พัฒนาการการตั้งครรภ์ 9 เดือนของหนูในท้องแม่ ระยะตั้งครรภ์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทารกในครรภ์ และสภาวะอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อเข้าใจอาการต่าง ๆ ว่าที่คุณเป็นนั้น ปกติหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะเวลาตั้งท้องแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ระยะตั้งครรภ์ และอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ลูกน้อยโตแค่ใน เกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละไตรมาส ไปติดตาม ระยะเวลาตั้งครรภ์ พร้อมกันเลย

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์  ระยะตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 1-4 (เดือนแรก)

ว่าที่คุณแม่หลายคน ผ่านช่วงเวลา 4 สัปดาห์แรก  โดยแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตั้งครรภ์ คู่รักหลายคู่อาจจจะได้ใช้เวลาช่วงนี้นั่งลุ้นว่าแบบทดสอบตั้งครรภ์จะขึ้น 2 ขีดหรือไม่ ระยะตั้งครรภ์ และอาการต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ยังไม่ค่อยแสดงออกมาเท่าไหร่ แต่ผู้หญิงบางคนก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องบ้างแล้ว

  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ในเดือนแรกนี้ คือการที่อสุจิได้เข้าปฏิสนธิกับไข่และเคลื่อนตัวเข้าไปฝังอยู่ในโพรงมดลูก
  • แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนวณวันที่จะคลอดจากวันสุดท้ายที่คุณผู้หญิงมีประจำเดือน

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 5-8 (ท้อง 2 เดือน)

ในระยะครรภ์นี้รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณแม่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • การใช้สิ่งเสพติด แอลกอฮอล์หรือสารพิษอื่น ๆ ในระยะนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ แม้แต่ยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปก็เข้าข่ายไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ซึ่งกำลังเจริญเติบโต
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสดีที่จะเลิก ทุกอย่างที่คุณทำอาจส่งผลกระทบต่อลูกได้ทั้งสิ้น

ระยะตั้งครรภ์ คุณควรดูแลตัวเองอย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ ทานอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อลูกในท้อง หมั่นทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นเช่น โปรตีน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้สด ดื่มน้ำมาก ๆ และเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลือกอาหารและของว่างซึ่งมีคุณค่าเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยอย่างเพียงพอ

 

ระยะตั้งครรภ์ ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน พร้อมปรึกษาปัญหาจุกจิกต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ กับพยาบาล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงพยาบาลชั้นนำ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น แชทแบบกลุ่ม แชทส่วนตัว วิดีโอคอลกับคุณหมอเฉพาะทาง ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับคุณแม่มือใหม่ ดาวน์โหลดฟรี  

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการยอดฮิตช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

ระยะตั้งครรภ์ เดือนที่สองของการตั้งครรภ์เป็นระยะหนึ่งที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการทารกในครรภ์ และจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวอ่อนหลายอย่าง เช่น

  • หัวใจเต้น
  • จังหวะหัวใจเต้นสามารถมองเห็นได้ทางอัลตราซาวน์
  • อวัยวะหลัก (สมอง ปอด ท้อง ตับ) เริ่มก่อตัวในช่วงเดือนนี้
  • ตุ่มแขนขาปรากฏให้เห็น

วิธีดูแลตัวเองที่บ้านตอนตั้งครรภ์โดยไม่ต้องพึ่งยา

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12 (ท้อง 3 เดือน)

ในช่วงเดือนที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ของคุณคือตัวอ่อนในท้องจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นทารก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นในครรภ์อีกนะ

  • ร่างกายของคุณจะพบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขนานใหญ่ บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของคุณ ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เห็นว่านี่เป็นช่วงเดือนที่เลวร้ายที่สุด ขณะที่อีกหลายคนไม่รู้สึกอะไรเลย โดยมากผู้หญิงตั้งครรภ์จะพบว่าตนเองเกิดอาการซึมเศร้าหดหู่ได้ง่าย และอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ความรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย รู้สึกขาดตกบกพร่องและกังวลว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ผู้หญิงบางคนไม่ตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์ในระยะแรกและกังขากับอาการของตนไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะกลุ้มใจง่าย ร้องไห้ด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขี้หงุดหงิดหรือเหม่อลอย
  • น้ำหนักตัวของคุณอาจเพิ่มขึ้นบ้างแล้ วและคุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น เหงือกนิ่มกว่าเคย และต่อมไทรอยด์บวมเล็กน้อย

