร

ข้อมูลความรู้คำถาม : คำตอบ  จากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้

 

1. ลูกดิ้นมากผิดปกติมีปัญหาอะไรหรือไม่?

คำตอบ : ทารกเคลื่อนไหวมากเกินปกติ หมายถึง ทารกเคลื่อนไหวมากกว่าชั่วโมงละ 40 ครั้ง ซึ่งจะพบได้ประมาณร้อยละ 5 ของแม่ท้องทั่วไป  ภาวะดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับความพิการของทารก หรือการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนของสายสะดือแต่อย่างใด  ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้แรง  แม้ขณะแม่เจ็บท้องและมักจะปกติหลังคลอด  จากการตรวจเด็กเหล่านี้ในช่วง 1 ปีแรก  ไม่พบว่าไม่มีความผิดปกติทางการเจริญเติบโตแต่อย่างใด

สำหรับกรณีที่คุณแม่ควรสังเกตที่อาจแสดงถึงภาวะที่อาจเกิดอันตราย  คือ   ทารกเคลื่อนไหวมากอย่างฉับพลันและรุนแรงแล้วหยุดการเคลื่อนไหวไปเลย  มักเป็นสัญญาณของภาวะเครียดเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้  ซึ่งเกิดจากการกดสายสะดือ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนดรุนแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ลูกดิ้นลดลงบอกถึงอะไร

คำตอบ :  การเคลื่อนไหวของทารกเป็นสัญญาณบอกว่า  ทารกยังอยู่ในภาวะปกติแข็งแรง ถ้ามีภาวะเครียด  เช่น  ขาดออกซิเจนการไหลเวียนของเลือดที่รกลดลง  ทารกจะเคลื่อนไหวน้อยลงก่อนหรือหยุดไป  เชื่อว่า  เกิดจากการกดระบบประสาท หรืออาจเป็นเพราะร่างกายต้องการลดพลังงานและออกซิเจน  เพื่อสงวนไว้ให้อวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น  สมองและหัวใจ  เป็นต้น

 

 

3. การนับลูกดิ้นทำอย่างไร

คำตอบ วิธีการนับลูกดิ้นมีหลากหลายวิธี  และมีการแปลผลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าการนับแบบใดดีที่สุด  วิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย ได้แก่

1. Sadovsky วิธีการนี้ให้นับวันละ 3 ครั้งหลังอาหารทุกวัน ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง ให้นับต่ออีก 6 – 12 ชั่วโมงต่อวัน  รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นทั้งหมดคิดเป็น 12 ชั่วโมงถ้าน้อยกว่าเท่ากับ 10 ครั้ง ถือว่าทากรดิ้นน้อยลง

2. The Cardiff “ Count – to – ten charf” คือ  การนับจำนวนทารกเคลื่อนไหวตั้งแต่ 9.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรใช้เวลาเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.)

 

4. หากลูกดิ้นน้อยลงจริงควรทำอย่างไร?

คำตอบ การบันทึกการดิ้นของทารกโดยการนับของแม่  อาจคลาดเคลื่อนได้ขึ้นกับความแรงของการดิ้นของทารก  ตำแหน่งของรกที่อยู่ทางด้านหน้า  ระยะเวลาที่ทารกเคลื่อนไหว  หรือความตั้งใจของแม่ในการนับจำนวนการดิ้นของทารก ถ้าทารกดิ้นน้อยลงจริงควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน  เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้คลื่นไฟฟ้า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สรุป

1. การนับลูกดิ้นช่วยในการคัดกรองด้วยตัวคุณแม่เอง แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้สูง

2. การที่ลูกดิ้นน้อยลงไม่ได้หมายความว่าทารกจะอยู่ในภาวะอันตรายเสมอไป เพียงแต่จัดว่าอาจเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ

3. การนับลูกดิ้นด้วยตัวคุณแม่เองเพื่อประเมินสุขภาพทารก สามารถทำได้ง่าย สะดวก  ได้ผลดี  ไม่มีค่าใช้จ่าย ปลอดภัย  ไม่มีข้อห้าม  คุณแม่สามารถทำได้ทุกคน

4. ควรมีการบันทึกนับการดิ้นของทารกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตั้งแต่ 28 – 32 สัปดาห์ และรีบมาพบคุณหมอทันทีหากพบว่ามีความผิดปกติ

เมื่อแม่ท้องได้ทราบอย่างนี้แล้วมานับการดิ้นของลูกอย่างถูกวิธี  เพื่อสังเกตดูว่า เจ้าหนูน้อยยังสบายดีอยู่ในท้องของแม่ตามที่ได้รับคำแนะนำจากที่กล่าวมาแล้ว  หากคุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติหรือมีความกังวลใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.rtcog.or.th

เอกสารเผยแพร่ “ลูกในท้องคุณแม่สบายดีหรือ” โดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพสตรี  ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความที่น่าสนใจ

แม่ท้องรีบอ่าน ! เมื่อ ลูกดิ้นน้อยลง เมื่อไหร่ที่ควรกังวล แบบไหนที่ควรระวัง

ลูบท้องตอนท้อง มันดีอย่างนี้นี่เอง แม่จ๋ารู้ไหม ทำไมลูกในท้องถึงชอบ เวลาที่แม่ลูบท้องบ่อยๆ

ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์สำหรับ เด็กคลอดก่อนกำหนด