5 โรคที่คนท้องต้องระวัง พบได้บ่อยในแม่ตั้งครรภ์ สังเกตอาการด่วน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคที่คนท้องต้องระวัง เกิดได้บ่อยจนแทบเป็นของคู่กัน คุณแม่ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แต่ก็ควรสังเกตอาการหรือ ศึกษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เหล่านี้เอาไว้ด้วย

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | 

 

5 โรคที่คนท้องต้องระวัง พบได้บ่อยในแม่ตั้งครรภ์

1.โรคเบาหวาน

เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจนผิดปกติ โดยเกิดจากการผิดปกติของการกินน้ำตาลหรือของหวาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ

สาเหตุของโรคเบาหวาน 

  • ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง
  • โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
  • การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิดทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินซูลินลดลง
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
  • ต้องควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก รับประทานอาหาร 3 – 5 มื้อ แต่ที่สำคัญก็คือปริมาณของอาหารในแต่ละวันจะต้องควบคุมให้ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
  • เพิ่มอาหารจำพวกโป

อาการโรคเบาหวานในคุณแม่ตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากคุณแม่รู้สึกหิวบ่อยจนเกินไป กินมากขึ้นแต่น้ำหนักลดลง ปัสสาวะบ่อย การมองเห็นไม่ชัดเหมือนเดิม และมีอาการเมื่อยล้าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
  • หิวน้ำบ่อย
  • หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด
  • ผิวแห้ง
  • เป็นแผลแล้วหายยาก
  • ตาพร่ามัว
  • ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลจะสูงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
  • ต้องควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก รับประทานอาหาร 3 – 5 มื้อ แต่ที่สำคัญก็คือปริมาณของอาหารในแต่ละวันจะต้องควบคุมให้ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
  • เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เลือกเป็นเนื้อล้วน ไม่ติดหนัง
  • รับประทานผักให้หลากหลายชนิด เน้นไปในผักที่มีกากใยสูง
  • หลีกเลี่ยงของหวาน ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก เงาะ เป็นต้น
  • งดอาหารที่มีเกลือสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว

บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

 

โรคซึมเศร้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า คือ อาการป่วยทางจิตที่พบได้ทั่วไป ทำให้คุณแม่คิดด้านลบ มีความรู้สึกเศร้า เสียความมั่นใจ หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ สิ้นหวัง ไร้ค่า

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  • เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
  • มีประสบการณ์ความเครียด
  • กังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
  • เคยแท้งลูกมาก่อน
  • ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
  • มีปัญหาในเรื่องของการงาน และเงิน

อาการของโรคซึมเศร้าในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • เศร้า และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
  • ไม่มีสมาธิ มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำ
  • สิ้นหวัง ไร้ค่า รู้สึกผิดตลอดเวลา
  • อ่อนเพลีย
  • หมดกำลังใจ
  • นอนไม่หลับ
  • มีเรื่องเครียดตลอดเวลา
  • รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
  • อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ
  • พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้
  • อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป
  • ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม

 

ความดัน

 

3. โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ความดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทต่อปี

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

  • กรรมพันธุ์  พบว่าผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดา มารดาไม่เป็น ยิ่งกว่านั้นผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นๆ
  • สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุราและสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น

อาการของโรคความดันโลหิตสูงในแม่ตั้งครรภ์ 

  • ปวดศีรษะมาก
  • ตามัว
  • จุกแน่นลิ้นปี่
  •  ปวดเกร็งท้อง เลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการแสดงของรกลอกตัวก่อนกำหนด
  •  ลูกดิ้นน้อยลง

วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 

  • ตรวจเช็คร่างกายและวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
  • ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด
  • รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โลหิตจาง 

4. โรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจาง คือ  ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งครรภ์หลายอย่าง ได้แก่ เสี่ยงแท้ง คลอดก่อนกำหนด ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อย ลูกในครรภ์เป็นโลหิตจาง แต่หากโลหิตจางมากๆ อาจทำให้น้ำคร่ำน้อยจนทำให้ลูกในครรภ์เสียชีวิต หรืออาจตกเลือดจนแม่เสียชีวิตระหว่างคลอดได้

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

  • การเสียเลือด พบได้บ่อยในโรคนี้ อาจจะเกิดจาก อุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดลูก รวมไปถึงการแท้ง
  • ภาวะโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังหรือการรักษาโรคเรื้อรังบางโรคจะส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยการทำลายไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อ HIV โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคเกี่ยวกับไขกระดูก ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก หรือการติดเชื้อในไขกระดูก จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นกัน เนื่องจากไขกระดูกมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว เมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดลดน้อยลง

อาการของโรคโลหิตจางในแม่ตั้งครรภ์ 

  • อ่อนเพลีย ซีด
  • เหนื่อยง่าย
  • หน้ามืดเป็นลมบ่อย
  • เวียนศีรษะ
  • และเบื่ออาหารอาจจะคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกันโรคโลหิตจาง

เมื่อตั้งครรภ์การได้รับธาตุเหล็กจากการรับประทานอาหารปกติเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณแม่ท้องจึงต้องได้รับธาตุเหล็กเสริม  โดยกินธาตุเหล็กวันละ 150-200 มิลลิกรัมของธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ ตามคำแนะนำของแพทย์

 

โรคไต

5.โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ คือ การที่เชื้อแบคทีเรียทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมักเริ่มที่กระเพาะปัสสาวะ และหากเป็นเรื้อรัง อาจลามไปยังไต ทำให้เกิดโรคกรวยไตอักเสบตามมาได้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ ทารกน้ำหนักตัวน้อย หรือ คลอดก่อนกำหนด ได้

สาเหตุของโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

  • การกลั้นปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
  • ภาวะตั้งครรภ์ทำให้มดลูกที่โตเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะไหลย้อนในกระเพาะปัสสาวะ

อาการของโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในแม่ตั้งครรภ์ 

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีสีผิดปกติ เป็นต้น
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ปวดหลัง ปวดบั้นเอว
  • มีไข้
  • คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในแม่ตั้งครรภ์ 

  • ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ ควรเข้าห้องน้ำ ทุกครั้งที่เริ่มปวดปัสสาวะ
  • ไม่สวมเสื้อผ้ากางเกงในที่รัดรูป หรือ คับเกินไป และหมั่นซักทำความสะอาดเสื้อผ้าอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษาความสะอาดของร่างกายเป็นประจำ

 

แม่ ๆ คนไหนยังมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพบ #ทีมหมอGDTT ได้ฟรี ที่ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน เพียงกดรับสิทธิ์ผ่าน Reward ในแอปพลิเคชัน theAsianparent หรือสามารถกดลิงค์นี้ได้เลยครับ https://bit.ly/3SjhvJW

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย วิธีการดูแลคนท้องเป็นโรคเบาหวาน

โรคซึมเศร้า พาคุณแม่มาเช็คอาการโรคซึมเศร้า คุณมีอาการเหล่านี้หรือยัง?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่อมบาร์โธลิน อักเสบ เรื่องที่รู้เกี่ยวกับโรคนี้!

ที่มา : amarinbabyandkids.com, pobpad.com

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow