ปัญหา ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีข่าวการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะวิวาท การกลั่นแกล้งด้วยคำพูด หรือแม้แต่การบังคับใช้ความรุนแรง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อนักเรียนทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ทั้งในด้านร่างกายจิตใจ และ การพัฒนาของเด็ก เหมือนกับข่าวนี้ เด็กนักเรียนชาย ตบหัวนักเรียนหญิงล้มลงกับพื้น แล้วบังคับให้กราบเท้า ต่อหน้าเพื่อนคนอื่น ๆ ที่ยืนมองอยู่ในเหตุการณ์
ความรุนแรงในโรงเรียน : เด็กชาย ป.6 เหยียบหัวเพื่อน น.ร.หญิง บังคับกราบเท้า
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กนามว่า “ประจักรกฤษ สายทิพย์” ซึ่งได้ระบุว่า ตนเป็น ผู้ดูแลกลุ่ม “กำแพงเพชร ร้องเรียนอะไร บอกไว้ที่นี่” และได้รับคลิปภาพเหตุการณ์ ของเด็กนักเรียนชายคนหนึ่งชั้น ป.6 โรงเรียนชื่อดังกลางเมืองกำแพงเพชร กำลังทำร้ายร่างกายเด็กนักเรียนหญิง บังคับให้ก้มลงกราบเท้า พร้อมเหยียบหัวเพื่อนไว้ โดยมีเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ ยืนมองอยู่ในเหตุการณ์
เมื่อตนได้เห็นคลิป ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะรีบประสานไปยังผู้ปกครองเด็ก และได้ทำการสอบถามสภาพจิตใจของนักเรียนหญิงผู้เป็นเหยื่อ ทางผู้ปกครองได้ออกมาชี้แจงว่า น้องมีอาการซึมเศร้าอย่างหนัก และไม่อยากไปโรงเรียน ไม่พูดไม่คุยกับใคร และทางผู้ปกครองเพิ่งได้รับรู้ว่าที่ผ่านมาน้องได้ถูกทำร้ายมาโดยตลอด ซึ่งยังมีคลิปภาพอีก 4 คลิป ที่น้องโดนกระทำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกยุคใหม่ ต้องไม่ตี วิจัยเผย ยิ่งตีลูกยิ่งทําให้ลูกคิดไม่เป็น ลูกเป็นซึมเศร้า
หลังจากได้มีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์เด็กนักเรียนชายทำร้ายร่างกายนักเรียนหญิง ในโลกออนไลน์ ทางผู้ปกครองของเด็กชายได้ติดต่อมายังผู้โพสต์ว่าตนได้ทำการเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางครอบครัวผู้เสียหายแล้ว โดยตกลงจะจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 10 เดือน และขอให้ผู้โพสต์ช่วยลบคลิปดังกล่าวออก
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการลบคลิปดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในโลกออนไลน์ เพราะบางคนเห็นว่าควรลบคลิปออกเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อผู้เสียหายและครอบครัว ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าควรเก็บคลิปไว้เป็นหลักฐานเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย ความรุนแรงในโรงเรียน และเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ปกครองคอยสังเกตการณ์ลูก ๆ ของตนได้
ที่มา : Matichon
ความรุนแรงในโรงเรียน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม
การใช้ความรุนแรงในโรงเรียน หรือการใช้ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่นในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น คุณหมอเดว นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ได้กล่าวไว้ว่า มาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่
1) พัฒนาการของวัยรุ่น
ในช่วงวัยรุ่น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเพศออกมาเป็นจำนวนมาก โดยจะส่งผลให้สมองส่วนอารมณ์ทำงานมากขึ้น จึงทำให้มีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย แสดงออกทางอารมณ์อย่างรุนแรง มีความต้องการทางเพศมากขึ้น และอาจแสดงออกทางเพศอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมน Oxytocin ซึ่งมีส่วนทำให้วัยรุ่นต้องการการยอมรับจากเพื่อนฝูง เมื่อวัยรุ่นได้รับการยอมรับจากเพื่อนฝูง ฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะหลั่งออกมา ทำให้วัยรุ่นรู้สึกมีความสุขและพึงพอใจ และจึงอาจยอมทำตามเพื่อนโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา
2) ครอบครัว
สถาบันครอบครัว นับว่าเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสังคม เด็ก ๆ ที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม ก็จะมีแนวโน้มที่เป็นคนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีพฤติกรรมที่สงบสุขกว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ขาดความรัก ความอบอุ่น หรือมีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทาง หมอเดว จากเพจ “บันทึกหมอเดว” อธิบายว่า ครอบครัวที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาบ่อย ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ
- พ่อแม่ที่ขาดความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูลูก
- พ่อแม่ที่มีความรู้และทักษะ แต่ปล่อยปละละเลยลูก
- พ่อแม่ที่เสียโอกาสในการเลี้ยงลูก ต้องทำงานหนักทุกวัน ขาดตัวช่วย
- พ่อแม่ที่ไม่สมควรเป็นเป็นพ่อแม่ เช่นทารุณกรรมลูก ข่มขืนลูกตัวเอง ทำร้าย เป็นต้น
3) โรงเรียน
โรงเรียนเปรียบเสมือน บ้านหลังที่สอง เป็นที่ที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ เติบโต และมีความสุข สถานศึกษาควรปลอด ความรุนแรงในโรงเรียน และการกลั่นแกล้ง (bullying) เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจให้กับเหยื่อเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของเด็กทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำอีกด้วย
นอกจากนี้ สถานศึกษาควรเพิ่มวิชาชีวิตให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้ทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคม เช่น ทักษะคิดบวก ทักษะจิตสำนึก ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็ก ๆ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีทักษะการใช้ชีวิตที่ดี และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่สงบสุขและไม่ก้าวร้าว
4) ชุมชนที่เปราะบางอ่อนแอ
ชุมชนที่เปราะบางอ่อนแอ มักมีปัญหาด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการศึกษา ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มักส่งผลให้คนในชุมชนมีความรู้สึกโดดเดี่ยว ขาดที่พึ่งพา และอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้าวร้าว การทำร้ายตนเอง การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
5) สื่อและการนำเสนอ
สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอสามารถส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยทางสื่อมวลชนควรระมัดระวังการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบคอบ เนื่องจากอาจส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมและความปลอดภัยของสังคมได้ ในบางสถานการณ์อาจทำให้ประชาชนเห็นความรั่วของกฎหมายได้ และอาจทำให้ประชาชนนำความรู้เกี่ยวกับความรั่วของกฎหมายไปใช้กระทำความผิดได้
ที่มา : บันทึกหมอเดว
โดยสรุปแล้ว เราสามารถเห็นได้ชัดว่าปัญหา ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นเรื่องร้ายแรง ส่งผลกระทบทั้งผู้ถูกและผู้กลั่นแกล้ง ซึ่งปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ครอบครัวต้องอบรมลูกหลาน โรงเรียนต้องมีมาตรการเข้มงวด สังคมต้องสร้างวัฒนธรรมไม่รุนแรง ร่วมกันสังเกต หากพบเห็นการกลั่นแกล้ง ควรรีบแจ้งครูหรือผู้ปกครอง เพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
10 วิธีเลี้ยงลูกให้จิตใจเข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์ โตไปประสบความสำเร็จ
ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
สอนลูกให้พร้อมรับ 5 เรื่องน่าหวั่นใจ ที่ต้องเผชิญในโรงเรียน