ไอโอดีนช่วยให้ทารกในครรภ์ฉลาดขึ้น

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16 (ท้อง 4 เดือน)

ขอต้อนรับเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้คุณคงอยากอาหารแปลก ๆ บางประเภทแล้วใช่ไหมล่ะ ความหิวเป็นอีกอาการหนึ่งของการตั้งครรภ์นั่นเอง

  • อย่าทานอาหารมากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเพราะคิดว่าต้องทานเผื่ออีกชีวิต คุณควรทานมากกว่าที่เคยเพียงเล็กน้อย
  • หัวนมของคุณอาจคล้ำขึ้น และแลเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจนกว่าเก่า
  • ผิวหน้าของคุณอาจเริ่มมีดวง ๆ ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่านี่เป็นเรื่องปกติแต่หลายคนก็มองว่าเป็นสัญญาณว่าคุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • หัวใจของคุณทำงานหนักกว่าเดิม เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงมดลูก ผิวและไตซึ่งต้องการเลือดมากกว่าปกติเท่าตัว ความจุของปอดลดลง เพราะมดลูกขยายใหญ่เกินอุ้งเชิงกรานและเบียดเข้าไปในช่องท้อง แม้จะทำกิจกรรมตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหนื่อยหอบง่ายกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณควรใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่าเมื่อใดควรชะลอหรือเลิกทำกิจกรรมนั้น ๆ

อาการต่าง ๆ ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์คือ ลูกน้อยของคุณสร้างอินซูลินและน้ำย่อยของตนเองได้บ้างแล้ว และปัสสาวะใส่น้ำคร่ำในปริมาณเล็กน้อยทุก ๆ 45 นาที ฟันทุกซี่ก่อตัวครบและมีกระทั่งแนวเส้นผมบนหนังศีรษะด้วย

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20 (ท้อง 5 เดือน)

ความเจริญอาหารเป็นพายุบุแคมคืออาการธรรมดาสามัญของครรภ์ที่แข็งแรงในช่วงเดือนที่ 5

  • เวลานี้หน้าท้องของคุณเริ่มป่องให้เห็นเด่นชัด น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นราว 2-4.5 กิโลกรัม และคุณอาจสังเกตว่าความอยากอาหารของคุณเพิ่มขึ้น
  • ในช่วงนี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 22 คุณหมออาจอัลตราซาวน์ดูครรภ์เพื่อประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการทารกในครรภ์ รวมทั้งระบุวันครบกำหนดครรภ์ที่แน่นอน หากทารกอยู่ในท่าที่ถูกต้อง การตรวจอัลตราซาวน์ยังอาจบอกเพศของลูกน้อยได้ด้วย
  • หัวใจของคุณต้องทำงานมากกว่าปกติร้อยละ 40-50 เพื่อรองรับการตั้งครรภ์

ชื่อเล่น ลูกสาว 100 ชื่อเล่นลูกสาว เพราะ ๆ แถมยังอินเทรนด์ ไม่ซ้ำใคร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเป็นยังไงบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ คือ เวลานี้ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 8 นิ้ว เรียกได้ว่าขนาดเท่ากระต่ายตัวเล็ก ๆ ผิวลูกจะมีไขเคลือบปกป้องเรียกว่าไขหุ้มทารก และมีขนอ่อนชุดแรกขึ้นคลุมตามตัว ไตของลูกผลิตปัสสาวะแล้วและจะขับถ่ายออกสู่น้ำคร่ำรอบ ๆ ตัว

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24 (ท้อง6 เดือน)

พัฒนาการทารกในครรภ์ก็คือลูกน้อยของคุณตัวเริ่มโตแล้ว และน้ำหนักจะอยู่ที่ราว 0.5 กิโลกรัมเมื่อครรภ์อายุได้ 24 สัปดาห์ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนะ

  • นอกเหนือจากผิวเหี่ยวย่นสีออกแดง ความยาวตัวอยู่ที่ 28-35 เซนติเมตรและหนัก 0.5 กิโลกรัมแล้ว ลูกน้อยของคุณดูเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ
  • แม้รูปร่างจะยังผอมบางอยู่แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • เปลือกตาทั้งสองข้างกำลังปริแยกเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะลืมตามาดูโลก

เที่ยวขณะตั้งครรภ์อย่างไรถึงปลอดภัย

น้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ ช่วงตั้งครรภ์

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28 (ท้อง 7 เดือน)

