คุณธรรมที่เด็กควรทราบ มีอะไรบ้าง? คุณธรรมไหนที่ควรปลูกฝังเด็ก
หลาย ๆ ครอบครัวมีความกังวลใจแน่นอนอยู่แล้วว่าลูกจะโตขึ้นมาเป็นคนดีหรือไม่ จะสอนลูกอย่างไรดี แล้วอะไรบ้างที่ลูกควรเรียนรู้และปลูกฝังพวกเขาตั้งแต่ยังไงเด็ก วันนี้ TheAsainparent ขอนำ คุณธรรมที่เด็กควรทราบ มาแบ่งปันให้เหล่าคุณพอ่คุณแม่กัน
8 คุณธรรมพื้นฐาน
1.คุณธรรมที่เด็กควรทราบ คือ ความขยัน
ขยัน คือ ความตั้งใจ ความเพียรพยายามที่ทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทน และไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญาเพื่อแก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง คนขยันเป็นคนที่สามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนเก่ง หากคนเก่งไม่ขยันพอที่จะพัฒนาตัวเอง อาจเป็นไปได้ยากที่เขาจะประสบความสำเร็จ แต่หากคนเก่งและมีความขยันควบคู่ไปด้วย เขาก็จะประสบความสำเร็จแน่นอน
2. คุณธรรมที่เด็กควรทราบ คือ ความประหยัด
ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ตนมี ใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด และที่สำคัญต้องไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ ไม่ใช้เงินเกินตัว หรือจักยับยั้งชั่งใจในการซื้อสิ่งของต่าง ๆ ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด มิได้ซื้อของที่อยากได้เพียงเพราะความอยากอย่างเดียว หากผู้ใดมีความประหยัด ในอนาคตก็จะมีทรัพย์สินมากมายจากการความพยายามใช้ชีวิตอย่างพอดี และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป
3.ความซื่อสัตย์
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจต่อผู้อื่นและตนเอง ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง ทั้งผู้ที่มีความซื่อสัตย์ยังมีความน่าคบหาอีกด้วย
4. การมีวินัย
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติต่าง ๆ มี่พึ่งกระทำ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา
5. ความสุภาพ
สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะต่อผู้อื่นที่ควรเคารพ นับถือ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย คนที่มีความสุภาพนั้นเป็นบุคคลที่สามารถทำให้คนอื่นที่อยู่ด้วยมีความสบายใจเพราะคำพูดและการกระทำ
6. ความสะอาด
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ในเรื่องของความสะอาดในด้านร่างกายนั้น เป็นสิ่งสำคัญ หากตัวเราเองไม่สะอาดเป็นเรื่องปกติที่จะไม่มีคนอยากเข้าใกล้ อาจจะด้วยเพราะกลิ่นเป็นต้น
7. ความสามัคคี
สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
8. การมีน้ำใจ
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน แต่เราต้องดูถึงความสามารถของตัวเราด้วยเช่นกัน หากการช่วยเหลือทำให้เราเดือดร้อน เราก็ควรจะหาทางช่วยเหลือเขาด้วยวิธีอื่นแทน
Source : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
15 นิทานอีสป นิทานสอนเด็ก คติสอนใจ อ่านสนุกสาระเน้น ๆ
ฝึกทักษะเตรียมลูกเข้าโรงเรียน 15 กิจกรรมอะไรบ้างที่แม่สอนทำได้
อยู่บ้านก็เล่นได้ : 15 กิจกรรมแสนสนุก อยู่บ้านก็เพิ่มทักษะให้ลูกได้ (ตอน 2)