ช่วงไม่นานมานี้ หากใครตามข่าวจะเห็นว่า มีคุณแม่ท่านหนึ่งแชร์ประสบการณ์ว่าลูกเป็น เด็กติดเกม หนักมาก ขนาดรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลยังต้องหยิบเอาโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นเกม ทำให้เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2561 นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึง กรณีเด็กอายุ 13 ปีเข้ารับการรักษาที่รพ.น่าน หลังมีอาการปากสั่น ใจสั่น มือ เท้าเย็น แขน ขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งแพทย์ รพ.น่าน คาดการณ์ว่าเกิดจากการที่เด็กเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้รับประทานอาหาร และน้ำ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและช็อก แก้ปัญหาเด็กติดเกม ทำอย่างไร ลูกติดเกมไปหาหมอดีไหม
“นี่เป็นภาวะขั้นรุนแรงของการติดเกม ซึ่งเป็นการเสพติดพฤติกรรม คล้ายกับการติดสารเสพติด ซึ่งการติดเกมนั้นทำให้สูญเสียการใช้ชีวิตประจำวัน เสียการเรียน เสียงาน ไม่กินไม่นอนกระทบสุขภาพ โดยเฉพาะปัจจุบัน พบว่าเด็ก และวัยรุ่นมีการติดเกมมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองส่วนควบคุมความคิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ สมองส่วนอยากทำงานได้มากกว่า ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุขกังวลมาก”
โดยเฉพาะตอนนี้มีเรื่องของ e-sport เข้ามา ทางกระทรวงและเครือข่ายจึงได้ประกาศเจตนารมณ์ในการปกป้องเด็กเล่นเกม และมีข้อเรียกร้องให้พิจารณาควบคุมเรื่องของ e-sport ต้องมีกติกาอย่างชัดเจน
ระดับความรุนแรงของการติดเกม แก้ปัญหาเด็กติดเกม วิธีเลิกเล่นเกม
เนื่องจาก “เด็กติดเกม” ทางการแพทย์ ไม่เท่ากัน พ่อแม่ผู้ปกครอง เห็นลูกหลานตัวเองเล่นเกมอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรืออยู่หน้าโทรทัศน์นานสักหน่อย ก็เรียกว่า “ติดเกม” แล้ว แต่แท้จริงแล้วเป็นการติดทางใจ หากพ่อแม่อยากรู้ว่าลูกติดเกมไหม ดูได้จากระดับ คังต่อไปนี้
1. ชอบ แต่ไม่ได้ติด
ทุกคนมีความชอบได้ แต่ต้องไม่เสียการควบคุมตนเอง บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบอ่านหนังสือวรรณกรรมเยาวชน ขณะที่บางคนชอบเล่นกีฬา ความชอบเหล่านั้นทำให้เจ้าตัวมีความสุข แต่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก ซึ่งมีหลายทางเลือก
2. คลั่งไคล้
เริ่มไม่ทำกิจกรรมอื่น คนที่คลั่งไคล้ จะเริ่มคุมตัวเองไม่ได้ เช่น วันนี้ตั้งใจจะไม่เล่นเกม พยายามบอกตัวเองว่างดเล่น 1 วัน แต่อดใจไม่ได้คุมตัวเองไม่ได้ สุดท้ายก็เล่นเหมือนเดิม การคลั่งไคล้ยังไม่ถึงขั้นติด แต่เสียการควบคุมตนเอง
3. การติด
อาการของเด็กติดเกมโดยทั่วไปสังเกตได้จากเริ่มเสียการทำหน้าที่ รวมถึงทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลง เช่น
- ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง
หรือเล่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน - หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะเกิดการต่อต้าน หรือแสดงอาการหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นอาละวาด
- เด็กเล่นเกมมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะ
ทำการบ้าน หนีเรียน หรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม รวมถึงการเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว - บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โกหก ดื้อต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว เป็นต้น
หมอแนะ! วิธีป้องกันไม่ให้ลูกติดเกม วิธีเลิกเล่นเกม
