โรคสมาธิสั้นคืออะไร? มาทำความรู้จักกับโรค ADHD โรคที่ซับซ้อนกว่าที่คุณคิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคสมาธิสั้นคืออะไร โรคสมาธิสั้นเป็นอีกหนึ่งโรคที่เริ่มมีคนพูดถึงกันมากในเด็กยุคใหม่ อาจจะเป็นเพราะนวัตกรรมการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้นที่ทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจในโรคต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนมากขึ้น วันนี้เราจะพาผู้ปกครองมารู้จักว่า โรคสมาธิสั้นคืออะไร มันซับซ้อน อย่างไร เกิดในเด็กวัยอายุเท่าไหร่ และมีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง

 

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นโรคทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสมองและพฤติกรรมของสมองต่างไปจากเด็กทั่วไป โรคนี้จะทำให้ผู้เป็นโรค นั่งได้ไม่นาน ไม่มีสมาธิ และควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ซึ่งโรคนี้อาจจะทำให้ลูกมีปัญหาทางบ้าน ที่โรงเรียน หรือความสัมพันธ์ของลูกกับสังคมได้

ผู้ที่ป่วยโรคสมาธิสั้น อาจมีอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยจะแสดงออกอย่างชัดเจนในช่วงอายุ 6-12 ปี เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียน และมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น อยู่ในวัยที่กำลังสื่อสาร และต้องการเข้าสังคม

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคสมาธิสั้น เด็กบางคนอาจมีอาการคล้าย และเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น แต่อาจเป็นเพียงพฤติกรรมตามช่วงวัยของเด็กเท่านั้น ที่อาจซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ดื้อ รั้น ไม่เชื่อฟัง หากอาการไม่ได้ร้ายแรง และไม่ตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ก็แสดงว่าไม่ได้เป็นโรค และอาการจะค่อย ๆ หายเองเมื่อน้อง ๆ โตขึ้น แต่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น อาการจะยังคงอยู่อย่างนั้น แม้ว่าจะเติบโตขึ้นก็ตาม ซึ่งในบางครั้งก็อาจเป็นอุปสรรคในชีวิตประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษา หรือ การดูแลที่เหมาะสม

 

โรคสมาธิสั้นมีกี่ประเภท

โดยรวมแล้วโรคสมาธิสั้นนั้นจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันสามประเภท

  • ประเภทขาดสมาธิเป็นหลัก (Predominantly Inattentive type) สำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นประเภทนี้จะทำให้เขาโฟกัสหรือจดจ่ออะไรได้อยาก แต่สามารถนั่งเฉย ๆ ได้ ลูกอาจจะทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ทันคิดให้ดีก่อน ไม่ฟังใครพูด ไม่สามารถจัดการความรับผิดชอบได้ หรือ มีอาการชอบลืมนู้นลืมนี่
  • ประเภทอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive-Impulsive Type) สำหรับประเทศนี้เด็กจะสามารถโฟกัส และ จดจ่อกับอะไรได้ แต่ปัญหาของเขาอยู่ที่การไม่สามารถควบคุมการขยับเขยื้อนของร่างกายและพฤติกรรมบางอย่างได้ พูดไม่คิด พูดไม่รู้เวลา ไม่คิดถึงผลกระทบของการกระทำที่ทำไป และถึงแม้จะนั่งนาน ๆ ได้ เขาหรือเธออาจจะรู้สึกไม่สบายอกสบายใจ หรือ อยู่ไม่สุข
  • ประเภทมีอาการทั้งสองแบบร่วมกัน (Combined Type) ตามชื่อหัวข้อของประเภทนี้ก็คือ เด็กมีอาการทั้งสองแบบ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นหรือ ADHD นั้น จะต้องมีอาการตามที่กล่าวมาบ้าง และจะต้องมีอาการประเภทนี้มาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน และเกิดก่อนที่เด็กจะมีอายุ 7 ขวบ ทำให้ใช้ชีวิตยากขึ้น ลำบากขึ้นมาก เด็กยังมีอาการอื่นอีกมากซึ่งอาจเป็นหนึ่งในอาการด้วยก็คือ เบื่อ กังวล ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร ไม่มั่นใจในตัวเอง นอนยาก เข้ากับคนอื่นได้ยาก อย่างไรก็ตามอาการต่าง ๆ ก็สามารถเด็กคนอื่นทั่วไปได้เช่นกัน คุณครูบางคนอาจจะสามารถจับอาการได้ว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้นหรือไม่ แต่ทางที่ดีที่สุดคือให้ไปพบแพทย์ถ้าลูกของคุณมีอาการคล้ายเคียงกับที่กล่าวมาข้างต้น

