8 วิธีรับมือเมื่อลูกคลื่นไส้อาเจียน ทำอย่างไรดีเมื่อลูกป่วย มีวิธีบรรเทาอาการไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกคลื่นไส้ หรืออาเจียน ลูกอ้วก ตอนกลางคืน ไม่มีไข้ คนเป็นแม่ย่อมกังวล ว่าลูกจะเป็นอะไรมากหรือเปล่า ลูกอาเจียรไม่มีไข้ จะทำยังไงให้หายป่วยดี วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาไปดู 8 วิธีรับมือเมื่อลูกคลื่นไส้อาเจียน เพื่อให้คุณแม่เตรียมรับมือ และจัดการกับอาการป่วยเหล่านี้ได้

 

วิธีรับมือเมื่อลูก กินข้าวแล้วอาเจียน ลูกอ้วก

ลูกกินแล้วอ๊วก เกิดจากอะไร อาการคลื่นไส้ในเด็ก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาการท้องเสีย ลำไส้มีปัญหา โรคทางระบบประสาท หรือระบบเมตาบอลิซึ่มทำงานผิดปกติ เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือยาบางชนิดก็ได้ นอกจากนี้ หากคุณแม่ให้เด็ก ๆ กินนมมากเกินไป จนไม่ได้อุ้มพาดบ่าให้เด็กเรอ หรือให้นมเด็กไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เด็กอาเจียนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากลูก ๆ อาเจียน หรือคลื่นไส้ แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงอะไร คุณแม่ก็สามารถปฏิบัติตาม 8 วิธีรับมือเมื่อลูกคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นคำแนะนำต่อไปนี้ได้ เพื่อบรรเทาอาการของลูกน้อย

 

วิดีโอจาก : หมอชินตา พาเลี้ยงลูก

 

1. ลูกอาเจียรไม่มีไข้ อย่าให้เด็กขาดน้ำ

ลูกอ้วกตอนกลางคืนไม่มีไข้ หลังจากที่เด็กอาเจียน คุณแม่ควรสังเกตว่าน้อง ๆ มีอาการขาดน้ำหรือไม่ เช่น เหนื่อยล้า นอนน้อย หงุดหงิด ปากแห้ง ร้องไห้แล้วไม่มีน้ำตา ตัวเย็น เบ้าตาลึก หรือปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตสีปัสสาวะของเด็ก ๆ ด้วย หากปัสสาวะเด็กมีสีเข้ม ก็แสดงว่าร่างกายของเด็ก ๆ กำลังขาดน้ำนั่นเอง หากพบว่าเด็กกำลังขาดน้ำ คุณแม่ควรให้เขาดื่มน้ำเยอะ ๆ

 

2. ให้น้อง ๆ ดื่มเกลือแร่

แม้ว่าคุณหมอบางท่านจะแนะนำให้เด็ก ๆ ลองดื่มน้ำอัดลม หรือดื่มน้ำที่ผสมโซดา แต่จากงานวิจัยชี้ว่า การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมเกลือแร่ ORS นั้น จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งเกลือแร่ชนิดนี้ เป็นเกลือแร่ที่นักกีฬานิยมรับประทานในช่วงที่สูญเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

 

3. ให้เด็กทานอาหารเหลว หรือเจลลี่

หลังจากเด็กอาเจียนไปแล้วสักพัก ร่างกายของเด็กจะเริ่มต้องการสารอาหาร ซึ่งคุณแม่อาจจะให้น้อง ๆ รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป และของเหลวอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอาจจะดีกว่าการให้ดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เพราะจะทำให้เด็กไม่หิว ทั้งนี้ จะให้เด็กลองทานไข่ต้มสุกบดละเอียด น้ำผลไม้คั้นสด ๆ หรือเจลลี่ด้วยก็ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ไม่ต้องกินยาก็ได้

หากอาการอาเจียนที่เกิดกับเด็กไม่ได้ร้ายแรงมาก ก็ไม่ต้องให้เด็กกินยา เพราะอาจจะไม่ได้ช่วยให้เด็กดีขึ้น หากว่าเด็ก ๆ มีอาการรุนแรง หรืออาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง ควรให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำเยอะ ๆ และรีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาจะดีที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ขิงช่วยได้

ขิง มีสรรพคุณช่วยลดความเจ็บปวด และอาการไม่สบายท้อง ถูกนำไปใช้ทำเป็นยาสมุนไพรมานานหลายร้อยปี ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าสารเคมีในขิง ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร หรือกระเพาะ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังดีต่อสมองและระบบประสาทอีกด้วย แม้ว่าขิงจะไม่ได้มีฤทธิ์ยับยั้งอาการคลื่นไส้โดยตรง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่อาจจะช่วยให้รู้สึกสบายท้องมากยิ่งขึ้น และก็ไม่เสียหายถ้าจะลอง แต่หากไม่แน่ใจว่าจะให้เด็กกินดีไหม ให้ลองปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ หายป่วยได้ไวขึ้น คุณแม่ไม่ต้องกังวล

 

6. ลองกดจุดให้เด็ก ๆ

เทคนิคการกดจุดนี้ จะให้ประสิทธิภาพคล้าย ๆ กับการฝังเข็ม ซึ่งการกดจุดถือเป็นศาสตร์การแพทย์ของจีน หากคุณแม่อยากลองกดจุดให้น้อง ๆ ให้ลองใช้นิ้วกลาง และนิ้วโป้ง กดลงไปตรงกลางระหว่างเส้นเอ็นทั้งสองเส้น ที่อยู่ตรงบริเวณข้อมือของเด็ก ๆ ได้

 

 

พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

อาการอาเจียนโดยทั่ว ๆ ไป เกิดกับเด็กได้ แต่บางครั้ง ก็อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตว่าเด็กมีอาการต่อไปนี้หรือไม่

 

  • อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมง หรืออาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง
  • ขาดน้ำ หรือสงสัยว่าเด็กอาจจะกินหรือดื่มสารเคมีที่เป็นพิษเข้าไป
  • เซื่องซึม ไม่ร่าเริง
  • ง่วงซึม ขี้เซา
  • ปวดหัว มีไข้สูง
  • มีท่าทีสับสน มึนงง
  • มีผื่นขึ้น
  • เจ็บท้อง
  • คอแข็ง
  • อ้วกเป็นเลือด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากพบว่าเด็กมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ คุณแม่ควรพาเด็ก ๆ เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการทันที เพราะอาการเหล่านี้ อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ร้ายแรงได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการอ้วกในเด็ก ทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก สาเหตุเกิดจากอะไร

ไขข้อข้องใจ ลูกน้อยอาเจียนบ่อย เป็นเรื่องปกติไหม ?

เทคนิคดีๆ เมื่อลูกอาเจียนหรือท้องเสีย ทำยังไงให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ

ที่มา : webmd , momster