การเล่นเกมนั้น มีข้อนำอยู่ตามหลัก “3 ต้อง 3 ไม่”
3 ต้อง ที่พ่อแม่ต้องสอนลูก ได้แก่
- ต้องกำหนดเวลาเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
- ต้องตกลงโปรแกรมและเลือกประเภทเกมให้ลูก เช่น เกมบริหารสมอง ลดเกมที่เสี่ยงความก้าวร้าวอย่างการฆ่ากันยิงกัน พ่อแม่ต้องอยู่ด้วย
- ต้องเล่นกับลูก เพื่อสอนให้คำแนะนำกันได้
3 ไม่ ที่พ่อแม่ต้องห้ามให้ลูกทำเด็ดขาด ได้แก่
- พ่อแม่ไม่เล่นเป็นตัวอย่าง
- ไม่เล่นในเวลาครอบครัว
- ไม่เล่นในห้องนอน
เกมที่เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงอายุ
- เด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ ไม่ควรให้เด็กเล่นเกมโดยเด็ดขาด
- เด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ขวบ ควรเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษา และต้องมีผู้ปกครองควบคุม
- เด็กที่มีอายุ 6 ขวบขึ้นไป สามารถเล่นเกมอื่นๆ ได้ตามที่กำหนดไว้
- เด็กที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป หลีกเลี่ยงเกมที่มีเนื้อหาความรุนแรงมากเกินไป เช่น ฉากต่อสู้นองเลือด และห้ามเล่นเกมที่มีการวางแผนฆ่าศัตรู เพศสัมพันธ์ คำหยาบคาย การพนัน และยาเสพติด
กิจกรรมสำหรับเด็ก การเล่นของอนุบาล
กิจกรรมสำหรับเด็ก จะช่วยพัฒนาร่างกายและจิตใจให้แก่เด็กทุกคน การที่เด็กได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ได้กระโดดโลดเต้น ปีนป่ายต้นไม้ การทำกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม และด้านร่างกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยเรื่องการทรงตัว นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการทำงานประสานกัน ระหว่างกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ด้วย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา มือ และการประสานการทำงานระหว่างมือและตา เช่น ปั้น พับกระดาษ วาดรูประบายสี เป็นต้น
พ่อแม่สามารถช่วยเด็กเล่นเกมได้อย่างไรบ้าง
นอกจากวิธีการห้ามเล่นแบบเด็ดขาดแล้ว เรายังสามารถชวนพวกเขาทำกิจกรรมออื่น ๆ เพื่อให้เด็กเล่นเกมนั้นเลิกเล่น หรือเล่นน้อยลง เพื่อกระชับความสมพันธ์กันภายในครอบครัว และยังสามารถรับรู้ความในใจของเด็กผ่านการเล่นของเด็กได้อีกด้วย เพราะเด็กอาจจจะไม่สามารถอธิบายความกังวลใจ หรือความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้เหมือนผู้ใหญ่ โดยคุณสามารถช่วยให้พวกเข้าห่างจากเกมได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
-
การเล่นพัฒนาสมอง
การเล่นทุกรูปแบบล้วนมีผลต่อพัฒนาการของสมองเด็ก ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กได้ เล่น หากแต่การทำให้การเล่นของเด็กมีคุณค่าอย่างแท้จริง พ่อแม่จะต้องมีความเข้าใจในหลักการสำคัญก่อน
-
- การเล่นจะต้องเริ่มต้นโดยเด็ก คือ เด็กจะต้องเป็นคนเริ่มต้น ต้องเป็นคนนำ
หากเราจะเล่นด้วยหรือช่วยให้เด็กได้เล่น ต้องจำให้ขึ้นใจว่า จะต้องเล่นตามเด็กเท่านั้น - การเล่นนั้นจะต้องสนุกและมีความสุข
- การเล่นจะต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก
- การเล่นต้องมีความปลอดภัย
- เพื่อนเล่น (หรือของเล่น) ที่ดีที่สุดของเด็ก คือ พ่อแม่
- การเล่นจะต้องเริ่มต้นโดยเด็ก คือ เด็กจะต้องเป็นคนเริ่มต้น ต้องเป็นคนนำ
-
การเล่นจินตนาการกับการเล่นของเด็กวัย 3 – 6 ปี
การเล่นจะช่วยวางรากฐานการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก การเล่นของเด็ก ๆ อาจเป็นเรื่องธรรมดาในสายตาผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว การเล่นนั้นถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิต เพราะการได้เล่นถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สนุกและท้าทาย ที่ช่วยวางรากฐานการเรียนรู้และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ในทุกด้าน โดยอาจแบ่งการเล่น ดังนี้
