X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

บทความ 5 นาที
กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

ในเด็ก 100 คน จะเป็นสมาธิสั้น 3-5 คน ซึ่งก็มีทั้งเป็นโรคสมาธิสั้นแท้ และสมาธิสั้นเทียม เด็กบางคนไม่ได้เป็นสมาธิสั้นจากโรค แต่เป็นสมาธิสั้นเทียมที่เกิดจากการเลี้ยงดู การตัดสินว่าใครเป็นโรคสมาธิสั้น ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น โรคสมาธิสั้นในเด็กยิ่งเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี และไม่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาสะสมจนเด็กโต เพราะถ้าปล่อยให้ อายุเกิน 7 ปีไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านั้นจะกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและปรับยาก หากพ่อแม่เห็นว่าลูกเริ่มกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น วอกแวก ซุกซน ไม่ค่อยจดจ่อกับอะไรนานๆ ลองใช้ กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น กิจกรรมบำบัดสมาธิสั้น เพื่อปรับพฤติกรรมลูกกันดีกว่าค่ะ

สาเหตุที่ลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น

สาเหตุมาจากสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะในสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมเรื่องสมาธิ ความจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ อาการที่แสดงออกคือ ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ซน ควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ยากและหุนหันพลันแล่น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก การทำกิจวัตรประจำวัน และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น สร้างความกลัดกลุ้มให้แก่พ่อ แม่ ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นห่วงการใช้ชีวิตอนาคตของลูกหลาน

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

วิธีทำตารางกิจกรรมสำหรับลูก

ก่อนที่จะให้ลูกทำกิจกรรมอะไร สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ สร้างตารางกิจกรรมในแต่ละวันให้กับลูกน้อย มีวิธีการดังนี้

  • แยกเป็นวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เช่น วันธรรมดา : ตื่นนอนตอนเช้าต้องทำอะำรบ้าง โดยที่พ่อแม่ช่วยคิดลำดับของกิจกรรมที่ต้องทำด้วย แต่พอเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไปก็ให้ลูกได้ลองออกแบบตารางกิจกรรมเอง
  • ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ใช้ความอดทนมากๆ ก่อนที่จะให้ทำกิจกรรมสนุกสนาน เช่น ทำการบ้านก่อนไปเล่น
  • ควรใส่เวลาพักผ่อนลงไปด้วย
  • ให้ระบุช่วง “ฟรีสไตล์” ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ลูกน้อยได้เลือกทำกิจกรรมอะไรก็ได้อย่างอิสระ
  • นำตารางไปแปะให้ลูก หากว่าลูกไม่ได้ทำตามตาราง พ่อแม่ก็แค่ชี้ให้ลูกดูเท่านั้น ส่วนระยะเวลาไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้ค่ะ

วิธีปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น

  1. ควรฝึกลูกให้ทำอะไรเสร็จเป็นอย่างๆ อย่าให้ลูกทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น กินข้าวไปดูทีวีไป เพราะเด็กจะไปจดจ่อกับทีวีมากกว่าการกินข้าว ดังนั้นคุณควรฝึกให้ลูกกินข้าวเสร็จแล้วค่อยดูทีวีจะดีกว่าค่ะ
  2. ควรมีนาฬิกาที่ลูกเห็นชัดๆ สะดวกๆ เนื่องจากเด็กสมาธิ มักจะมีปัญหาเรื่องทำะไรชักช้า ไม่ว่าจะกินข้าว หรืออาบน้ำก็ตาม การที่มีนาฬิกาเรือนใหญ่ๆ จะทำให้ลูกเห็นได้ง่ายระหว่างที่ทำกิจกรรมค่ะ หากลูกของคุณยังดูนาฬิกาไม่เป็น คุณก็อาจที่จะติดสติ๊กเกอร์ที่ลูกชอบลงบนตัวเลขที่ต้องการให้เขาดูได้ แล้วก็บอกลูกว่าควรทำแต่ละกิจกรรมนานเท่าไหร่
  3. หาวิธีพูดให้ลูกสนใจ ปัญหาอีกอย่างของเด็กสมาธิสั้น คือ เด็กมักไม่ค่อยอยู่นิ่ง และไม่สนใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังสื่อสาร ดังนั้น ก่อนที่พ่อแม่จะพูดอะไร ควรดูก่อนว่าลูกตั้งใจฟังเราพูดก่อนหรือไม่ ไม่ใช่ตาจ้องอยู่กับ โทรทัศน์ หรือ tablet โดยเทคนิคที่ใช้ มีดังนี้
    • พ่อแม่ควรบอกลูกว่าให้หยุด แล้วฟังแม่ก่อน แต่ถ้าลูกไม่หยุดสนใจ อาจต้องยืนขวางทีวีแล้วพูด จากนั้นค่อยขอโทษลูกค่ะ
    • พยายามพูดให้สั้น ง่าย และชัดเจน ไม่ควรพูดประโยคยาวๆ เพราะเด็กอาจจะงงได้ง่าย และพูดทวนในสิ่งที่พูดออกไปด้วย
  4. ไม่ควรตามใจลูก การตามใจลูกเป็นสิ่งที่ต้องห้าม เพราะเด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาเรื่องรอคอยไม่เป็น ขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พ่อแม่จึงต้องคอยฝึกให้ลูกควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้
  5. จัดบ้านให้โล่งๆ มีของน้อยชิ้น การที่บ้านรกหรือมีของเล่นเยอะ อาจเป็นการเพิ่มสิ่งเร้ให้กับลูก เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น มักมีความไวต่อสิ่งรอบข้าง ดังนั้น พ่อม่ควรที่จะหากล่อง หรือ ตู้ทึบ เพื่อให้เขาไว้เก็บของเล่น หรือ หนังสือการ์ตูนในขณะที่เขากำลังทำกิจกรรมอื่นๆ
  6. สอนให้ลูกรู้จักจดสิ่งที่ต้องทำไว้ เพราะเด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาเรื่องของการขี้ลืม เริ่มแรกพ่อแม่อาจจะจดให้ลูกว่าลูกต้องทำอะไรบ้าง เวลาที่พ่อแม่สั่งลูกหลายๆ อย่างพร้อมกัน สอนให้ลูกลูกจักเช็คสิ่งของที่ลูกชอบลืมบ่อยๆ เช่น ยางลบ ดินสอ

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

  1. กิจกรรมเพื่อทำสมาธิ 
    • กิจกรรมที่ใช้การกะระยะ เช่น โยนบอลลงตะกร้า สนด้ายเข้ารูเข็ม ร้อยลูกปัด ร้อยมาลัย
    • กิจกรรมที่ต้องใช้ความใจเย็น เช่น  การต่อก้อนไม้ หรือ เหรียญเป็นหอคอย เลี้ยงไข่ด้วยช้อน
    • กิจกรรมที่ต้องอาศัยการสังเกต และ ความจำ เช่น เกมจับผิดรูปภาพ
  2. กิจกรรมที่ต้องใช้ดนตรี การเล่นดนตรี เป็นการฝึกระเบียบวินัย และสมาธิ เนื่องจากเด็กต้องคุมจังหวะ ไม่ให้เร็วไป หรือช้าไป
  3. กิจกรรมที่ต้องใช้ศิลปะ พ่อแม่อาจให้ลูกเอามือจุ่มสีแล้วแปะลงบนกระดาษ หรือการวาดรูปให้เหมือนแบบ หรือการระบายสีให้ไม่ออกนอกกรอบ
  4. กิจกรรมที่เป็นกีฬา แนะนำให้เป็นกีฬาจำพวกกะระยะ เช่น ปิงปอง เทนนิส ฟุตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง เปตอง และแบตมินตันค่ะ

ที่มา: เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกขี้หงุดหงิด โมโหร้าย เจ้าอารมณ์ พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร ไม่ให้ลูกเป็นเด็กขี้วีน

โรค 4s คือ อะไร ทารกไข้ขึ้น มีผื่นแดง ลูกผิวหนังลอก คล้ายน้ำร้อนลวก ต้องรีบไปโรงพยาบาล

โรคฮิตทารกติดจากผู้ใหญ่ ลูกติดเชื้อจากพ่อแม่ได้ง่ายกว่าที่คิด ทารกติดโรคทีไรเป็นหนักกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร?
แชร์ :
  • ลูกสมาธิสั้น หรือแค่ซนเป็นปกติ พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร เด็กสมาธิสั้นมีอาการแบบไหน

    ลูกสมาธิสั้น หรือแค่ซนเป็นปกติ พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร เด็กสมาธิสั้นมีอาการแบบไหน

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกสมาธิสั้น หรือแค่ซนเป็นปกติ พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร เด็กสมาธิสั้นมีอาการแบบไหน

    ลูกสมาธิสั้น หรือแค่ซนเป็นปกติ พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร เด็กสมาธิสั้นมีอาการแบบไหน

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