ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด ปัญหาหนักใจแม่ให้นม ทำอย่างไรดี ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด แม่ ๆ บ้านไหนเจอปัญหานี้อยู่ยกมือขึ้น สาเหตุนั้น เกิดได้จากหลายอย่าง ทั้งยังมีทารกที่ไม่เอาเต้าเลยตั้งแต่แรก หรือเกิดหลังจากที่เคยเข้าเต้าตามปกติ ถ้าอยู่ ๆ ลูกเกิดไม่เอาเต้า ก็อาจจะเป็น เพราะลูกฟันขึ้น หงุดหงิด คันเหงือก น้ำนมแม่ (Milk Breast) มีกลิ่นจากสิ่งที่แม่กินเข้าไป แต่ถ้าลูกที่เคยดูดนมจากขวด ก็เป็นไปได้ว่า ลูกติดขวดเลยไม่เอาเต้า

 

อาการของ ลูกปฏิเสธเต้านม

สำหรับทารกที่ไม่เอาเต้านมตั้งแต่แรก เป็นไปได้ว่า ทารกอาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้สะดวก หรือมีความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่นเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หรือเจ็บคอจากหวัด  ที่ทำให้ลูกเจ็บเวลาเข้าเต้า อีกเหตุผลหนึ่งคือ ช่วงหลังคลอด น้ำนมแม่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอต่อลูกน้อย (Pumping Milk) พอลูกดูดจึงเกิดอาการหงุดหงิดได้

 

  • ลูกร้องไห้โยเย
  • ส่ายหน้าหนีจากเต้านม
  • ตัวเกร็ง หลังแอ่นหนี พยายามออกจากอ้อมแขน

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกไม่เอาเต้า แม่จึงหยิบยื่นขวดนมให้ เพราะกลัวว่าลูกจะไม่ได้กินนม จนกลายเป็นว่า ติดจุกจากขวดแทน เพราะกระบวนการทำงานของเต้านมและจุกนมนั้นไม่เหมือนกัน จนลูกเกิดความสับสนระหว่างจุกนมแม่ และจุกนมปลอม การที่ทารกติดจุกอาจไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ ถ้าการติดจุกนั้นไม่ส่งผลให้แม่มีปริมาณน้ำนมลดลง! ส่งผลต่ออาการเต้านมคัดและท่อน้ำนมอุดตัน แถมทารกที่เริ่มดูดนมจากขวดเร็ว ก็จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ ??

 

เปรียบเทียบการดูดนมแม่ VS การดูดนมขวด

จากที่เรามักได้ยินกันมาบ่อย ๆ ว่าการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรให้กินในช่วง 6 เดือนแรก จึงจะทำให้ลูกแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น แต่สำหรับคุณแม่ให้นมที่ประสบปัญหา ลูกปฏิเสธเต้า อาจมีความกังวลถึงความแตกต่างได้ว่าลูกจะมีความลำบากไหม ลูกจะสามารถดูดนมจากขวดได้อย่างปกติหรือไม่

 

  • ลูกดูดนมแม่ : ลูกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมแม่ไปถึงลานนม ใช้ลิ้น และ ขยับกรามล่าง รีดน้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืด และ กดให้แนบไปกับเพดานปาก ลิ้น และการขยับกราม จะรีดน้ำนมออกมาเป็นจังหวะ
  • ลูกดูดนมขวด : ลูกไม่ต้องใช้แรงในการดูดนม เพราะน้ำนมไหลผ่านรูที่จุกนมยางตามแรงโน้มถ่วง ไม่ต้องอ้าปากกว้าง ไม่ต้องใช้ลิ้นมารีดน้ำนม แล้วยังสามารถใช้ลิ้นดุนชะลอการไหลของนม ทำให้การดูดนมขวดสะดวก และง่ายกว่าการดูดนมแม่จากเต้า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทางที่ดี คือ ไม่ควรให้ทารกดูดนมจากจุกนมยาง ช่วงอายุน้อยกว่า 1 – 2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ Pacifier) ต้องให้ทารกฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก แต่ถ้าไม่ทันแล้ว ติดจุกไปเสียแล้วก็ต้องแก้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. พยายามป้อนนมลูกด้วย แก้ว, ช้อน และหลอด
  2. อุ้มลูกให้แนบชิดบ่อย ๆ จนคุ้นเคยกับไออุ่นจากอกแม่ ระหว่างนั้นก็ให้ปากลูกสัมผัสหัวนมและเต้านม กระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซิน ทำให้ลูกสงบ
  3. ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกท่า ดูว่าลูกดูดนมจากเต้าถูกวิธีหรือไม่ อมถึงลานนมหรือเปล่า
  4. กระตุ้นให้น้ำนมพุ่งตั้งแต่ก่อนดูด ให้ลูกเข้าเต้าตอนอารมณ์ดี ๆ ไม่หิวจัด หรือแม่ปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม
  5. พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและปัญหาที่ นำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมให้ลูกปฏิเสธนมแม่มากขึ้นไปอีก
  6. พยายามให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยก ในห้องที่เงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนใด ๆ มีเพียงคุณ และ ลูกน้อยตามลำพัง จะทำให้ลูกสงบขึ้น และโฟกัสกับการดูดนมแม่มากขึ้น
  7.  พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด ถ้าลูกไม่ยอมให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง และลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อง่วงมาก ๆ อย่าหงุดหงิด หัวเสีย หรือเอาแต่กังวลใจ และอย่าถอดใจง่าย ๆ

 

หากคุณแม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ทารกน้อยรับน้ำนมผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ คุณแม่ยังต้องห่วงเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์นั้น ๆ ด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของทารก ในขณะที่ทารกอาจยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงในช่วงนี้

 

นอกจากนี้ สามารถใช้ดรอปเปอร์ หรือไซริงค์หยอดน้ำนมบริเวณมุมปาก เมื่อลูกเข้าเต้า และ แม่เองก็ต้องใจแข็งไม่ยอมให้ลูกดูดจุกนมยาง ไม่ให้ดูดขวดเด็ดขาด สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องไม่รู้สึกผิด หรือโทษว่าเป็นความผิดของตัวเองเมื่อลูกไม่ยอมดูดนมแม่ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย อย่าหงุดหงิด หัวเสีย หรือเอาแต่กังวลใจ เรื่องน้ำนมน้อย หรือลูกไม่ยอมดูดนม อย่างไรก็ตาม อย่าถอดใจง่าย ๆ อย่าลืมว่า ลูกรอน้ำนม และความช่วยเหลือจากคุณแม่อยู่ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์ของนมแม่ ประโยชน์ดี๊ดีของการให้ “นมแม่” ที่ทั้งแม่และลูกได้รับ

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน มีวิธีการเก็บอย่างไร ให้อยู่ได้นานและดีที่สุด

ให้นมแม่ต้องรู้ ! ให้ลูกได้กิน น้ำนมเหลือง หลังคลอดดีสุด ๆ !!

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

Tulya