ยินดีต้อนรับว่าที่คุณแม่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้าย เวลานี้มดลูกของคุณใหญ่มากจนอาจเบียดเข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกราน และทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อย ขนาดของมดลูกยังอาจส่งผลให้คุณเริ่มปวดหลัง การจัดระเบียบร่างกายให้เหมาะสม สวมรองเท้าส้นเตี้ยและท่าบริหารอุ้งเชิงกราน (Pelvic Rocking) จะช่วยลดอาการปวดหลังลงได้

ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ ขนาดของครรภ์ที่ขยายใหญ่อาจทำให้คุณนอนหลับได้ไม่ค่อยสบายนัก ขอแนะนำให้ใช้หมอนช่วยหนุน หากคุณเริ่มมีอาการท้องผูก และเป็นริดสีดวงทวาร ลองใช้ม้านั่งเตี้ย ๆ รองใต้เท้าระหว่างนั่งโถเพื่อจัดให้ร่างกายอยู่ในท่าขับถ่ายที่สบายขึ้น

 

อาการต่าง ๆ ในระยะตั้งครรภ์ 7 เดือน

  • อ่อนเพลีย
  • จุกเสียด
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก
  • น้ำนมไหลซึม
  • ปวดหลัง
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • มดลูกหดรัดตัว
  • ขาเป็นตะคริว
  • หายใจหอบถี่
  • ตัวบวม

 

ระยะตั้งครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ ได้แก่ พื้นที่เริ่มกลายเป็นปัญหาต่อลูกน้อย ลูกอาจจะกลับเอาศีรษะลงด้านล่างขณะพยายามหาท่าที่ถนัดสบายตัว ลูกมองเห็นแล้ว แต่ภาพที่เห็นจะยังเป็นเพียงแสงมัว ๆ ลูกยังได้ยินเสียงด้วยแม้ว่าเสียงที่ได้ยินจะออกอู้อี้ก็ตาม ยามที่คุณกับสามีพูดคุยกัน ลูกจะค่อย ๆ คุ้นเคยกับเสียงของคุณทั้งคู่

นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณยังรับรสได้ แต่รสของน้ำคร่ำจะเจือจางมาก อาหารที่คุณทานอาจเปลี่ยนรสชาติน้ำคร่ำ ซึ่งก็จะทำให้ลูกคุ้นกับประเภทของอาหารที่คุณทาน ปอดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจและการเคลื่อนไหวของลูกทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกาย ในช่วงเดือนนี้สมองและระบบประสาทจะมีการเจริญเติบโตขนานใหญ่ และลูกเริ่มควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้บ้างแล้วด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ออกแบบอาหารโปรดลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32 (ท้อง 8 เดือน)

เมื่อถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกถึงแรงบีบหดที่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่จะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณ

  • รู้สึกว่าครรภ์เริ่มปวดเตือน นั่นแปลว่ามดลูกกำลังออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงเตรียมคลอด
  • กระดูกเชิงกรานของคุณขยายออกแล้ว และคุณอาจรู้สึกปวดอุ้งเชิงกราน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกน้อยของคุณเริ่มเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน
  • ความกลัวเป็นเรื่องปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนนี้ ลองคุยกับใครสักคนที่มีลูกแล้วและสามารถบอกเล่าประสบการณ์ให้คุณฟังได้ กุญแจสำคัญคือต้องหาคนที่มีประสบการณ์ด้านบวกเพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวคุณเอง

 

อาการทั่วไป

  • อ่อนเพลีย
  • น้ำนมไหลซึม
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • กระเพาะปัสสาวะมีปัญหา
  • ความอยากอาหารลดลง
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • หงุดหงิดบ่อยครั้ง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

  • ม่านตาของลูกหดและขยายตามแสง
  • ลูกสามารถลืมตา และหลับตาได้ตามต้องการ
  • เล็บยาวจนถึงปลายนิ้ว

เตรียมตัวโค้งสุดท้ายก่อนคลอด

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 33 เป็นต้นไป (ท้อง 9 เดือนขึ้นไป)

ช่วงนี้คือช่วงที่คุณจะรู้สึกตัวเองใหญ่เป็นพิเศษ อะไร ๆ ก็บวมไปหมด เตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว พร้อมที่จะเจอหน้าเจ้าตัวน้อยกันหรือยังเอ่ย …

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ชื่อมงคล 176 รายชื่อมงคล ตั้งชื่อพร้อมความหมาย เป็นศิริมงคล ทั้งลูกชายลูกสาว

ประสบการณ์ผ่าคลอดอย่างละเอียด

คลอดแบบธรรมชาติดีกว่าจริงหรือไม่

บทความโดย

P.Veerasedtakul