-
- การเล่นคนเดียว
- การเล่นคนเดียว
เพราะพัฒนาการของเด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จะชอบนั่งเล่นคนเดียวมากกว่าการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน บางครั้งพ่อแม่อาจจะเห็นเด็กนั่งพูดคุยกับตุ๊กตาเป็นเวลานาน
ตัวอย่าง : เล่นบทบาทสมมติ เป็นการเล่นสมมติว่าตัวเองหรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นโน้นนี้ เช่น สมมติว่าตัวเองเป็นคุณหมอ คุณครู ตำรวจ หรือพยาบาล แล้วสมมติให้ตุ๊กตาเป็นนักเรียนหรืออื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นจินตนาการอันกว้างไกลของเด็ก ๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่ควรปิดกั้น
Tip : อาจกำหนดพื้นที่ในบ้านให้เป็นมุมส่วนตัวของเด็ก ให้มีของเล่นหรือของประดับต่าง ๆ ให้เด็กได้มีอิสระในการเล่นตามลำพัง ได้คิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
-
- การเล่นเป็นกลุ่ม
- การเล่นเป็นกลุ่ม
เด็กวัยนี้อาจยังไม่พร้อมเต็มร้อยที่จะมีเพื่อน แต่ก็จะเริ่มเข้าสังคมและเล่นกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ระยะแรก ๆ อาจจะเพียงเข้าไปนั่งใกล้กลุ่มเพื่อน ๆ ที่กำลังเล่นอยู่ จากนั้นก็จะค่อย ๆ เล่นกับเพื่อนได้ในที่สุด
ตัวอย่าง : เล่นบ่อทราย (สร้างเมืองหรือปราสาท) เล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นพ่อแม่ลูก เป็นการเลียนแบบบทบาทของพ่อแม่ หรือเล่นตามจินตนาการ โดยเอาเก้าอื้หลาย ๆ ตัวมาต่อกันเป็นรถเมล์ แล้วเล่นเป็นคนขับกับผู้โดยสาร การเล่นเหล่านี้เด็กจะเป็นคิดขึ้นเองตามแต่จินตนาการ จะได้ทักษะเรื่องการเข้าสังคม เรียนรู้เรื่องการแบ่งปัน การรอคอย
Tip : การเล่นกับเพื่อนในบางครั้งอาจมีการทะเลาะกันบ้างตามประสาของเด็กวัยนี้ ผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปตัดสินปัญหาให้ ให้เด็กได้รู้จักคิดและแก้ปัญหาเองก่อน
-
- การเล่นกับพ่อแม่
เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของบ้าน และรู้สึกอบอุ่นเมื่อได้เล่นกับพ่อแม่ที่คอยตามใจเสมอ
ตัวอย่าง : เล่นต่อบล็อกไม้ ต่อภาพ ให้พ่อวาดรูปตุ๊กตา แล้วให้เจ้าหนูตัดกระดาษ เอามาเล่นสมมติเป็นคนหรือสิ่งของต่าง ๆ ก็ได้ หรือลองเอาเก้าอี้มาต่อกันแล้วใช้ผ้าห่มคลุม กลายเป็นถ้ำหรือเต้นท์ก็สร้างความสนุกตื่นเต้นไม่แพ้กัน เป็นการดัดแปลงจากสิ่งของธรรมดา ๆ ให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็กทำให้มีของเล่นที่เล่นได้ไม่รู้เบื่อ
Tip : พ่อแม่อาจคอยกระตุ้น หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ ๆ ให้เด็ก แต่ต้องระวังไม่ให้การเล่นนั้นเป็นการเล่นแบบผู้ใหญ่ ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเด็ก เพราบางครั้งก็อยากเล่นคนเดียว บางครั้งก็อยากมีเพื่อนเล่นด้วย ที่สำคัญการเล่นสำหรับเด็กนั้นไม่ได้อยู่ที่ของเล่นราคาแพง เพียงพ่อแม่พลิกแพลงจากสิ่งของใกล้ตัวและวิธีการเล่นนิดหน่อย คอยเติมความรัก ความอบอุ่นอยู่ใกล้ ๆ ให้รู้สึกปลอดภัยเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว
ที่มา: mahidol, khaosod, thaihealth
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เด็กไทยคิดเองไม่เป็น เพราะบ้านเราไม่ได้สอน หรือไม่เคยสอน Critical Thinking
ผู้ใหญ่ติดเกม มือถือ เฟสบุ๊ค แท็บเล็ต เราควรจะกังวลหรือไม่?
ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