หมอจะตรวจการฟัง การได้ยิน และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจเด็กไม่ได้มีอาการของโรคอื่น หมออาจจะมีการพูดคุยกับเด็กและผู้ปกครองด้วยเพื่อจะได้วินิจฉัยโรคออกมาได้อย่างถูกต้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคสมาธิสั้น

1. ด้านการขาดสมาธิ

  • ไม่ตั้งใจฟัง ไม่สนใจคนที่พูดด้วย
  • ทำอะไรง่าย ๆ ไม่มีระบบระเบียบ ไม่มีขั้นตอน
  • ไม่ชอบจดจ่อกับอะไรนาน ๆ เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอยู่เสมอ
  • ไม่ชอบเรียนรู้เรื่องที่ต้องใช้เวลานาน ๆ เช่น การอ่านหนังสือ
  • ไม่ใส่ใจรายละเอียด มักทำอะไรแล้วเกิดความผิดพลาด
  • ขี้หลง ขี้ลืม มักลืมของใช้จำเป็นอยู่บ่อย ๆ
  • มักลืมสิ่งที่ต้องทำ ขาดความรับผิดชอบ
  • ว่อกแว่กง่าย หากมีอะไรมากระตุ้น
  • จัดลำดับไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญไม่เป็น
  • บริหารจัดการได้ไม่ดี ทำอะไรไม่เสร็จตามกำหนด
  • หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความพยายาม ใช้ความประณีต
  • มีปัญหากับการเรียน มีปัญหากับงาน

 

2. ด้านการตื่นตัว

  • พูดมาก พูดไม่หยุด พูดตลอดเวลา
  • นั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ได้
  • ว่องไว เคลื่อนไหวเร็ว
  • ไม่ชอบการรอคอย
  • เปลี่ยนที่นั่ง เป็นท่านั่งบ่อย ๆ
  • ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย
  • พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ
  • พูดกวนผู้อื่น

 

3. อาการของผู้ใหญ่

  • ขาดการใส่ใจในรายละเอียด
  • ประมาท เลินเล่อ
  • ร้อนรน กระสับกระส่าย
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • ใจร้อน ความอดทนต่ำ
  • ใช้ชีวิตประมาท
  • ไม่สามารถจัดการกับเรื่องเครียดได้
  • ชอบพูดจาโพล่งพล่าง
  • ชอบพูดแทรกผู้อื่น
  • ทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ ๆ
  • มีปัญหาในด้านการจัดการ ลำดับความสำคัญต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นแบ่งออกได้เป็นสามประเภทใหญ่ย่อย ดังนี้

  • การรักษาทางร่างกาย การนั่งสมาธิ ไดเอต ทานวิตามินหรือยาสมุนไพร และการทำบำบัดอย่างสม่ำเสมอทั้งทางสมองการฟัง การมอง ฮอร์โมน ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้นั้นต้องได้รับการดูแลและขอคำปรึกษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิด
  • การรักษาทางจิต การรักษาทางจิตส่วนมากจะเป็นการพูดคุย หรือ ขอคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เปลี่ยนพฤติกรรม หรือให้ฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ซ้ำ ๆ ให้เป็นเวลา
  • การทางสังคม การรักษาชนิดนี้อาจทำได้ด้วยการ พัฒนาความสัมพันธ์ การสื่อสาร การเลือกสิ่งที่ชอบ หรือพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

 

หลายคนที่อ่านอาจจะกลัว หรือตกใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ แต่ถ้าผู้ปกครองปรึกษาคุณหมอ และ มีเวลาพูดคุยกับลูกเพียงพอ อาจจะทำให้อาการของลูกดีขึ้น ตัวเด็กเองอาจจะเกิดความเครียดได้เพราะเขามีความแตกต่างอย่างคนอื่น แต่สิ่งที่ผู้ปกครองทำได้ก็คือ เป็นผู้สนับสนุนเขา คอยรับฟังเขา และ ยอมรับในสิ่งดีเขาเป็น

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีแก้ลูกติดแท็บเล็ต ไม่ให้ลูกสมาธิสั้น ป้องกันพัฒนาการล่าช้า

พ่อแม่รู้ไหม? ส่งลูกเข้าโรงเรียนเร็วเกินไปอาจทำให้ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น!

สมาธิสั้น เกิดจากสภาพแวดล้อม ลูกเป็นสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่จะช่วยอย่างไรได้บ้าง?

ที่มา : dummies, kidshealth

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Jitawat Jansuwan